svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รักโลก by วชิรวิทย์ | ช้างไทยของใคร?

30 พฤษภาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ภาพจำของคนไทยที่มีต่อช้าง คือเป็นสัตว์พาหนะเคียงคู่กับกษัติรย์ในอดีต ออกรบเพื่อกอบกู้บ้านเมือง ช้างจึงเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย มาแต่โบราณ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า กาลเวลาแปรเปลี่ยนความยิ่งใหญ่ของช้างไทย ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการท่องเที่ยว มากไปกว่านั้น ช้างกำลังจะถูกส่งออกให้ไปทำหน้าที่ในต่างแดน โดยไม่มีล่วงรู้ถึงชะตากรรม

ย้อนไปเมื่อปี 2549 ช้างจำนวน 2 เชือกจากหมู่บ้านช้างอยุธยาแลเพนียดคล้องช้าง แห่งนี้ ถูกส่งไปที่ประเทศออสเตรเลีย ครั้งนั้นประเทศไทยส่งไปเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีจำนวน 8 เชือก แลกเปลี่ยนกับจิงโจ้ ซึ่งสัตว์สัญลักษณ์ของประเทศออสเตรเลียกลับมา
ผู้บริหารวังช้างอยุธยาแลเพนียด อิทธิพันธ์ ขาวละมัย บอกว่ากฎหมายส่งออกช้าง ที่รัฐบาลประกาศในรอบ 10 ปีไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องของเงื่อนไขที่ในโลกนี้ย่อมทำกัน คือการแลกเปลี่ยนเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี
ส่วนตัวแล้วเขามองว่าการส่งออกช้างไปครั้งนั้น เป็นประโยชน์ด้านการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศที่ทำกันมานานแล้ว และไม่ห่วงว่าคุณภาพชีวิตของช้างในต่างแดน จะต้องอยู่อย่างยากลำบาก เพราะเมื่อเป็นสัตว์ที่ถูกส่งไปเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ย่อมได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
"คุณต้องเข้าใจว่าช้างเป็นสัตว์ประเสริฐเขาอยู่ได้ เราชอบไปมองว่าเขาอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่กับสัตว์ในสวนสัตว์ทุกที่ ก็อยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่มันเป็นหน้าที่ หน้าที่ของเขาคือไปเป็นทูต และได้รับการดูแลอย่างดีเพราะฉะนั้นประเทศที่จะเอาช้างที่อยู่ต้องมีเงื่อนไขมากมาย" อิทธิพันธ์ บอกกับเรา

รักโลก by วชิรวิทย์ | ช้างไทยของใคร?


หลังปี 2552 ประเทศไทยยุติการส่งออกช้างไปนอกราชอาณาจักร จนกว่าจะขึ้นทะเบียนช้างบ้านทั่วประเทศให้แล้วเสร็จ เพื่อป้องกันการนำช้างป่ามาสวมสิทธิเป็นช้างบ้านแล้วส่งออกไปต่างประเทศ
เป็นเวลาเกือบ 10 ปีแล้วที่ไม่ต้องมีช้างไทยตัวไหน ที่ระหกระเหิน ข้ามน้ำข้ามทะเล ออกไปนอกบ้านเกิด จนกระทั่ง ปี 2562 เมื่อวันที่ 10 เมษายนกระทรวงพาณิชย์ได้ออกระเบียบ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการอนุญาตให้ส่งช้างออกไปนอกราชอาณาจักร
แม้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อดุลย์ โชตินิสากรณ์ ได้บอกว่าช้างที่ส่งออกได้ต้องเป็นช้างที่จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณแล้วเท่านั้น และอนุญาตให้ส่งออกช้างได้ 3 กรณี คือ 1) การส่งช้างเพื่อการศึกษาวิจัย 2) การส่งช้างเพื่อสัมพันธไมตรี และ 3) การส่งส่วนต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้มาจากช้างเพื่อศึกษาวิจัยทางวิชาการ หรือเพื่อเป็นโบราณวัตถุ/ศิลปวัตถุ ซึ่งระเบียบกระทรวงพาณิชย์ฉบับนี้ จะบังคับใช้ จนกว่าร่าง พ.ร.บ.ช้าง พ.ศ. .... ของกรมปศุสัตว์จะแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้

รักโลก by วชิรวิทย์ | ช้างไทยของใคร?

แต่ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ก็ยังแสดงความเป็นห่วงถึงคุณภาพชีวิตของช้างที่ส่งออกไปจริงๆ คำถามสำคัญก็คือ ในยุคปัจจุบันยังมีความจำเป็นต้องส่งช้างไปเพื่อวิจัย หรือเชื่อมสัมพันธไมตรีกันอยู่หรือไม่

รักโลก by วชิรวิทย์ | ช้างไทยของใคร?


