svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ย้ำกัญชายังไม่มีข้อมูลรักษา "เอชไอวี" ได้

01 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สธ.ย้ำกัญชายังไม่มีข้อมูลระบุว่ารักษา "เอชไอวี" ได้ ขณะนี้กัญชาออกดอกแล้ว คาดเก็บเกี่ยวได้ ก.ค. เร่งวิจัยกัญชารักษามะเร็ง ลมชัก ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง พร้อมเผยผู้ป่วยสะเก็ดเงินเตรียมเฮ ขณะนี้กำลังวิจัยกัญชาทาผิวรักษา

ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นพ.โสภณ เมฆธน ในฐานะประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม บอกถึงกรณีสามีภรรยาติดเชื้อเอชไอวีระยะสุดท้าย รักษาแพทย์แผนปัจจุบันไม่หาย อาการทรุดหนักจนญาติทำใจ กระทั่งได้ลองใช้น้ำมันกัญชาหยอดเป็นเวลา 24 วัน อาการดีขึ้น นั้นว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลระบุว่าน้ำมันกัญชาสามารถรักษาเอดส์ได้ ทั้งของต่างประเทศและในประเทศไทยเอง ในส่วนของมะเร็งเองก็ยังไม่ชัดเจน ทั้งหมดนำไปสู่การวิจัยครั้งนี้ ซึ่งการวิจัยจำเป็นต้องใช้กัญชาสายพันธุ์ไทยที่มีปริมาณสาร CBD เหมาะสมตามความต้องการทางการแพทย์ แต่ในขณะนี้ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังมีข้อจำกัดด้านการปลูก ในที่สุดหากมีความจำเป็นก็จะนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีการสั่งนำเข้า
ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ บอกว่า ขณะนี้กัญชาที่ปลูกออกดอกแล้ว โดยจะเก็บเกี่ยวได้ภายในเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นเริ่มศึกษาวิจัยทันที โดยจะผลิตเป็นสารสกัดน้ำมันกัญชาชนิดหยดใต้ลิ้น 3 สูตร สูตรที่ 1 THC สูงกว่า CBD สูตรที่ 2 CBD สูงกว่า THC และสูตรที่ 3 สัดส่วน THC และ CBD 1 ต่อ 1 ทั้งหมดจะผลิตประมาณ 2,500 ขวด ขวดขนาด 5 มิลลิลิตร

ย้ำกัญชายังไม่มีข้อมูลรักษา "เอชไอวี" ได้


สำหรับน้ำมันกัญชาที่ทำการสกัดมาจะใช้วิจัยกับผู้ป่วยใน 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มที่สารสกัดกัญชาได้ประโยชน์ในทางการแพทย์ซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนชัดเจน ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคลมชักที่ดื้อยาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภาวะป่วยประสาทที่ใช้วิธีการรักษาอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล

ส่วนกลุ่มโรคที่ 2 ที่สารสกัดกัญชาน่าจะใช้ประโยชน์ในการควบคุมอาการแต่จะต้องมีข้อมูลทางวิชาการเพิ่มในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิผลเป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัยทางคลินิกและวิจัยทางคลินิก เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรควิตกกังวลผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และกลุ่มที่ 3 สารสกัดกัญชาอาจมีประโยชน์ในการรักษามะเร็งชนิดต่างๆ แต่จะต้องศึกษาวิจัยในหลอดทดลองกับสัตว์ทดลองก่อนนำมาศึกษาวิจัยในมนุษย์ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยครบทั้ง 3 ระดับคือศึกษาวิจัยทางห้องปฏิบัติการวิจัยทางคลินิก และการวิจัยทางคลินิก

สำหรับโรคมะเร็งที่จะทำการศึกษาวิจัยเป็น 5 อันดับแรกก็คือมะเร็งตับ มะเร็งปอดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกนอกจากการศึกษาวิจัยน้ำมันกัญชาชนิดหยดใต้ลิ้น ในพิธีลงนามความร่วมมือวิจัยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์คุณภาพมาตรฐานเพื่อผู้ป่วย ระหว่างองค์การเภสัชและกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยังได้เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังศึกษาวิจัยกัญชาในรูปแบบครีมทาผิว เพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบอีกด้วย

logoline