svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

(คลิปข่าว) สกู๊ป พลิกเชียงดาวเป็นเมืองกุหลาบ แก้ปมหมอกควัน ตอนจบ

11 เมษายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ส่วนหนึ่งของวิกฤตหมอกควันภาคเหนือ ก็คือการเผาไร่ หากจะหาทางออกในระยะยาว ก้คงต้องเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรแบบพืชเชิงเดียวอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไปปลูกอย่างอื่น พืชที่จะปลูกทดแทนได้คืออะไร ไปติดตามจากรายงาน คุณวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย

ถ้าการเผาไร่ข้าวโพดในป่า หรือไร่กลางแจ้งอื่นๆ เป็นสาเหตุของควัน มีพืชอะไรอีกบ้างที่จะปลูกทดแทน และให้ผลตอบแทนได้ไม่ต่างกัน โดยไม่ต้องเผา
คนที่จะให้คำตอบนี้ได้ดีที่สุด เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่อำเภอเชียงดาว พวกเขาเรียกตัวเองว่ากลุ่มม่วนใจ๋ ในช่วงภาวะหมอกควันวิกฤต พวกเขามีบทบาทสำคัญในการขอรับบริจาค หน้ากาก N95 เพื่อแจกจ่ายชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ดับไฟ 
วันนี้เรามีนัดกับ พงศ์พัฒน์ โล่สุวรรณ และชลธิชา ชูจิตร 2 สามีภรรยาหนึ่งในสมาชิกกลุ่มม๋วนใจ ที่มีแนวคิดเปลี่ยนไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นแปลงกุหลาบอินทรีย์ แปรรูป 
บนพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน  พื้นที่จำนวนเพียง 2 งาน ถูกแบ่งเป็นแปลงกุหลาบ 135 ต้น 10,000 บาท ต่อเดือน คือผลตอบแทนที่พวกเขาได้รับ ในเช้าวันที่อากาศขมุกขมัว อย่างเช่นวันนี้ พงศ์พัฒน์ กำลังหักดอกกุหลาบทีละดอก เพื่อนำไปแปรรูปเป็นชา แปลงกุหลาบแปลงนี้ เป็น 1 ใน 3 แปลงทดลอง ของกลุ่มม่วนใจ๋ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ที่มีเครื่อข่ายเป็นชาวบ้าน 500 ครอบครัว ในอำเภอเชียงดาว พวกเขา ตั้งเป้าปีว่า 2563 จะพลิกเชียวดาวเป็นเมืองกุหลาบอินทรีย์
เม็ดเงินมหาศาลจากการแปรรูปกุหลาบ ตกดอกละ 1 บาท 50 สตางค์ แล้วไหนจะเงินจากการต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่จะมาชมความสวยงามของแปลงกุหลาบ อาจ มากพอที่จะสร้างฐานะใหม่ให้คนเชียงดาว 
นี่อาจเป็นคำตอบของการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือในระยะยาว และ มันเป็นคำตอบที่เราหาไม่ได้ จากการเสวนาในห้องสี่เหลี่ยม ที่รวมเอาหน่วยราชการมานั่งถกกัน อย่างเมื่อวันก่อน 

logoline