svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

นักอนุรักษ์เฮ!! พบเลียงผาจากอุทยานแห่งชาติทับลาน

07 พฤษภาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปราจีนบุรี - นักอนุรักษ์เฮ เป็นครั้งแรกพบเลียงผาจากอุทยานแห่งชาติทับลาน เดินข้ามบนอุโมงค์ทางเชื่อมผืนป่าดงพญาเย็น ไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สามารถบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ผ่านกล้อง NCAPS หัวหน้าทับลานชี้ในเร็ว ๆ วันนี้ สัตว์ผู้ล่า "เสือโคร่ง"ที่มีมากกว่า 20 ตัว จากผืนป่าทับลานเป็นคิวต่อไปที่จะข้ามไป-มาหากินผสมพันธุ์

เมื่อเวลา 06.00 น. วันนี้ (7 พ.ค. 62) ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า พบมีการโพสต์ แชร์ในโลกออนไลน์ เฟสบุ๊ค โดยผู้โพสต์ ใช้ชื่อ Sartra SForester เป็น ภาพนิ่ง และ ภาพวีดีโอ.ที่บันทึกจากกล้องดักถ่ายภาพ NCAPS เป็นภาพของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ เก้ง,กวาง,ลิง,หมูป่า,แมวดาว, เลียงผา และ เสือโคร่ง ที่มาใกล้ทางเชื่อมอุโมงค์ระหว่างผืนป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน กับ ผืนป่าอุทมยานแห่งชาติเขาใหญ่ มรดกโลก อันเป็นอุโมงค์เชื่อมผืนป่าดงพญาเย็นแห่งแรกของประเทศ ที่ผ่านเชื่อมถนนสาย 304 (ปักธงชัย นครีราชสีมา) ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี.

นักอนุรักษ์เฮ!! พบเลียงผาจากอุทยานแห่งชาติทับลาน

.โดยเฉพาะได้พบว่า มีการข้ามบนอุโมงค์เชื่อมผืนป่าดงพญาเย็นเป็นครั้งแรกของเลียงผาเพศผู้ ที่ข้ามจากผืนป่าทับลาน ไปสู่ผืนป่าเขาใหญ่ พบมีผู้กดไลค์กดแชร์จำนวนมากโดย Sartra SForester ได้ระบุข้อความว่า.. "วันนี้ขอมาในเชิงวิชาการหน่อยครับ หลายต่อหลายครั้ง......ที่ผมต้องตอบคำถามใครต่อใครว่า " ทางเชื่อมผืนป่าสำหรับให้สัตว์ป่าข้าม" (Wildlife Corridor) ระหว่างป่าทับลานและป่าเขาใหญ่นั้น จะใช้ได้ผลจริง...จะมีสัตว์ป่าเดินข้ามทางเชื่อมไปมาหาสู่กัน เป็นไปตามเป้าหมายที่ประเทศ เรายอมเสียเงินก้อนใหญ่ในการก่อสร้างหรือไม่ ?นักวิชาการป่าไม้ระดับทำงานนานเป็นพิเศษอย่างกระผม ก็มักจะตอบว่า...ผมมั่นใจว่าจะได้ผล เพียงแต่อาจต้องรอเวลาให้สัตว์ป่ารู้สึกมั่นใจว่าจะปลอดภัยขณะข้ามทางเชื่อมผืนป่าเสียก่อน .... สักวันต้องมีเสีอโคร่ง เดินข้ามจากป่าทับลาน เพื่อไปหาถิ่นอาศัยหรือ habitat ใหม่ในป่าเขาใหญ่แน่นอน ช่วงเวลาที่ผ่านมา.. ผมทราบจากการสำรวจรอยตีน ว่ามีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น กวาง เลียงผา หมีควาย แมวดาว หมาจิ้งจอก (รึหมาบ้านหว่า!!???) ได้ข้ามทางเชื่อมผืนป่าในส่วนที่เป็นอุโมงค์ให้สัตว์ป่าเดินข้ามข้างบนแล้ว แต่ ก็ยังไม่มั่นใจว่าสัตว์ป่าเหล่านั้นได้ข้ามลำห้วย " ลำพระยาธาร " ไปสู่ป่าเขาใหญ่อย่างแน่ชัดหรือไม่ หรืออาจเป็นเพียงการที่สัตว์ป่าฝั่งทับลาน เดินข้ามอุโมงค์ทางเชื่อมลงไปกินน้ำใน "ลำพระยาธาร" แล้วเดินย้อนกลับมา ก็เป็นได้ จนมีเสียงกล่าวขานจากท่านผู้รู้ว่า....."ทางลาดหลังอุโมงค์มันชันไปป่าว แว๊???? ตอนมันเดินลงไปข้อเท้าพลิกตายหงส์ ตายห่าน!!!" " สัตว์ป่ามันจะข้ามน้ำได้ยังไงฟะ!!! ทำไมไม่สร้างสะพานข้ามน้ำให้มันด้วยเลยล่ะ ไม่ก็บริการเสื้อชูชีพให้มันหน่อย"และแล้ว ค่ำวันดีๆ ของวันที่ 5 พฤษภาคม 2562 ผมก็ได้คำตอบที่รอคอย.... 19.03 เลียงผาหนุ่มตัวนั้น (รุ่นน้อง wildlifer ผู้เชี่ยวชาญในการดูไข่สัตว์ว่าไว้) ก็ได้ข้ามเขตแดนจากป่าทับลาน สู่ป่าเขาใหญ่เป็นที่เรียบร้อยอ้อ!!!.....ฝากบอกเฮียๆ ป๋าๆ ที่อยากมาล่าสัตว์แถวนี้ด้วยนะครับว่า ไอ้กระผม กับทีมงานน่ะไม่เท่าไหร่หรอก แต่ชาวบ้านแถวนี้เขารัก เขาหวงสัตว์ป่ามาก แต่ที่แน่ๆ ......พวกเขาดุมาก NCAPS ทำได้ทุกอย่างที่ใจหวัง".....

