svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เริ่มแล้ว รอยร้าวทางอำนาจที่ไม่สมดุล ของ"สภาสูง"

24 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เมื่อวานมีการประชุมวุฒิสภา แม้จะเป็นวาระที่ไม่มีอะไรหวือหวา เพราะแค่เป็นการตั้ง"คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ...." หลังจากที่มี คณะกรรมการยกร่างข้อบังคับ ที่มี พล.อ.สิงห์ศึก สิงไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง เป็นประธานกรรมการฯ ทำดร๊าฟแรกแล้วเสร็จ

แต่การประชุมวาระดังกล่าวใช้เวลาค่อนข้างนาน ซึ่งผิดแผกไปจากการพิจารณา ที่เคยเห็นมาแล้วในการประชุม"สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)" เพราะมีการอภิปราย ทักท้วง และพูดถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะ จำนวน กรรมาธิการสามัญชุดธรรมดา และ กรรมาธิการสามัญชุดพิเศษ เพื่อติดตามภารกิจงานปฏิรูปและแผนยุทธศาสตร์ชาติ
ที่ตั้งประเด็นว่าผิดแผก เพราะ "ส.ว." ชุดนี้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 มาจากคนที่เคยทำหน้าที่ "สนช." มาก่อน ที่ย่อมมีความคิดเห็นและแนวทางการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

เริ่มแล้ว รอยร้าวทางอำนาจที่ไม่สมดุล ของ"สภาสูง"

แต่ภาพสะท้อนที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นว่า "รอยแตกร้าว" ภายในฝ่ายสภาสูง หยั่งรากลึกถึงไปถึงไหน และแบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ขั้วที่เห็นชัดเจน คือกลุ่มสายตรงกลุ่มอำนาจเดิม และสายที่เคยเป็นกลุ่มผู้นำทางความคิดก่อนการรัฐประหาร ปี 2557


ประเด็นที่สะท้อนภาพความแตกร้าวที่ฝังลึก ถูกแสดงออก ผ่านการยกประเด็น"การกำหนดวาระดำรงตำแหน่งของ กลุ่มประมุขสภาสูง ทั้ง ประธานวุฒิสภา, รองประธานวุฒิสภา อีก 2 คน รวมถึงวาระดำรงตำแหน่งของ ประธานกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา"

เริ่มแล้ว รอยร้าวทางอำนาจที่ไม่สมดุล ของ"สภาสูง"

พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม
จุดเริ่มคือ"พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม-กล้านรงค์ จันทิก" ส.ว.กลุ่มผู้นำทางความคิดที่เสนอให้ร่างข้อบังคับการประชุมกำหนดวาระให้ชัดเจน โดย ส่วนประธานกรรมาธิการฯ ควรกำหนดระยะเวลา อย่างน้อยไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ขณะที่ตำแหน่งประมุขสภาสูง ก็เช่นกัน โดยยกเหตุผลคือ การปรับบทบาทการทำงานให้สอดคล้องกับภาวะ-ยุคสมัย

เริ่มแล้ว รอยร้าวทางอำนาจที่ไม่สมดุล ของ"สภาสูง"

กล้านรงค์ จันทิกแต่ในความหมายที่ซ่อนอยู่ คือ การผ่องถ่ายอำนาจการควบคุมกิจการใน "วุฒิสภา" เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวางทายาทไว้เกินความจำเป็น หรือ กุมอำนาจไว้เฉพาะฝ่ายตน และเครือข่ายกลุ่มเดียวเพียงเท่านั้น ขณะที่ฝั่งไม่ยอมเขียนเรื่องกำหนดวาระดำรงตำแหน่ง ระบุว่า ไม่มีระเบียบใดวางเป็นข้อปฏิบัติไว้ และบางคนเลือกจะเงียบ เพราะมีส่วนได้เสียโดยตรง


อย่างไรก็ดีแม้ผลกรทักท้วง แม้จะเป็นเพียง"ข้อเสนอแนะ"ให้ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาทำข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา นำไปพิจารณาให้เกิดความรอบคอบ แต่ด้วยสัดส่วนของ กรรมาธิการฯ ที่วางกรอบไว้เบื้องต้น คือ 35 คน มาจาก กรรมการยกร่างข้อบังคับ 18 คน และ ส.ว.ที่อยู่นอก กรรมการฯ จำนวน 17 คน กลายเป็นสิ่งที่ปรากฎภาพชัดเจนของความไม่ลงรอย


เมื่อมี "ส.ว."เสนอให้ปรับสัดส่วนตามกรอบเบื้องต้น เพราะ ใน ดร๊าฟแรกของข้อบังคับฯ ยังมีปัญหามาก โดยเฉพาะการเขียนถ้อยคำ และการปรับเปลี่ยนเนื้อหาที่ต้องใช้การพิจารณา ที่อาจลามไปถึง "การโหวตเพื่อลงมติตัดสิน" ดังนั้นหากให้ กรรมการยกร่างฯ นั่งเป็น กรรมาธิการฯ สัดส่วนที่มากเกินไป อาจทำให้งานไม่ราบรื่นได้ในที่สุด เราะ กรรมการยกร่างฯ ย่อมพิทักษ์บทบัญญัติที่ตนเองได้ทำ


ซึ่งในประเด็นนี้ ถูกยุติ ได้ผ่านการพักการประชุมเพื่อหารือนอกรอบ ก่อนจะกลายเป็นภาพยอม ปรับสัดส่วนกรรมาธิการฯ จาก 35 คน เป็น 39 คน และมีสัดส่วนมาจากรรมการร่างข้อบังคับ จำนนวน 1 ใน 5 หรือ 7 คน ขณะที่ส.ว.นอกกรรมการฯ ได้สิทธิ 32 คน


กับภาพที่เกิดขึ้นในการประชุมวุฒิสภา เพียงวาระง่ายๆ ยังมีประเด็นที่ต้องถกเถียง ถึงความสมดุลในแง่บทบาท และ อำนาจ หลังจากนี้ไป คงต้องจับตาภาพ "วุฒิสภา" อย่างใกล้ชิดว่า สุดท้ายแล้วในวาระบางเรื่องที่เกี่ยวโยงกับอำนาจ จะมีใครยอมใคร กันแบบนี้หรือไม่
บนความเคลื่อนไหว : เริ่มแล้ว รอยร้าวทางอำนาจที่ไม่สมดุล ของ"สภาสูง"  (เทพจร)

logoline