svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ย้อนรอย... กปปส. ปิดเมือง โค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ข้อหา "กบฎ"

14 พฤษภาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันนี้ 14 พ.ค. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. และผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) พร้อมแกนนำและแนวร่วม กปปส. เดินทางมาศาลในการนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกคดีกบฏ กปปส.

ย้อนไปเเมื่อปลายปี 2556 สถานการณ์ทางการเมืองไทยไม่สู้ดีนัก ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง หรือ "นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย" เข้าสภาฯ ก่อให้เกิดกระแสต่อต้าน และการชุมนุมคัดค้านครั้งใหญ่ ก่อนกระแสมวลชนยกระดับข้อเรียกร้อง จากถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ เป็นการบังคับให้รัฐบาลลาออก กระทั่งรัฐบาลประกาศยุบสภา ก็มีการเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ซึ่งมี กปปส. พร้อมกลุ่มมวลชน ขวางไม่ให้เกิดการเลือกตั้งขึ้น

ย้อนรอย... กปปส. ปิดเมือง โค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ข้อหา "กบฎ"

โดยร่างกฎหมาย "นิรโทษกรรมเหมาเข่ง" หรือ "นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย" มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน" .... จุดพลิกผันสู่การประกาศยุบสภาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในวันที่ 9 ธ.ค. 2556 อันเนื่องมาจากกระแสต่อต้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับที่เสนอโดย "นายวรชัย เหมะ" สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และคณะ เนื่องมาจากร่าง พ.ร.บ. ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 นั้น เป็นร่างที่คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากได้แก้ไขเนื้อหาจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับเดิมของนายวรชัย เหมะ ที่มีวัตถุประสงค์ต้องการนิรโทษกรรมผู้ต้องขังจากคดีเผาศาลากลางจังหวัดจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในปี 2553ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ประกอบด้วย 7 มาตรา คณะกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่เป็นฝ่ายรัฐบาลได้แก้ไขมาตรา 3 และมาตรา 4 ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้มีผลนิรโทษกรรมครอบคลุมหลายฝ่าย ทั้ง "ฝ่ายพันธมิตรฯ และฝ่าย นปช." ที่สำคัญยังรวมถึง "ดร.ทักษิณ ชินวัตร" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ "นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" ซึ่งกรณีหลังนี้ทำให้เกิดเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองปี 2553 พรรคฝ่ายค้าน องค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ รวมทั้งแกนนำ นปช. และกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งเท่ากับเป็นการนิรโทษกรรมให้แก่คดีอาญา "ฆ่า-เผา" และ "ผู้ทุจริตคอร์รัปชัน" รวมไปถึงการพา ทักษิณ กลับเข้ามาอยู่บ้านเกิดในเมืองไทยทั้งนี้ มวลชนที่เชื่อมั่นในตัว นายสุเทพ หรือ ลุงกำนัน ได้ออกมาร่วมชุมนุม ทำให้บรรยากาศที่สวนลุมพินี ช่วงเช้าวันที่ 29 มี.ค. 57 เป็นไปด้วยความคึกคัก ซึ่ง นายสุเทพ นัดหมายออกเดินขบวนไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า

ย้อนรอย... กปปส. ปิดเมือง โค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ข้อหา "กบฎ"

ทั้งนี้ เมื่อขบวนเคลื่อนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า นายสุเทพ ได้ประกาศเจตนารมณ์ จะร่วมกันขจัดระบอบทักษิณให้หมดสิ้น และจะร่วมกันปฏิรูปประเทศไทย เปลี่ยนแปลงประเทศให้มีการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์แท้จริง โดยจะทำทุกอย่างด้วยหลักสันติ สงบ อหิงสาซึ่งแม้จะมีการประกาศว่า จะเคลื่อนไหวอย่างสงบ สันติ อหิงสา แต่ในช่วงระหว่างที่มีการชุมนุมนั้น พบว่าเกิดเหตุป่วนขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ทั้งการปาระเบิด หรือการยิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุมขณะที่ความเคลื่อนไหวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 28 มี.ค. 57 ซึ่งคนใกล้ชิดเปิดเผยว่า การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องตัดสินไป จ.เชียงใหม่ กลางดึก เนื่องจากไม่ไว้ใจสถานการณ์การเมือง