นักอนุรักษ์เฮ!! พบเลียงผาจากอุทยานแห่งชาติทับลาน

.

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ พบกับนายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทับลาน ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งเป็นบุคคล ผู้โพสต์ ภาพ -ข้อความใช้ชื่อ Sartra SForester กล่าวว่า "หลังจากที่มีการก่อสร้างขยายผิวการจราจร ของกรมทางหลวงผ่านบนถนนสาย 304 (ปักธงชัย นครีราชสีมา) ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี
พร้อมได้มีการออกแบบก่อสร้างอุโมงค์เชื่อมผืนป่า ระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กับ อุทยานแห่งชาติทับลาน มรดกโลก เพื่อให้สัตว์ป่าเดินผ่านด้านบน และให้ยวดยานวิ่งลอดผ่านด้านใน เพื่อให้คนและสัตว์ป่าปลอดภัย โดยเฉพาะสัตว์ป่า สามารถข้ามฝั่งไป มาหากิน ผสมพันธุ์ได้ตลอดผืนป่าดงพญาเย็น นับเป็นอุโมงค์เชื่อมผืนป่าแห่งแรกของประเทศไทยนั้น และ มีพิธีเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเร็ว ๆ นี้
ก่อนหน้าได้มีการพบสัตว์ป่า รอข้ามฝั่งจากอุทยานแห่งชาติทับลาน มุ่งหน้าข้ามไป อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่โดยสามารถบันทึกภาพได้จากกล้องดักถ่าย NCAPS เป็นภาพของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิ เก้ง,กวาง,ลิง,หมูป่า,หมาจิ้งจอก, เลียงผา และ เสือโคร่ง ที่มาวนเวียนใกล้ทางเชื่อมอุโมงค์ระหว่างผืนป่า ตามที่สื่อมวลชนนำไปเผยแพร่ ก่อนหน้านั้น.

นักอนุรักษ์เฮ!! พบเลียงผาจากอุทยานแห่งชาติทับลาน

.

