svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สงครามการค้าทวีความรุนแรงหลังสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีสินค้าจากเม็กซิโก

04 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (27 พ.ค. 3 มิ.ย.) ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับลดลงจากความกังวลประเด็นสงครามการค้า หลังประธานาธิบดีทรัมป์ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดจากเม็กซิโก ในอัตรา 5% ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 10 มิถุนายน นี้ นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่เพิ่มขึ้น หลังจีนระงับการซื้อ ถั่วเหลือง และอาจระงับการส่งออกแร่หายากไปยังสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และเป็นปัจจัยหนุนให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ด้านตลาดหุ้นจีน (A-Share) และตลาดหุ้นไทย ได้รับแรงหนุนบางส่วนจากเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติ หลัง MSCI ปรับเพิ่มน้ำหนักในดัชนีฯ ในส่วนของราคาน้ำมันปรับลดลง จากความกังวลสงครามการค้าจะส่งผลลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และกดดันความต้องการใช้น้ำมันให้ปรับลดลง

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ หลังประธานาธิบดี ทรัมป์ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดจากเม็กซิโก ในอัตรา 5% มีผลบังคับใช้วันที่ 10 มิถุนายน นี้ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่รุนแรงขึ้น หลังจีนระงับการซื้อถั่วเหลือง และอาจระงับการส่งออกแร่หายากไปยังสหรัฐฯ โดยความตึงเครียดทางการค้า ส่งผลให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลประเด็นอิตาลีที่อาจถูกปรับ เนื่องจาก ละเมิดกฎด้านการคลังของสหภาพยุโรป และความไม่แน่นอนประเด็นการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) หลังสหภาพยุโรป ระบุว่า ไม่มีความตั้งใจที่จะเจรจาเกี่ยวกับการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit) อีกรอบ ขณะที่หุ้นกลุ่มรถยนต์ปรับร่วงลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการที่สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดจากเม็กซิโกในอัตรา 5% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดลบ เนื่องจากแรงขายหุ้นกลุ่มส่งออก หลังเงินเยนแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่หุ้นกลุ่มรถยนต์ ปรับลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตในเม็กซิโกตลาดหุ้นจีน (A-Share) ปิดลบ จากความกังวลข้อพิพาททางการค้า และตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แม้ว่าจะได้แรงหนุนบางส่วนจากเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติจากการเพิ่มน้ำหนักหุ้นจีนในดัชนี MSCI ก็ตาม ตลาดหุ้นไทย ปิดบวกเล็กน้อย โดยได้รับแรงหนุนจากเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติจากการปรับพอร์ตของดัชนี MSCI ขณะที่นักลงทุน รอติดตามความคืบหน้าปัจจัยการเมืองภายในประเทศ


ตลาดน้ำมัน ปิดลดลงอย่างมาก เนื่องจากความกังวลสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า จะส่งผลลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และกดดันความต้องการใช้น้ำมันให้ปรับลดลง นอกจากนี้ ยังได้รับแรงกดดันจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ลดลงน้อยกว่าคาดการณ์ตลาดทองคำ ปิดบวก โดยนักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย จากความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าเหตุการณ์สำคัญ (KEY EVENTS)


ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า มีแนวโน้มยืดเยื้อและอาจทวีความรุนแรงขึ้น หลังประธานาธิบดี ทรัมป์ ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าทั้งหมดจากเม็กซิโก ในอัตรา 5% มีผลบังคับใช้วันที่ 10 มิ.ย. นี้ เนื่องจากปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมาย นอกจากนี้ อัตราภาษีจะถูกปรับเพิ่มขึ้นจนถึง 25% ภายในเดือนต.ค. หากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไข โดยการประกาศเก็บภาษีดังกล่าวมีขึ้น แม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะอยู่ระหว่างการทำข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือฉบับใหม่ (USMCA) ก็ตาม ขณะที่ข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ส่งสัญญาณที่ตึงเครียดมากขึ้น หลังกระทรวงพาณิชย์ของจีน ระบุว่า จะจัดทำรายชื่อของบริษัทต่างชาติ องค์กร และบุคคล ซึ่งทางกระทรวงฯ มองว่าไม่น่าเชื่อถือ และเป็นภัยต่อบริษัทของจีน


วันที่ 5 มิ.ย. คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) จะเปิดเผยการพิจารณาประเด็นงบประมาณของประเทศต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่อิตาลีจะถูก EC ปรับ มูลค่า 3 หมื่นล้านยูโร เนื่องจาก ไม่มีความคืบหน้าในการปรับลดระดับหนี้ เพื่อให้ตัวเลขขาดดุลการคลังอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่กำหนด วันที่ 6 มิ.ย. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ที่ -0.4% ขณะที่ ECB อาจจะพิจารณามาตรการที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อภาคธนาคารสำหรับเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB รวมถึง เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ TLTRO3 วันที่ 5 มิ.ย. ติดตามการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของไทย



ในสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกยังมีแนวโน้มเคลื่อนไหวผันผวน โดยได้รับแรงกดดันจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและอาจทวีความรุนแรงขึ้น โดยผลกระทบของสงครามการค้าน่าจะส่งผลให้ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการ ของสหรัฐฯ ยูโรโซน จีน และญี่ปุ่น ที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ปรับลดลง และเป็นปัจจัยที่จะกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากความกังวลต่อประเด็นงบประมาณของอิตาลี รวมถึงโอกาสที่จะเกิด Brexit แบบไร้ข้อตกลงมีมากขึ้น หากนายบอริส จอห์นสัน ซึ่งสนับสนุนแนวคิด Brexit แบบไร้ข้อตกลง ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมคนใหม่แทนนายกรัฐมนตรี เมย์ที่จะลาออกในวันที่ 7 มิ.ย. นี้


ปัจจัยจับตาสัปดาห์นี้ ตัวเลขเศรษฐกิจ ได้แก่ PMI ภาคการผลิตและบริการ (ตัวเลขเป็นทางการ) ของสหรัฐฯ ยูโรโซน จีน ญี่ปุ่น / การจ้างงานนอกภาคการเกษตร และอัตราว่างงานของสหรัฐฯ / GDP ของยุโรป / ทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่ ความคืบหน้าสงครามการค้าสหรัฐฯ-ประเทศคู่ค้า / ประเด็นงบประมาณอิตาลี / การประชุม ECB / การประชุมธนาคารกลางอินเดีย / การเลือกนายกรัฐมนตรี และการจัดตั้งรัฐบาลของไทย

logoline