svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

(คลิปข่าว) แก้ประมงผิดกฎหมาย วาระภูมิภาคอาเซียน: คืนความเป็นธรรมประมงไทยที่ยอมทำตามกฎ IUU

17 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัญหาราคาอาหารทะเลตกต่ำ จากการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศเพื่อนที่เข้ามาตีตลาดในไทยอย่างไร้การควบคุม กลายเป็นประเด็นที่ประมงพาณิชย์หยิบยกขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกดดันภาครัฐให้เร่งแก้กฎหมายประมง ผ่อนปรนด้านต้นทุนของผู้ประกอบการประมงพาณิชย์มากขึ้น

รายการชั่วโมงสืบสวน 16 มิ.ย. 2562 - แม้ 'ประมงพาณิชย์' และ 'ประมงพื้นบ้าน' จะมีความเห็นและได้รับผลกระทบที่ต่างกันในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย IUU โดย 'ประมงพาณิชย์' ได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีต้นทุนในการทำประมงที่สูงขึ้น ในขณะที่ 'ประมงพื้นบ้าน' ได้รับประโยชน์เพราะสามารถจับสัตว์น้ำได้มากขึ้นเนื่องจากกฎหมายควบคุมประมงพาณิชย์และจำกัดพื้นที่การหาปลา รวมถึงเครื่องมือประมงต้องมีขนาดตาข่ายไม่เล็กจนเกินไป
แต่สำหรับปัญหาที่ทั้งสองสมาคมประมงต้องเจอเหมือนกันในช่วงเวลานี้ คือราคาอาหารทะเลที่ตกต่ำ อันเนื่องมาจากการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศบ้านที่มีราคาถูกกว่า มากดราคาให้อาหารทะเลที่ผลิตโดยประมงไทยตกต่ำลง
ทุกๆเช้า สะพานปลาจังหวัดระนอง จะคราคร่ำ ไปด้วย ชาวประมงที่นำปลามากอง มีพ่อค้าแม่ค้า จากที่ต่างๆ มาประมูลราคาปลาไปขาย หรือที่เรียกว่า เปียปลา
แม่ค้าคนนี้บอกว่า ช่วงนี้อาหารทะเลมีน้อย ที่เห็นส่วนใหญ่ เป็นปลาที่มาจากฝั่งประเทศเมียนมาร์
แม้อยู่ในช่วงปิดอ่าว 3 เดือนแต่ก็มีการลักลอบบ้างทำประมงในบางพื้นที่ ซึ่งยอมรับว่าก่อนหน้านี้อาหารทะเลราคาตก ยกตัวอย่างเช่นปลาทู
วันนี้ปลาทูเกรดเอ เปียปลาไปได้ในราคา 90 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาก่อนหน้านี้สูง ถึง 120 บาทต่อกิโลกรัม
ผู้หญิงคนนี้ เป็นแม่ค้าอีกคน เข้ามาเปียปลา รับซื้อปลาจากสะพานปลา จังหวัดระนองไปขายต่อ บอกว่า ช่วงนี้ มีปลา ให้รับไปขายจำนวนน้อยลง เนื่องจาก เรือประมงพาณิชย์ติดปัญหากฎหมาย iuu และ อยู่ในช่วงปิดอ่าวของประเทศเมียนมาร์ ทำให้ขาดรายได้ไปบ้าง แม้ตอนนี้ราคาอาหารทะเลจะปรับขึ้น แต่ก็ไม่มีสินค้าให้นำออกไปขายที่สะพานปลา จังหวัดระนอง เรายังได้พบกับ สมทรัพย์ จิตตะธัม นายกสมาคมประมงจังหวัดระนอง เขาไม่ปฏิเสธว่า มาตรการปิดอ่าว 3 เดือน ทำให้ราคาอาหารทะเลปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ก็จะสูงขึ้นอยู่ได้เพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น ซึ่งในช่วงเวลาที่อาหารทะเลมีราคาที่สูง ชาวประมงไทยก็ไม่มีปลาขายที่จะได้ราคาดี เพราะอยู่ในช่วงมรสุม และติดปัญหา ต้นทุนที่ไม่คุ้มค่า จากกฎหมาย IUU
ข้อเสนอจากสมาคมประมงแห่งประเทศไทยก็คือ รัฐต้องควบคุมการนำเข้าอาหารทะเล จากปัจจุบันที่ปล่อยให้นำเข้าแบบเสรี ซึ่งมีแนวโน้มการนำเข้าสูงขึ้น
ข้อมูลจาก กรมการค้าต่างประเทศสถิติการนำเข้าสัตว์น้ำสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ปี 2559 ปริมาณ 1.47 ล้านตัน ปี 2560 ปริมาณ 1.44 ล้านตัน และล่าสุด ปี 2561 มีปริมาณ 1.67 ล้านตัน
แต่ล่าสุด กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงว่า รัฐไม่สามารถจำกัดปริมาณนำเข้าสินค้าประมงได้เนื่องจากไทยไม่ได้ผูกพันสินค้าประมงกับ WTO ซึ่งหากประเทศไทยห้ามนำเข้าสินค้าประมงเฉพาะจากต่างประเทศเพื่อนบ้านถือเป็นการเลือกปฏิบัติ
การจัดระเบียบประมง ทั้งหมด ทั้งมวล นั้นก็เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม สัตว์น้ำ สัตว์ทะเล ให้ยังคงอยู่ต่อไป รวมถึงคืนความเป็นธรรมให้กับแรงงานประมง ที่นับเป็นคนใช้แรงานที่หนักห่วงและน่าสงสารที่สุดในบรรดาแรงงานทั้งหมด
ยังมีปัญหายิบย่อยอีกมากที่เป็นผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ประกอบบอกว่าเรือประมงพาณิชย์ตามข้อมูลของกรมประมงที่มีอยู่ 10,645 ลำ จริงๆ แล้วมีที่นำออกไปหาปลาเพียง 8,000 ลำ ที่เหลือจอดนิ่ง และถอดใจสู้ต้นทุนทางกฎหมายไม่ไหว
แต่ในอีกมุมหนึ่งอุตสาหกรรมประมงก็ค่อนข้างอู้ฟู้มากในอดีต การจัดระเบียบประมงครั้งนี้ จึงให้ใครอีกหลายคนที่เคยได้มาก เสียผลประโยชน์
มากไปกว่าราคาอาหารทะเลที่เป็นไปตามกลไกตลาดมีมากราคาตก มีน้อยราคาแพง
ยังมีชีวิตอีกหลายล้านชีวิตใต้ท้องทะเล ที่อยู่ร่วมโลกใบเดียวกับเราที่จำเป็นต้องรักษาสมดุลธรรมชาติเอาไว้
ชีวิตคนยังมีทางเลือก แต่ปลาในทะเลไม่มีทางเลือก นอกจากถูกจับขึ้นมาเป็นอาหารของมนุษย์ปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้ประเทศไทยจะแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายได้สำเร็จ แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่เรานำเข้าอาหารทะเลเข้ามา ยังมีปัญหาไอยูยู คือการทำประมงแบบไร้การควบคุมติดตาม และหากประเทศไทยไม่สามารถจะควบคุมการนำเข้าอาหารทะเลจากเพื่อนบ้านได้ ดังนั้นในฐานะประธานอาเซียน จึงต้องผลักดันการจัดประมงในระดับภูมิภาค.

logoline