svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ปั้นหุ่น "แม่เมฆ-พ่อหมอก" ขอฝนตามประเพณีโบราณ

25 เมษายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อุตรดิตถ์ - ภาวะภัยแล้งรุกลามหนัก ชาวลับแล นำดินโคลนจากฝายหมาก มาช่วยกันปั้นรูปคนหญิงชาย หรือปั้นหุ่น "แม่เมฆ-พ่อหมอก" นอนเปลือยกาย ขอฝนตามประเพณีโบราณ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ริมคลองแม่พร่อง บริเวณหน้าฝายหมาก หมู่ 2 ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำเหลือเพียงแห่งเดียวที่ชาวลับแลเก็บกักเพื่อใช้อุปโภคบริโภค ชาวลับแลต่างช่วยกันคนละไม้ละมือบรรจงปั้นรูปคนหญิงชาย 1 คู่ อยู่ริมคลองดังกล่าว ซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบทอดมาแต่โบราณหากปีไหนฝนไม่ตก เกิดภาวะความแห้งแล้งถึงขั้นวิกฤติ
ชาวลับแลจะนำดินโคลนจากฝายหมาก มาช่วยกันปั้นรูปคนหญิงชาย หรือปั้นแม่เมฆ - พ่อหมอกโดยต้องปั้นให้สมบูรณ์ที่ดี คล้ายคนเราให้มากที่สุด ด้วยวัสดุจากธรรมชาติและมีอยู่ในท้องถิ่น เช่นผลตำลึงแทนสีแดง สีส้ม ไว้ทาสีปากและอวัยวะ ต่างๆของร่างกาย มะเขือแก่สีเหลือง ทำตา เส้นผมจากร้านเสริมสวย แทนเส้นผมและขน ลักษณะนอนเปลือยกายเคียงข้างกัน และปั้นปลาและกบซึ่งแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ.

ปั้นหุ่น "แม่เมฆ-พ่อหมอก" ขอฝนตามประเพณีโบราณ

.

ปั้นหุ่น "แม่เมฆ-พ่อหมอก" ขอฝนตามประเพณีโบราณ

.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อทำการปั้นเสร็จ นายประจวบ อ่อนลำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.แม่พูล ได้จัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ ดอกไม้ธูปเทียนหมากพลู และนิมนต์พระสงฆ์ประกอบพิธีอันเชิญเทวดาฟ้าดินให้รับทราบถึงความเดือนร้อนของชาวลับแล ที่ประสบภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำ พืชผลทางการเกษตรกรต้นทุเรียน ลองกอง ลางสาดแห้งตาย จึงขอความเมตตาจากเทวดาช่วยให้ฝนตก
จากนั้นชาวลับแลจัดนางรำในชุดผ้าพื้นเมืองสวยงาม ล้อมวงร่ายรำรอบแม่เมฆ -พ่อหมอกเพื่อเป็นการบวงสรวงเจ้าที่ และทุกคนที่เข้าร่วมพิธีจะทยอยรับการประพรหมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล
นายประจวบ กล่าวว่า การนำดินโคลนจากแหล่งน้ำมาปั้นเป็นรูปร่างชาย-หญิง เป็นประเพณีความเชื่อของชาวลับแลที่สืบทอดมาแต่โบราณ เรียกว่า ปั้นแม่เมฆ -พ่อหมอกซึ่งจะปั้นในลักษณะให้นอนเปลือยกายให้อนาจารที่สุด ซึ่งชาวลับแลเชื่อว่า การกระทำดังกล่าวถือเป็นการประชดเทวดาฟ้าดิน จนต้องทำให้เกิดฝนตกเพื่อชำระล้าง เลือกปั้นริมแหล่งน้ำและเป็นที่โล่ง เพื่อให้เทวดาได้มองเห็น ทั้งนี้ไม่ได้ทำทุกปี แต่จะทำเฉพาะปีที่แล้งหนักๆ เท่านั้น.

ปั้นหุ่น "แม่เมฆ-พ่อหมอก" ขอฝนตามประเพณีโบราณ

.

ทั้งนี้ เมื่อปี 2559 ชาวสวนลับแลประสบทั้งภัยแล้งและไฟป่า ก็ได้ร่วมกันปั้น แม่เมฆ -พ่อหมอกเว้นมา 2 ปีซึ่งน้ำมีเพียงพอ จนมาปีนี้ 2562 นับว่าวิกฤติแล้งและรุนแรงยิ่งกว่าปี 2559 ชาวลับแลต้องประกอบพิธีขอฝนตามความเชื่ออีกครั้ง อย่างไรก็ตามหากหลังจากนี้ 3 วันฝนตก จะทำแก้บนด้วยถวายหัวหมู ณ จุดดังกล่าว....

ปั้นหุ่น "แม่เมฆ-พ่อหมอก" ขอฝนตามประเพณีโบราณ

.

ปั้นหุ่น "แม่เมฆ-พ่อหมอก" ขอฝนตามประเพณีโบราณ

.

ปั้นหุ่น "แม่เมฆ-พ่อหมอก" ขอฝนตามประเพณีโบราณ

.

ปั้นหุ่น "แม่เมฆ-พ่อหมอก" ขอฝนตามประเพณีโบราณ

.

ปั้นหุ่น "แม่เมฆ-พ่อหมอก" ขอฝนตามประเพณีโบราณ

..

logoline