ล่าสุดเมื่อเวลา 19.03 วันที่ 5 พ.ค.62 กล้องดักถ่ายภาพ NCAPS สามารถบันทึกภาพนิ่ง,ภาพวีดีโอ. เลียงผาเพศผู้ได้ ขณะกำลังข้ามเขตแดนจากป่าทับลาน สู่ ป่าเขาใหญ่ นับเป็นสัตว์ป่าตัวแรกที่ข้ามทางเชื่อมด้านบนอุโมงค์อันเป็นนิมิตหมายที่ดีว่า ในหน้าแล้งนี้ จะมีสัตว์ป่า นานาชนิด ทั้งเก้ง,กวาง,ลิง,หมูป่า,หมี, ช้างป่า และสัตว์ผู้ล่าคือ เสือโคร่ง จากอุทยานแห่งชาติทับลาน ข้ามผืนป่าจากป่าทับลานสู่ป่าเขาใหญ่ ในการที่จะไปหากินน้ำ ว่ายข้ามน้ำไปที่ แหล่งน้ำในลำพระยาธาร หรือ การที่จะไปหาคู่ผสมข้ามสายพันธุ์ต่อไปทั้งนี้ เบื้องต้นจะเป็นสัตว์ที่เป็นเหยื่อ หรือ ผู้ถูกล่า ที่เดินข้ามอุโมงค์เชื่อมผืนป่าก่อน จากนั้น จะเป็นสัตว์ผู้ล่า คือ เสือโคร่ง เป็นอันดับต่อไป ที่จะข้ามถิ่นไปหากิน ผสมพันธุ์ที่ผืนป่าเขาใหญ่ โดยพบมีเสือโคร่งอย่างน้อย 2 ตัวที่เดินอยู่ใกล้กับอุโมงค์เชื่อมผืนป่าในขณะนี้ ล่าสุด จากการนับประชากรเสือโคร่งที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยกล้องดักถ่ายภาพพบมีมากกว่า 20 ตัว พร้อมกับมีลูกเสือโคร่งเกิดใหม่ 1 คลอก อีก 3 ตัว " นายประวัติศาสตร์กล่าวและกล่าวเพิ่มเติมว่า " สำหรับบนอุทยานแห่งชาติทับลาน ในขณะนี้ได้ทำการปลูกพืชอาหาร เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับสัตว์ป่า ทั้งในผืนป่า และเส้นทางเชื่อม พร้อมกับได้ติดตั้งกล้องดักถ่าย NCAPS ในการติดตามสัตว์ป่า ให้ปลอดภัย สังเกตพฤติกรรมต่อไป ตลอดรวมถึงในส่วนของอุทยานหางชาติเขาใหญ่ด้วยเช่นกัน"นอกจากนี้ ยังเพิ่มความถี่ให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ลกรมทางหลวง และ ชาวบ้าน ในการเป็นแนวร่วม ในการดูแลผืนป่า และสัตว์ป่า ให้ได้รับความปลอดภัยร่วมกัน พร้อมเตรียมขยายนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ประชาชนตระหนักในการรักษ์สิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าร่วมกันอย่างยั่งยืนในอนาคต"นายประวัติศาสตร์ กล่าว.

นักอนุรักษ์เฮ!! พบเลียงผาจากอุทยานแห่งชาติทับลาน

.ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม สำหรับ อุโมงค์เชื่อมผืนป่าดงพญาเย็นนี้ เชื่อมระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กับ อุทยานแห่งชาติทับลานมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้านบนให้สัตว์เดินผ่านไป-มาหากิน-ผสมพันธ์ ส่วนด้านล่างให้ยวดยานวิ่งลอดผ่าน เป็นอุโมงค์แห่งแรกในประเทศไทย ในการขยายถนนสาย 304 (กบินทร์บุรี-ปักธงชัย) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 192+015 ถึง195+015 ระยะทาง 3 กิโลเมตร ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)งบประมาณ 1,319.257 ล้านบาท เริ่มต้นสัญญา 17 ก.ค. 2558 ขยายสัญญาอีก 2 ครั้ง แล้วเสร็จเมื่อ 26 ม.ค. 2562 รวมระยะเวลา 1,290 วัน ประกอบด้วย อุโมงค์คู่ช่วงยาว 250 เมตร ห่างออกไปประมาณ 100-200 เมตร เป็นอุโมงค์คู่ช่วงที่ 2 ยาวอีก 180 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ ด้านบนอุโมงค์ปลูกต้นไม้ให้สัตว์ป่าเดินข้ามไปมา รวมทั้งติดรั้วกั้นด้านล่างอุโมงค์ไม่ให้รถเฉี่ยวชนสัตว์ป่า ห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเป็นสะพานยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร ยาว 570 เมตร โดยให้รถยนต์ใช้ทางยกระดับและปลูกต้นไม้ให้สัตว์ป่าลอดใต้ทางยกระดับดังกล่าว....

นักอนุรักษ์เฮ!! พบเลียงผาจากอุทยานแห่งชาติทับลาน

..

logoline