svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สมาคมประมงวอน "เกษตร-พาณิชย์" คุมนำเข้าอาหารทะเล หลังเข้มกฎไอยูยู

10 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เผยเรือประมงพาณิชย์ต้นทุนสูงขึ้น หลังรัฐเเข้มประมงผิดกฎหมาย หรือ ไอยูยู 30-40% ขณะที่มีการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ทำตามกฎไอยูยู จำนวนมาก ซึ่งมีราคาถูกกว่า กดราคาอาหารทะเลจากประมงไทยตกต่ำ วอน ก.เกษตร และ ก.พาณิชย์ ควบคุมนำเข้าอาหารทะเล

10 มิ.ย. 62 - นายศราวุธ โถวสกุล รองประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย บอกว่า การบังคับใช้กฎหมาย ประมง หรือ ไอยูยู ทำให้มีขั้นตอนการแจ้งเข้าและออกค่อนข้างยุ่งยาก ผู้ส่งออก 1 รายใช้สินค้า 200 ตัน อาจจะต้องซื้อจากท่าเรือประมาณ 400 ลำใช้เอกสารประมาณ 400 ชุด ทำให้ผู้ประกอบการกว่าจะนำเข้ามา 1 ตัน ใช้ใบอนุญาติ 1 ใบในการส่งออกสินค้า เป็นข้อเสียเปรียบของผู้ประกอบการ ที่ทำตามระบบไอยูยู ที่เป็นนโยบายของรัฐบาล

ทุกวันนี้มีสินค้าอาหารทะเลประเภทนำเข้า 2 ประเภท คือสินค้าแช่แข็ง และสินค้าสด โดยสินค้าสดนำเข้าจากเมียนมา 230,000 ตัน กัมพูชาอีก 4-5 หมื่นตัน นับเป็น 20% ของสินค้านำเข้า อย่างไรก็ตามต้นทุนของประมงไทยค่อนข้างสูง เพราะค่าแรงขั้นต่ำของระเทศเพื่อนบ้าน ประมาณ 100 บาทต่อวัน

ส่วนกลุ่มสินค้าแช่แข็ง มีปริมาณนำเข้า 2 .1 ล้านตัน จำนวนนี้ 8 แสนตัน เป็นปลาทูน่า ซึ่งไม่ได้มีผลกระทบเพราะนำเข้าเพื่อแปรรูปแล้วส่งออก ส่วนอีก 1.3 ล้านตัน เป็นอาหารทะเล ที่เข้ามาขายในประเทศ ประมาณ 8 แสนตัน ตรงนี้แหละที่เข้ามาแย่งอำนาจการซื้อภายในประเทศ ซึ่งนักท่องเที่ยวในประเทศไทยตอนนี้มี 40 ล้านคน ทำให้มีกำลังการซื้อค่อนข้างสูง จึงมีสินค้าอาหารทะเลจากประเทศเพื่อนบ้าน หลั่งไหลมาประเทศไทย จึงอยากให้ทางกระทรวงพาณิชย์ กับกระทรวงเกษตรฯ ช่วยกันควบคุมการนำเข้าอาหารทะเล

ไม่เช่นนั้น สิ่งที่พยายามแก้ปัญหาประมงตามระบบไอยูยู จะทำให้ อาชีพชาวประมงล่มสลายเพราะว่าต้นทุนเราสูงกว่า ไม่สามารถจะไปแข่งขันกับประเทศโลกที่สาม หรือประเทศที่ไม่ทำตามกฎระเบียบของ ไอยูยูได้ อยากให้ดูแหล่งที่มาของสินค้า และจำกัดจำนวนโควต้าที่มาขายในตลาดประเทศไทย ส่วนนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก เราไม่มีปัญหา แต่สินค้าอาหารทะเลที่เข้ามาแย่งตลาด นับว่ามาแย่งโอกาสของชาวประมงในประเทศไทย ซึ่งมีต้นทุนที่สูงขึ้นมา 30 - 40% ในช่วงที่มีการประกาศใช้กฎหมายไอยูยู

ด้าน นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายมงคล สุขเจริญคณา บอกว่าปัจจุบัน มีอาหารทะเลจากประเทศเพื่อนบ้านไหลทะลักเข้ามาขายที่ตลาดในประเทศไทย แทนที่ชาวประมงจะลืมตาอ้าปากได้ หลังการแก้ปัญหาไอยูยู ประมงผิดกฎหมาย อาหารทะเลที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านบางพื้นที่ ติดใบเหลือง ใบแดง คำถามคือว่า เราแก้ปัญหานี้เพื่ออะไร

ปัจจุบันสินค้าส่งออกเป็นปลาทูน่า เป็นกุ้ง แต่สัตว์น้ำจับเพื่อขายในประเทศ แล้วเหลือถึงจะส่งออก แต่ตอนนี้กลายเป็นว่าคนที่ซื้อเพื่อส่งออก แทนที่จะซื้อจากประมงไทย ไปซื้อที่อื่นที่ราคาต่ำกว่า เราจึงต้องปรับตัวด้วยการลดราคา ชาวประมงจึงกำลังได้รับผลกระทบจากราคาอาหารทะเลตกต่ำ ในขณะนี้

ข้อเสนอคือ รัฐต้องควบคุมการนำเข้า จากปัจจุลบันที่ปล่อยเสียให้นำเข้าแบบเสรีไม่ได้ ชาวประมงตายหมดแน่นนอน กลางเป็นว่าแก้ไอยูยู ชาวประมงจะแฮปปี้ลืมตาอ้าปากได้ เปล่าเลยกลาย เป็นว่าราคาสัตว์น้ำตกต่ำ แล้วเท่านั้นไม่พอ ก็นำเข้ามาเพื่อแปรรูปส่งออก ซ้ำร้าย กลายเป็นว่านำเข้ามาเพื่อจำหน่ายในประเทศอีก.

logoline