svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

(คลิปข่าว) ควรบูรณะเพนียดแบบไหน "แบบที่ชาวบ้านต้องการ" หรือ "แบบที่เคยปรากฏในอดีต"

03 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม้กรมศิลปากรจะยืนยันว่า การบูรณะ เป็นไปตามหลักฐานภาพถ่ายเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามนโยบายบูรณะโบราณสถานของกรมศิลปากรที่ต้องมีความใกล้เคียงกับอดีตมากที่สุด เรื่องนี้ จึงยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าการอนุรักษ์ ควรจะต้องบูรณะในรูปแบบไหน แบบที่ชาวบ้านต้องการ หรือ แบบที่เคยปรากฏในอดีต

รายการชั่วโมงสืบสวน 2 มิ.ย. 62 - แม้การบูรณะครั้งล่าสุด นโยบายของกรมศิลปากรจะให้บูรณะตาม แบบที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยปรากฎภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ประธานสภาวัฒนธรรม พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นหญิงชราใน วัย 80 ปี คนนี้ ก็เห็นพ้องกับชาวบ้านในพื้นที่ว่าควรบูรณะตามแบบยุคปัจจุบัน เพราะมีความสวยงามมากกว่า และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวมากกว่า ถ้าไม่นับรวมเรื่องการบูรณะเพนียดคล้องช้างว่าแบบไหนถึงเรียกว่าการอนุรักษ์ ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่ซับซ้อนไปมากกว่านั้น 
ไม่ว่าจะเป็นการใช้งบประมาณในการบูรณะกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าการบูรณะเมื่อ 10 ปีที่แล้ว กว่า 1 เท่าตัว และเบื้องหลังของชาวบ้านที่ออกมาโห่ฮา นอกจากความหวงแหนสถานโบราณสถานแล้ว  ไม่มีใครรู้ว่ามีเบื้องลึกเบื้องหลังไปมากกว่านี้ อีกหรือไม่ 
บนผืนดินศักดิ์สิทธิ์ โบราณ  ในยุคที่ช้างกลายเป็นสัตว์เลี้ยง ที่ให้ผลประโยชน์ได้ ยังมีเรื่องราวของการใช้ประโยชน์ที่ดินเพนียดคล้องช้าง ที่ทับซ้อนกับที่ดินโบราณสถานที่กรมศิลปากรถือกรรมสิทธิ์ และกำลังต้องการจัดระเบียบกับเอกชน ที่เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 
การบูรณะเพนียดคล้องช้าง มีความคืบหน้าไปกว่า ร้อยละ 80 แล้ว ผู้รับเหมากำลังจะส่งมอบงาน ให้กับกรมศิลปากร ได้ภายในกลางเดือนมิถุนายนนี้ แต่ความอึมครึมในพื้นที่ไม่มีทีท้าว่าจะจบลงอย่างง่ายๆ.

ชมคลิปเต็ม 

logoline