svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชง​ออกร่างพ.ร.บ.พืชยากัญชา​ กระท่อม​ แยกออกจาก​ พ.ร.บ.ยาเสพติด​ หลังพ้นนิรโทษกรรม​

03 พฤษภาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา จุฬาฯ เสนอออกร่างพระราชบัญญัติ พืชยา กัญชา และกระท่อม พ.ศ.... หลังพ้นนิรโทษกรรมกัญชา ขณะที่นายแพทย์ธีรวัฒน์ ห่วงน้ำมันกัญชาใต้ดินมีราคาสูงจนผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงได้ เร่งกระบวนการทางกฎหมาย เปิดเสรีกัญชาทางการแพทย์

วานนี้ 2 เม.ย. 62 - จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จัดเวทีจุฬาฯ เสวนาครั้งที่ 19 เรื่องกัญชาเพื่อเยียวยาสุขภาพ? เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคมอย่างกว้างขวางในขณะนี้

ชง​ออกร่างพ.ร.บ.พืชยากัญชา​ กระท่อม​ แยกออกจาก​ พ.ร.บ.ยาเสพติด​ หลังพ้นนิรโทษกรรม​



หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา บอกว่า ผู้ป่วยควรที่จะเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ ได้อย่างเท่าเทียมและไม่ควรมีราคาแพง และนั่นคือสาเหตุสำคัญที่ต้องทำให้กัญชาทางการแพทย์ใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยสะดวกและเร็วที่สุดซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วงของนิรโทษกรรมกัญชาซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 17 วันก็จะถึงวันที่ 19 พฤษภาคม เพราะฉะนั้นคำถามคือทำอย่างไรให้คนป่วยทั้งหมดได้ขึ้นทะเบียนจดแจ้งครอบครองไม่มีตกหล่น ซึ่งขั้นตอนต่อไปหลังจากนี้คือผู้ปลูก รายบุคคล รายย่อย เกษตรกร ที่จะต้องขึ้นทะเบียนในเวลาอีก 3 เดือนต่อมา ในส่วนของขั้นตอนการปลูกก็จะต้องเข้มงวดเรื่องการใช้สารเคมี เพราะปัจจุบันคนไทยป่วยจากการปนเปื้อนสารเคมีมากที่สด ซึ่งถ้ากัญชาเป็นยารักษาโรคก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริสุทธิ์และปราศจากสารพิษหรือสารปนเปื้อน

ชง​ออกร่างพ.ร.บ.พืชยากัญชา​ กระท่อม​ แยกออกจาก​ พ.ร.บ.ยาเสพติด​ หลังพ้นนิรโทษกรรม​



ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี บอกว่า ทางออกสำหรับ การใช้กัญชาทางการแพทย์ให้ถูกต้องตามกฎหมายหลังจากสิ้นสุดช่วงเวลานิรโทษกรรมไปแล้วคือควรมีร่างพระราชบัญญัติ พืชยา กัญชา และกระท่อม พ.ศ.... แยกออกจาก พ.ร.บ.ยาเสพติดซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการปลูก แปรรูปและผลิตภัณฑ์ รวมถึงคุ้มครองสิทธิชุมชนในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะใช้กัญชาในการรักษาโรค

ซึ่งก่อนหน้าที่กัญชาจะตื่นตัว ศูนย์ได้เคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้กัญชาของคนในกรุงเทพฯ 31 ตัวอย่าง พบว่ามีพฤติกรรมแบ่งเป็น 2 อย่างในการใช้กัญชาคือใช้กัญชาแห้งมาเพื่อการสูบ และใช้น้ำมันกัญชาซึ่งส่วนใหญ่จะถูกใช้สำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ป่วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถูกปฏิเสธการรักษาในโรงพยาบาล หลังจากที่ใช้กัญชารักษาตัวเองแล้วก็พบว่าอาการโรคที่เป็นอยู่ดีขึ้น

logoline