ผู้จัดการโครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่า WWF-Thailand เจษฎา ทวีกาญจน์ บอกว่า เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมันกว้างมาก ไม่รู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมันจะเป็นอย่างไร เหมือนกับว่ารัฐบาลกับรัฐบาลส่งช้างไป อยู่ในอุทยานของเขาหรือว่าอยู่ในสวนสัตว์ เราก็อยากจะให้แน่ใจว่า มันเหมาะสมกับการที่จะเอาช้างจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง เพราะว่าช้างก็เป็นสัตว์ใหญ่ สิ่งแวดล้อมแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน ไม่แน่ใจว่ามันจะเหมาะสมไหม

รักโลก by วชิรวิทย์ | ช้างไทยของใคร?


เมื่อมีกระแสวิพากย์วิจารณ์เรื่องนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ไล่เลียงให้เราฟังถึงที่มาของระเบียบส่งออกช้างฉบับนี้ ว่ากรมอุทยานแห่งชาติฯ ขอให้ช่วยคงประกาศปี 2555 ไว้ และให้ช่วยออกระเบียบเพื่อเป็นแนวปฏิบัติรองรับกับประกาศนั้น ซึ่งเนื้อหาที่ร่างทั้งหมดในระเบียบกระทรวงพาณิชย์ กรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นคนร่างให้ แล้วก็ได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปผ่านทางเว็ปไซต์และ facebook รวมทั้งออกข่าวด้วยว่าให้มาแสดงความคิดเห็น ปรากฏว่ามีคนแสดงความคิดเห็น 2 คน แต่ไม่มีคนคัดค้าน
โดยผู้ที่จะส่งออกได้ต้องเป็นหน่วยงานราชการ คือ กรมอุทยาน องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ไม่ใช่เอกชน โดยจะต้องจัดทำความตกลง มีรายละเอียดตามที่กรมอุทยานฯ กำหนด ช้างที่ส่งออกต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยงานที่ขอส่งออก ไม่น้อยกว่า 1 ปี
อธิบดี "กรมการค้าต่างประเทศ" อดุลย์ โชตินิสากรณ์ บอกว่าในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ออกระเบียบกระทรวงพาณิชย์ปี 62 เรียบร้อยส่งไปกรมอุทยานแห่งชาติฯ ยังถือว่าทั้งหมดยังไม่ได้ Final
ด้านอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ธัญญา เนติธรรมกุล มอบหมายให้ รักษาราชการแทน ผอ.กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา สุรพงศ์ ฉวีภักดิ์ ให้สัมภาษณ์กับเรา ระบุว่า ถ้ามีตัว ร่าง พ.ร.บ.ช้างที่ออกประกาศใช้ ก็จะเป็นกฎหมายที่ดูแลครบวงจร
ตัว พ.ร.บ.นี้อยู่ภายใต้การดูแลของ "กรมปศุสัตว์" ถ้ามี พ.ร.บ.ช้าง ก็จะเป็นการยกเลิกระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ไปโดยปริยาย ซึ่งช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน อย่างไรก็ตามรายละเอียดในเรื่องของการส่งออกช้าง เนื้อหา ร่าง พ.ร.บ.ช้างตอนนี้ยังไม่มีการลงรายละเอียด ซึ่งทาง "กรมอุทยาน" ก็ไม่น่าใจว่าจะเป็นอย่างไร และขอให้ผู้สื่อข่าวไปสอบถามกับทาง "กรมปศุสัตว์" ต่อไป
ย้อนไปดู การส่งออกช้างไปนอกราชอาณาจักร เท่าที่มีบันทึกอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อปี 2513 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการนำช้างไปจัดแสดง ที่ประเทศญี่ปุ่น
ภาพเบื้องหลังของกการนำช้างมาจัดแสดงที่ประเทศญี่ปุ่น มันเป็นภาพที่นักอนุรักษ์เห็นแล้วน่าสลดใจ ช้างตัวใหญ่ถูกยัดลงไปในตู้คอนเทนเนอ ขนาดเล็กเกินกว่าจะขยับเขยื่อนได้
ช้างไทย 16 เชือกที่ส่งไปยังญี่ปุ่น ในปีนั้น เป็นไปเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี อีกเช่นเคย

รักโลก by วชิรวิทย์ | ช้างไทยของใคร?


