svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

แถลงผลการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน

26 เมษายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันนี้ (26 เมษายน 2562) เวลา 12.00 น. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานแถลงข่าวผลจัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน ณ ห้อง ริเวอร์ไซต์ 7 โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพมหานคร

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมและกรมบังคับคดี ได้รับความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) และสหพันธรัฐรัสเซีย รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาเจ้าพนักงานกรมบังคับคดีจัดแถลงข่าวผลการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน
วันนี้ (26 เมษายน 2562) เวลา 12.00 น. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานแถลงข่าวผลจัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน ณ ห้อง ริเวอร์ไซต์ 7 โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพมหานคร
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมและกรมบังคับคดี ได้รับความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) และสหพันธรัฐรัสเซีย รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศและธนาคารโลก จัดการประชุม ระหว่างวันที่ 25 26 เมษายน 2562 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และมุมมองเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ระบบ และแนวปฏิบัติที่ดีเลิศ (best practices) ด้านการบังคับคดีแพ่ง มุ่งเน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และนวัตกรรมดิจิทัลกับการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน และเป็นการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ  และความสัมพันธ์ที่ดีด้านการบังคับคดีแพ่ง ระหว่างหน่วยงานด้านการบังคับคดีภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศคู่เจรจา  และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทน ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) สหพันธรัฐรัสเซีย ผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลปกครอง หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องรวมประมาณ 400 คน
ผลการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีความท้าทายและเป็นประเด็นที่มีความเป็นทันสมัยใน 3 หัวข้อที่สำคัญ ดังนี้หัวข้อที่ ๑ "การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล" มีใจความสำคัญว่า สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นสินทรัพย์รูปแบบใหม่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ (economic value) สามารถก่อให้เกิดรายได้มหาศาลในโลกปัจจุบัน  รวมถึงฐานข้อมูลต่าง (Big Data and Blockchain)  ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าได้  ซึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถบังคับคดีได้  โดยเป็นลักษณะของการอายัดสิทธิเรียกร้อง ทั้งนี้กฎหมายที่ใช้บังคับกับสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ควรเป็นกฎหมายกลาง  เนื่องจากลักษณะการทำธุรกรรมของสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นธุรกรรมที่ดำเนินการรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain  ซึ่งการ Blockchain ในภาครัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน สร้างความโปร่งใส  สำหรับในเรื่องการออกกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล มีข้อที่ต้องพิจารณาในเรื่อง ความเสี่ยงที่เป็นระบบอันมีนัยยะถึงระบบการเงิน  การคุ้มครองนักลงทุน ความโปร่งใส การป้องกันอาชญากรมการฟอกเงิน และไม่ควรจำกัดเพียง blockchain cryptocurrency การกำกับดูแลการผลิตสินทรัพย์ดิจิทัล
หัวข้อที่ ๒ "การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับกระบวนการบังคับคดี" มีใจความสำคัญว่า ภาพรวมของการบังคับคดีในแต่ละประเทศ เริ่มนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบังคับคดี เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการบังคับคดี เช่น ประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐเกาหลี  ประเทศญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออกบางประเทศ   และการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลด้านการบังคับคดีของแต่ละประเทศจะเป็น Big Data ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้  และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดย machine learning
หัวข้อที่ 3 "ประเด็นความท้าทายในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการบังคับตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง"มีใจความสำคัญว่า การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างครบวงจร ควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อลดช่องว่างและความไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ทั้งนี้การบังคับคดีของบางประเทศ เช่น ประเทศสิงค์โปร์ ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่การยื่นฟ้อง มีกระบวนการเปิดเผยข้อมูลของทรัพย์สินของลูกหนี้และเจ้าหนี้  การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ สามารถทำได้รวดเร็ว สำหรับการบังคับคดีในไทย ปัญหาคือการเข้าถึงข้อมูลของลูกหนี้ ที่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่ในการติดตามทรัพย์สินเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ เช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ  ในการประชุมครั้งนี้ กรมบังคับคดีได้นำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง "การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล" ในที่ประชุมและได้รับการชื่นชมผลงานวิจัยดังกล่าว  และกลุ่มประเทศยุโรปได้ขอนำงานวิจัยดังกล่าวไปศึกษาต่อไป การประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีถือเป็นการจัดประชุมครั้งแรกในหัวข้อนี้ และเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ และสร้างความรับรู้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้การประชุมอาเซียน จะมีการจัดขึ้นทุกปี โดยในปี ๒๕๖๓ จะเป็นเรื่องของการบังคับคดีล้มละลายบังคับคดีระหว่างประเทศและธนาคารโลก จัดการประชุม ระหว่างวันที่ 25 26 เมษายน 2562 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และมุมมองเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ระบบ และแนวปฏิบัติที่ดีเลิศ (best practices) ด้านการบังคับคดีแพ่ง มุ่งเน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และนวัตกรรมดิจิทัลกับการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน และเป็นการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ  และความสัมพันธ์ที่ดีด้านการบังคับคดีแพ่ง ระหว่างหน่วยงานด้านการบังคับคดีภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศคู่เจรจา  และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทน ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) สหพันธรัฐรัสเซีย ผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลปกครอง หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องรวมประมาณ 400 คนผลการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีความท้าทายและเป็นประเด็นที่มีความเป็นทันสมัยใน 3 หัวข้อที่สำคัญ ดังนี้
หัวข้อที่ ๑ "การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล" มีใจความสำคัญว่า สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นสินทรัพย์รูปแบบใหม่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ (economic value) สามารถก่อให้เกิดรายได้มหาศาลในโลกปัจจุบัน  รวมถึงฐานข้อมูลต่าง (Big Data and Blockchain)  ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าได้  ซึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถบังคับคดีได้  โดยเป็นลักษณะของการอายัดสิทธิเรียกร้อง ทั้งนี้กฎหมายที่ใช้บังคับกับสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ควรเป็นกฎหมายกลาง  เนื่องจากลักษณะการทำธุรกรรมของสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นธุรกรรมที่ดำเนินการรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain  ซึ่งการ Blockchain ในภาครัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน สร้างความโปร่งใส  สำหรับในเรื่องการออกกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล มีข้อที่ต้องพิจารณา ในเรื่อง ความเสี่ยงที่เป็นระบบอันมีนัยยะถึงระบบการเงิน  การคุ้มครองนักลงทุน ความโปร่งใส การป้องกันอาชญากรมการฟอกเงิน และไม่ควรจำกัดเพียง blockchain cryptocurrency การกำกับดูแลการผลิตสินทรัพย์ดิจิทัลหัวข้อที่ ๒ "การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับกระบวนการบังคับคดี" มีใจความสำคัญว่า ภาพรวมของการบังคับคดีในแต่ละประเทศ เริ่มนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบังคับคดีเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการบังคับคดี เช่น ประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐเกาหลี  ประเทศญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออกบางประเทศ   และการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลด้านการบังคับคดีของแต่ละประเทศจะเป็น Big Data ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้  และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดย machine learningหัวข้อที่ 3 "ประเด็นความท้าทายในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการบังคับตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง"มีใจความสำคัญว่า การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างครบวงจร ควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อลดช่องว่างและความไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ทั้งนี้การบังคับคดีของบางประเทศ เช่น ประเทศสิงค์โปร์ ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่การยื่นฟ้อง มีกระบวนการเปิดเผยข้อมูลของทรัพย์สินของลูกหนี้และเจ้าหนี้  การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ สามารถทำได้รวดเร็ว สำหรับการบังคับคดีในไทย ปัญหาคือการเข้าถึงข้อมูลของลูกหนี้ ที่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่ในการติดตามทรัพย์สินเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ เช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ  ในการประชุมครั้งนี้ กรมบังคับคดีได้นำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง "การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล" ในที่ประชุมและได้รับการชื่นชมผลงานวิจัยดังกล่าว  และกลุ่มประเทศยุโรปได้ขอนำงานวิจัยดังกล่าวไปศึกษาต่อไป การประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีถือเป็นการจัดประชุมครั้งแรกในหัวข้อนี้ และเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ และสร้างความรับรู้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้การประชุมอาเซียน จะมีการจัดขึ้นทุกปี โดยในปี ๒๕๖๓ จะเป็นเรื่องของการบังคับคดีล้มละลาย

logoline