ด้าน นายสุเทพ ขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่อีกครั้ง ประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนและเด็ดขาดว่า ไม่ยอมให้มีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้อีกเป็นอันขาด นอกจากจะปฏิรูปประเทศให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งต้องการสื่อไปถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และฝ่าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง

ย้อนรอย... กปปส. ปิดเมือง โค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ข้อหา "กบฎ"


9 พ.ค. 2557 นายสุเทพ และแกนนำ กปปส.ได้เปิดฉากการประท้วงอีกครั้งที่เรียกว่า 'การต่อสู้ครั้งสุดท้าย' หากไม่ได้รับชัยชนะจะไม่เลิกชุมนุมเด็ดขาด โดยเข้าควบคุมพื้นที่สื่อมวลชนที่เหล่าบรรดาพลังมวลมหาประชาชนมองว่า เป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และโน้มน้าวไม่ให้รายงานโฆษณาชวนเชื่อนิยมรัฐบาล เพราะเชื่อว่าเป็นการบิดเบือนความจริงกระทั่งเมื่อกลางดึกของวันที่ 20 พ.ค. 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก (ขณะนั้น) ประกาศกฎอัยการศึกในรูปของประกาศของกองทัพบก เนื่องจากผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่ายยังไม่มีทีท่าจะยุติการชุมนุม พร้อมอาจเกิดเหตุปะทะ ก่อให้เกิดการสูญเสียกันได้ทุกเมื่อ"ไม่ยอมลาออกใช่ไหม จากวินาทีนี้เป็นต้นไปผมขอควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินการปกครองประเทศ"

ย้อนรอย... กปปส. ปิดเมือง โค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ข้อหา "กบฎ"

จากนั้น จึงไม่มีผู้ชุมนุม กปปส. หรือผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงอีก และถนนหนทางต่างๆ ในกรุงเทพฯ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่คนต่างจังหวัดที่เข้ามาร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ เอง ก็ทยอยกลับภูมิลำเนาต่อมา คณะทำงานอัยการคดีพิเศษ มีความเห็นสั่งคดี นายสุเทพ พร้อมพวกรวม 58 คน ในคดีกบฏ จากการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. แต่สำนวนคดียังติดขั้นตอนร้องขอความเป็นธรรมกระทั่งมีรายงานว่า 24 ม.ค. 2561 คณะทำงานของอัยการสำนักงานคดีพิเศษ นัดสั่งคดีแกนนำ กปปส. ทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าคดีไม่มีหลักฐานและข้อเท็จจริงใหม่ ที่จะกลับความเห็นและคำสั่งเดิมของคณะทำงานที่เคยมีคำสั่งไว้เมื่อปี 2557 ให้สั่งฟ้อง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ต้องหาที่ 1 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ผู้ต้องหาที่ 2 นายชุมพล จุลใส ผู้ต้องหาที่ 3 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ต้องหาที่ 4 นายอิสระ สมชัย ผู้ต้องหาที่ 5 นายวิทยา แก้วภราดัย ผู้ต้องหาที่ 6 นายถาวร เสนเนียม ผู้ต้องหาที่ 7 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ผู้ต้องหาที่ 8 นายเอกณัฏ พร้อมพันธุ์ ผู้ต้องหาที่ 9 นางอัญชะลี ไพรีรักษ์ ผู้ต้องหาที่ 10 นายนิติธร ล้ำเหลือ ผู้ต้องหาที่ 11 นายอุทัย ยอดมณี ผู้ต้องหาที่ 12 ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ ผู้ต้องหาที่ 13 พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ ผู้ต้องหาที่ 14 นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ผู้ต้องหาที่ 15 นายยศศักดิ์ โกโศยกานนท์ ผู้ต้องหาที่ 16 นายสุภวัฒน์ สุปิยะพาณิชย์ ผู้ต้องหาที่ 17 น.ส.จิตรภัสร์ กฤดากร ผู้ต้องหาที่ 19 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้ต้องหาที่ 25 นายถนอม อ่อนเกตุพล ผู้ต้องหาที่ 28 พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ผู้ต้องหาที่ 31 นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ต้องหาที่ 32 นายอมร อมรรัตนานนท์ หรือรัชต์ชยุตม์ ศิรโยธินภักดี ผู้ต้องหาที่ 37 นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ผู้ต้องหาที่ 39พระสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือพระพุทธะอิสระ ผู้ต้องหา ,นายสาธิต เซกัล ผู้ต้องหาที่ 42 นายกิตติชัย ใสสะอาด ผู้ต้องหาที่ 43 นายคมสัน ทองศิริ ผู้ต้องหาที่ 44 นายพิเชษฐ พัฒนโชติ ผู้ต้องหาที่ 46 นายมั่นแม่น กะการดี ผู้ต้องหาที่ 47 นายประกอบกิจ อินทร์ทอง ผู้ต้องหาที่ 48 นายนัสเซอร์ ยีหมะ ผู้ต้องหาที่ 49 นายพานสุวรรณ ณ แก้ว ผู้ต้องหาที่ 50 นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด ผู้ต้องหาที่ 51 น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ผู้ต้องหาที่ 54 นางทยา ทีปสุวรรณ ผู้ต้องหาที่ 55 พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี ผู้ต้องหาที่ 56 พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ ผู้ต้องหาที่ 57 (รวม 58 ราย) ในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฎ, ยุยง หรือจัดให้เกิดการร่วมกันปิดงาน หยุดงาน, กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดฯ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลฯ, อั้งยี่, ซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ผู้กระทำคนหนึ่งคนใด มีอาวุธ หรือผู้มีหน้าที่สั่งการ, เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกไปแล้วไม่เลิก, ร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายร้ายหรือขู่เข็ญฯ โดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในเวลากลางคืน และร่วมกันขัดขวางการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง และร่วมกันกระทำการโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อมิให้สามารถใช้สิทธิได้ หรือขัดขวางการเลือกตั้ง การลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 113, 116, 117, 209, 210, 215, 216, 362, 364, 365 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ.2550 มาตรา 76 ,152

