svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

(คลิปข่าว) เปิดไทม์ไลน์บูรณะเพนียด จากอดีตสู่ปัจจุบัน เสาตะลุงยอดบัวโผล่ปี 2500

03 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม้กรมศิลปากรจะยืนยันว่า การบูรณะ เป็นไปตามหลักฐานภาพถ่ายเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามนโยบายบูรณะโบราณสถานของกรมศิลปากรที่ต้องมีความใกล้เคียงกับอดีตมากที่สุด เรื่องนี้ จึงยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าการอนุรักษ์ ควรจะต้องบูรณะในรูปแบบไหน แบบที่ชาวบ้านต้องการ หรือ แบบที่เคยปรากฏในอดีต

รายการชั่วโมงสืบสวน 2 มิ.ย. 62 - การเผชิญหน้ากับแรงดันจากชาวบ้านในพื้นที่ ไม่เคยทำให้หญิงวัยกลางคน ในฐานะผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา รู้สึกหวั่นไหวเท่ากับครั้งนี้
เธอยืนยันว่าสิ่งที่ทำเป็นการอนุรักษ์ เพนียดคล้องช้าง ตามหลักฐานภาพถ่ายที่เก่าแก่ที่สุด ในสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฎภาพ เสาตะลุงรอบนอกพระที่นั่ง ไม่มียอดเป็นดอกบัว ซึ่งคาดว่าเสาตะลุงรอบนอกที่มียอดเป็นดอกบัว มาเพิ่มเติมจากการบูรณะในภายหลัง เพนียดคล้องช้าง คือสถานที่สำหรับการจับช้างหน้าพระที่นั่ง แต่เดิมเคยใช้พื้นที่ข้างพระราชวังจันทรเกษม จนถึงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ.2123  จึงย้ายมาที่ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญสูงมาก เนื่องเป็นพาหนะของชนชั้น สูงสำหรับพระราชดำเนินทางบก และเป็นเหมือนรถถัง หรือเครื่องมือสำคัญในการนำลี้พล เข้าต่อสู้กับข้าสึก 
ยิ่งถ้าเป็นช้างเผือก สิ่งมงคลคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว พระองค์ก็จะโปรดเกล้าฯให้นำมาเลี้ยง และประดับยศศักดิ์ให้ด้วย
พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะเสด็จมาทอดพระเนตรการคล้องช้างด้วยเสมอ เพราะนอกจากจะเป็นขั้นตอนในการคัดเลือกช้างแล้ว ยังเป็นมหรสพชนิดหนึ่ง
วิธีการคล้องช้าง เริ่มจาก หมอช้างจะขี่ ช้างต่อ ล่อช้างป่าจากนอกพระนครให้เข้ามาในเพนียด แล้วคัดเฉพาะช้างที่ต้องการไว้ 
เมื่อจะนำมาฝึก ก็จะให้หมอช้างชี่ช้าง 5-7 เชือกวิ่งไล่ต้อน คอยหาจังหวะคล้องบ่วงเข้าที่เท้าหลังของช้าง 
เมื่อบ่วงรัดเท้าช้างไว้แน่น ก็จะช้างลากไปติดเสาตะลุง จากนั้นจึงนำช้างต่อสองเชือกปะกบข้างแล้วนำไปให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือก สำหรับการบูรณะเพนียดคล้องช้าง ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีมาอย่างต่อเนื่อง 
ปี พ.ศ.2441 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการบูรณะเพนียด โดยรัชกาลที่ 5 เสด็จมาทอดพระเนตรการบูรณะ เมื่อวันที่ 30 ม.ค.และในช่วงวันที่ 9-12 ก.พ. ทรงโปรดให้มีพิธีคล้องช้าง รูปแบบหัวเสา

(คลิปข่าว) เปิดไทม์ไลน์บูรณะเพนียด จากอดีตสู่ปัจจุบัน เสาตะลุงยอดบัวโผล่ปี 2500

จากภาพถ่ายเก่ายังเป็นรูปแบบหัวเสาด้านในเชิงเทินเป็นเสาหัวมน ด้านนอกเชิงเทินเป็นหัวเสาตัดตรง เหมือนก่อนการบูรณะ

(คลิปข่าว) เปิดไทม์ไลน์บูรณะเพนียด จากอดีตสู่ปัจจุบัน เสาตะลุงยอดบัวโผล่ปี 2500


ต่อมา พ.ศ.2500 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดให้ซ่อมเพนียด

(คลิปข่าว) เปิดไทม์ไลน์บูรณะเพนียด จากอดีตสู่ปัจจุบัน เสาตะลุงยอดบัวโผล่ปี 2500


ปรากฏภาพถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2505 รูปแบบหัวเสาในครั้งนี้ถูกเปลี่ยนไป โดยรูปแบบเสาทั้งด้านในและนอกเชิงเทินเป็นเสาหัวมน ที่ใต้ส่วนยอดมีการเซาะร่อง เพียงร่องเดียว คาดว่าเป็นการบูรณะโดยการเปลี่ยนเสาใหม่ทั้งหมด 

(คลิปข่าว) เปิดไทม์ไลน์บูรณะเพนียด จากอดีตสู่ปัจจุบัน เสาตะลุงยอดบัวโผล่ปี 2500

พ.ศ.2530 และ พ.ศ.2550 มีการบูรณะเพนียด รูปแบบหัวเสายังคงยึดตามแบบการบูรณะในปี พ.ศ.2500
และในปี พ.ศ. 2561-2562 กรมศิลปากรได้บูรณะเพนียดอีกครั้งตามรูปแบบดั้งเดิมตามหลักฐานจากภาพถ่ายเก่าในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5.

(คลิปข่าว) เปิดไทม์ไลน์บูรณะเพนียด จากอดีตสู่ปัจจุบัน เสาตะลุงยอดบัวโผล่ปี 2500

ชมคลิปเต็ม

logoline