ก่อนปี 2552 การส่งช้างไปแต่ละครั้ง เป็นความลับ ที่ไม่มีการเปิดเผยตัวเลของการส่งออกช้าง ว่ามีจำนวนกี่เชือก ส่งไปที่ไหน และเพื่ออะไร ข้อมูลเหล่านี้ ยังคงเป็นปริศนา มาจนถึงทุกวันนี้
กลุ่มคนรักช้างออกมาส่งเสียงในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวางว่า คนไทยควรจะมีส่วนร่วมรับรู้เรื่องราวทั้งหมดนี้
ทีมข่าวสอบถาม อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อดุลย์ โชตินิสากรณ์ ระบุว่า อยากให้กรมอุทยาน เป็นคนให้ข้อมูลเองเพราะว่า เราเป็นเจ้าของกฎหมาย ซึ่งเราก็มีข้อมูลเก็บไว้ แต่ว่าทีมข่าว ควรจะไปเอาข้อมูลจาก กรมอุทยานฯ เพราะถ้าให้ข้อมูลไป กลายเป็นว่าเราตอบแทน กรมอุทยานฯ ไปหมดเลย
ทีมข่าวสอบถาม อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ธัญญา เนติธรรมกุล มอบหมายให้ รักษาราชการแทน ผอ.กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา สุรพงศ์ ฉวีภักดิ์ ให้สัมภาษณ์ โดยไม่สามารถข้อมูลเป็นเอกสารได้
ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ปากเปล่า จาก รักษาราชการแทน ผอ.กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ระบุ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งช้างไปเชื่อมสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่น ไม่ระบุจำนวนเชือก ต่อมา ปี 2549 รัฐส่งช้างไปประเทศออสเตรเลีย 8 เชือก แลกกับจิงโจ้ ปีเดียวกัน ปางช้างอยุธยา ส่งช้างไปเยอรมัน อีก 5 เชือก ในนามส่วนตัว สัญญาณ 1 ปี แต่ไม่นำกลับมา และรัฐส่งช้างไปจีนอีก 5 เชือก เพื่อแลกกับเสือขาว หลังจากนั้นไม่มีข้อมูลอีก

รักโลก by วชิรวิทย์ | ช้างไทยของใคร?


ในรอบ 10 ปี ที่ยังไม่มีช้างตัวใดถูกส่งไปต่างประเทศ กรมอุทยานฯ ในฐานะ 1 ใน 3 หน่วยงานที่มีสิทธิ์ส่งออกช้างไปนอกราชอาณาจักร บอกว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะส่งช้างออกไป แต่หากส่งออกไปจริงๆ ก็จะมีกระบวนการติดตามอย่างใกล้ชิด
สุรพงศ์ ฉวีภักดิ์ รักษาราชการแทน ผอ.กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา บอกว่า "ขอให้ไว้ใจหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ดูแล ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและทำให้ดีที่สุด และจะนำข้อห่วงใย ข้อเสนอแนะ มาบรรจุไว้ แล้วก็ทำให้สมบูรณ์ที่สุด"

รักโลก by วชิรวิทย์ | ช้างไทยของใคร?


แต่ดูเหมือนว่า จะสวนทางกับอดีตที่ผ่านๆมา ช้างเหล่านี้ต้องไปทนทุกข์ทรมานกับประเทศที่ไม่ใช่แผ่นดินแม่
ยังมีช้างตกค้างอีกเป็นจำนวนมากที่ประเทศจีน ที่อ้างว่าเป็นช้างยืมไปเพื่อสัมพันธไมตรี โดยทุกใบอนุญาต มีองค์กรไซเตสเกี่ยวข้อง มีข้อกำหนดเวลาในการนำช้างกลับมา
แม้แต่เพียงข้อมูลส่งออกช้างย้อนหลังไปก่อนปี 2552 ก็ยังถูกปิดเป็นความลับ คงไม่ต้องพูดถึงการติดตามชะตากรรมของช้างเหล่านั้น เพราะจะไม่มีใครรับรู้ความเป็นไปของพวกมันได้อีกแล้ว
เห็นได้ชัดว่าการส่งออกช้างไปนอกราชอาณาจักรยังมีข้อกังวลอยู่มากมาย ท่ามกลางความกังวล ระเบียบส่งออกช้าง หรือร่างพระราชบัญญัติช้าง ที่กำลังจะออกมา รัฐก็ยังเดินหน้าต่อเหมือนอย่างอย่างเคย
สำหรับช้างไทย พวกมันไม่มีทางเลือก เพราะพวกมันพูดไม่ได้.

รักโลก by วชิรวิทย์ | ช้างไทยของใคร?

ชมคลิปเต็ม

logoline