svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ประวัติ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

26 พฤษภาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สำหรับประวัติของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เกิดที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรชายของ รองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับ นางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์) มีพี่น้อง 8 คน โดยนามสกุล "ติณสูลานนท์" เป็นนามสกุลพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

พลเอกเปรม สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อปี 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
เมื่อสำหรับการศึกษาในปี 2484 ได้เข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีน และสงครามโลกครั้งที่สอง / หลังสงคราม พลเอกเปรม ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ฟอร์ตน็อกซ์ รัฐเคนตั๊กกี้ และกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี
ปี 2517 พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน จากนั้นได้เลื่อนยศเป็นพลเอกในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี 2520 และขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก ในปี 2521
ในทางการเมือง พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทย สืบต่อจาก พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นนายกฯถึง 3 สมัย ระหว่างปี 2523-2531 ช่วงที่บริหารประเทศได้สร้างผลงานเอาไว้มากมาย นำพาประเทศฝ่าฟันวิกฤติเศรษฐกิจมาได้โดยใช้นโยบายนิยมไทย และแก้ปัญหาการขัดแย้งทางความคิดและผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์โดยใช้ "การเมืองนำการทหาร" ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่เป็นภัยคุกคามทางความมั่นคงร้ายแรงที่สุดในยุคนั้นอ่อนกำลังและสลายตัวไปในที่สุด ขณะที่ปัญญาชน นิสิต นักศึกษาที่หลบหนีเข้าป่าก็มีการนิรโทษกรรมให้กลับมาร่วมพัฒนาชาติไทย
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี โดยดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบันในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 จึงถือเป็นประธานองคมนตรี 2 รัชกาล

logoline