svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิด 3 เงื่อนไข...ทำ "ว่าที่รัฐมนตรี" กระเด็นตกเก้าอี้!

21 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โผ ครม.ประยุทธ์ 1 สมัย 2 แม้ฝุ่นจะหายตลบแล้ว เพราะชื่อว่าที่รัฐมนตรีจากทุกพรรคถูกส่งถึงมือนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียบร้อย แต่ปรากฏว่าล่าสุดยังมีปัญหาใหม่ตามมา เพราะว่าที่รัฐมนตรีหลายคนอาจมี "สอบตกคุณสมบัติ"

คุณสมบัติว่าที่รัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ถูกวางมาตรฐานเอาไว้สูงและเข้มข้นกว่าเดิม โดยเฉพาะมาตรา 160 (5) ที่ระบุว่า "รัฐมนตรีต้องไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง" ซึ่งมาตรฐานทางจริยธรรมที่ว่านี้ เป็นมาตรฐานทางจริยธรรมฉบับใหม่ที่ยกร่างโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 219 ปัจจุบันประกาศใช้แล้ว มีผลผูกพันถึงรัฐมนตรี ส.ส.และ ส.ว.ด้วย

มาตรฐานทางจริยธรรมแต่ละข้อเขียนเอาไว้กว้าง และเปิดช่องให้ตีความได้อย่างกว้างขวางมาก เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทําการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ไม่คบหากับผู้มีอิทธิพล เป็นต้นในเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ยังมีบัญญัติห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 184 อีกด้วย ทั้งการห้ามถือหุ้นในกิจการที่ได้สัมปทานจากรัฐ และห้ามแทรกแซงสื่อ

คุณสมบัติที่เข้มงวดเหล่านี้เองที่เป็นสาเหตุทำให้การตั้งคณะรัฐมนตรีเสร็จช้า เพราะ "ว่าที่รัฐมนตรี" หลายๆ คนมีบาดแผล มีชะนักติดหลัง ถูกกล่าวหาว่าทุจริต มีเรื่องร้องเรียนใน ป.ป.ช. อาจถูกขยายแผลตรวจสอบจากฝ่ายค้านเมื่อเข้าไปดำรงตำแหน่งแล้ว โดย "ว่าที่รัฐมนตรี" กลุ่มนี้มีอย่างน้อยๆ 7 คน มีทั้งพรรคพลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย และรวมพลังประชาชาติไทย โดยปัญหาคุณสมบัติที่พบหลักๆ ได้แก่

1.ถือหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน แม้บริษัทนั้นจะไม่ได้ประกอบกิจการสื่อจริงๆ ก็ตาม ซึ่งเรื่องนี้เป็นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตั้งแต่การลงสมัคร ส.ส.2.การขัดกันแห่งผลประโยชน์ เช่น ถือหุ้นในกิจการที่อยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงที่ตนจะต้องรับผิดชอบ อย่างการถือหุ้นโรงเรียนนานาชาติ แต่กำลังจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการหรือช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อย่างนี้เป็นต้น3.ความซื่อสัตย์สุจริต เช่น กรณีว่าที่รัฐมนตรีบางคนมีเรื่องร้องเรียนใน ป.ป.ช.และ 4.พฤติกรรมการเป็นผู้มีอิทธิพล

logoline