ย้อนรอย... กปปส. ปิดเมือง โค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ข้อหา "กบฎ"


ซึ่งการชุมนุมของกลุ่ม กปปส.มีการแจ้งความดำเนินคดีทั้งหมด 58 คน ซึ่งปี 2558 อัยการสั่งไม่ฟ้อง 1 คน เหลือ 57 คน และในจำนวนนี้ DSI ยังทำสำนวนไม่เสร็จ 3 คน เหลือ 54 คน และในจำนวน 54 คน มี 7 คน ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาไม่เกี่ยวกับคดีหลัก (กบฏ) จึงแยกฟ้องต่างหากเหลือ 49 คน และฟ้องแล้ว 4 คน วันนี้เรียกมาฟังคำสั่ง 43 คน มาจริงเฉพาะแกนนำ 9 คน จึงยื่นฟ้องไปก่อน ส่วนอีก 34 คน ทำหนังสือขอเลื่อนฟังคำสั่งอย่างเป็นทางการ19 เม.ย. 61 ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ทนายความของ 9 แกนนำ กปปส. ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันภัย บ.วิริยะประกันภัย คนละ 800,000 บาท รวม 7.2 ล้านบาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดีที่อัยการคดีพิเศษ 4 ได้ยื่นฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และแกนนำอีก 8 คน ร่วมกันกบฏและก่อการร้าย รวมทั้งความผิดอื่นรวม 9 ข้อหาโดยศาลพิจารณาคำร้องแล้ว อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งเก้า โดยตีราคาประกันคนละ 600,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล

ย้อนรอย... กปปส. ปิดเมือง โค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ข้อหา "กบฎ"

ทั้งนี้ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้มีจำเลยจำนวนมากเพื่อให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยปราศจากอุปสรรค จึงเห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขกับจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณา ดังนี้1.ให้จำเลยดำเนินการแต่งตั้งทนายความเป็นที่เรียบร้อยก่อน หรือในวันนัดพร้อมเพื่อประชุมคดี ตรวจพยานหลักฐาน2.กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลย ให้ถือวันนัดของศาลเป็นหลักสำคัญ หากทนายความจำเลยติดภารกิจหรือเจ็บป่วย ก็ให้จำเลยแต่งตั้งทนายความคนใหม่ ศาลจะไม่ให้อนุญาตให้เลื่อนคดีเพราะเหตุขัดข้องเรื่องทนายความ และศาลจะถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางประวิงคดีอันเป็นอุปสรรคแก่การดำเนินคดีในศาลที่ศาลจะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการสั่งปล่อยชั่วคราวล่าสุดวันนี้ 14 พ.ค. ที่ ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. และผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) พร้อมแกนนำและแนวร่วม กปปส. เดินทางมาศาลในการนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกคดีกบฏ กปปส. โดยนายสุเทพ ให้สัมภาษณ์ว่า พวกตนเป็นจำเลยในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรม ล้างผิดนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ วันนี้สืบพยานโจทก์ครั้งแรก เรามาครบกันทุกคนไม่หลบหนีไปไหน มาสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ข้อหาที่ถูกดำเนินคดีคือกบฏ ก่อการร้าย อั้งยี่ซ่องโจร ผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน บุกรุกสถานที่ราชการ ขัดขวางการเลือกตั้ง เฉพาะข้อหาขัดขวางการเลือกตั้งถูกดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายกว่า 3,100 ล้านบาทด้วย เท่าที่ดูวันที่ศาลได้กำหนดวันสืบพยานโจทก์จำเลย ดูเหมือนว่าศาลจะพยายามให้คดีนี้เสร็จสิ้นภายใน ธ.ค.2562 นี้

ย้อนรอย... กปปส. ปิดเมือง โค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่ข้อหา "กบฎ"

"เป็นธรรมดาคนที่ถูกดำเนินคดีทุกคนต้องมีความวิตกกังวล แต่ว่าเราเป็นพลเมืองที่ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เราก็สู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม รวบรวมพยานหลักฐาน เหตุเกิดมาตั้ง 5-6 ปีแล้ว บางทีเราก็ลำบากเหมือนกันในการหาพยานหลักฐาน หนักใจ แต่ก็ไม่ประมาท พี่น้องประชาชนที่เคยเห็นเหตุการณ์รู้ว่ามีอะไรที่จะเป็นประโยชน์กับคดี เป็นพยานหลักฐานให้พวกเราได้ ช่วยกรุณาส่งมาหรือบอกมานะครับ" นายสุเทพ กล่าวตอบผู้สื่อข่าวเมื่อถามว่ามีความกังวลกับคดีหรือไม่ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ 11 พรรคการเมืองเล็กเข้าร่วมตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนให้ความเห็นในฐานะประชาชน เราต้องการเห็นบ้านเมืองเดินหน้าไปได้ เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ประชาชนจะได้ไม่ต้องมีความห่วงกังวล ได้ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินแก้ปัญหากันไปได้ การที่นักการเมือง พรรคการเมือง จะร่วมมือกันเพื่อพาประเทศไปข้างหน้าให้ได้ ก็สมควรอนุโมทนาทั้งนั้นถามถึงการที่พรรค รปช. ได้ ส.ส. 5 ที่นั่ง จะมีข้อแนะนำอะไรกับ ส.ส. หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่มีอะไร เตรียมตัว หวังว่าจะได้เยอะแต่ได้น้อยก็เตรียมตัว เราก็มีจุดยืนชัดเจนว่าพรรค รปช. สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ เพราะเชื่อมั่นว่าจะทำให้บ้านเมืองก้าวหน้าไปได้ สงบเรียบร้อยได้ และเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต อันนี้เราดูมานานแล้วเมื่อถามถึงกระแสข่าวการคุยเรื่องจัดตั้งรัฐบาล ได้มีการคุยกับใครหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่เคยคุยกับใครเลย มีคนเดียวที่เจอกันคือนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา (ชพน.) แต่เขาไม่ได้มาคุยกับตน ไปเจอกันที่ร้านอาหารโดยบังเอิญ ที่แปซิฟิค ซิตี้ คลับ เท่านั้นเอง คนก็ไปทำข่าวกันเป็นตุเป็นตะ จริงๆ ไม่มีคุยกับใคร เรา 5 คนเองจะเอาอะไรนักหนา และไม่เดินสายคุยกับใครทั้งสิ้น เราตั้งมั่นอยู่ในที่ตั้งแน่วแน่

logoline