svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แพทย์ มช.เผยภาพ "โพรงจมูก" คนไข้ที่สูด PM2.5 เป็นเวลานาน

31 มีนาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สภาพอากาศที่ย่ำแย่ในจังหวัดเชียงใหม่ จากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่มาพร้อมกับควันไฟป่า เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงโดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าผลกระทบจะเริ่มหนักขึ้น แต่สวนทางกับท่าทีของภาครัฐที่นิ่งเฉยต่อการแก้ไขปัญหานี้

เชียงใหม่อาจเป็นจุดหมายปลายทางของใครหลายคน แต่เมืองที่เคยมอบความสุขแก่นักท่องเที่ยว วันนี้ต้องอยู่ทนทุกข์อยู่กับฝุ่นพิษ ที่ปกคลุมจนมองไม่เห็นทางออกของปัญหานี้แพทย์วินิจฉัยว่าน้องม่อนภู ปอดอักเสบ หลังจากที่ค่าฝุ่น PM2.5 ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พุ่งไปแตะที่ 400 - 600 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตรเมื่อสัปดาห์ก่อน
เลือดกำเดาไหล ไอ มึนหัว ปวดหัว เป็นไข้ คืออาการที่ทำให้คนเป็นพ่อ เป็นแม่อยู่ไม่สุข และไม่รู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะใช้ชีวิตอยู่ที่นี่อีกต่อไปวันนี้แม้สภาพอากาศจะเริ่มดีขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ครอบครัวเดชาต้องทนอยู่กับภาวะอย่างนีมาเป็นเดือนแล้ว ทางเดียวทำได้คือใส่หน้ากากอนามัย แต่คำถามที่ยังคาใจอยู่ก็คือ ทำไมหน่วยภาครัฐจึงไม่ตื่นตัว และทำกับเหมือนกับว่า ปัญหาไม่รุนแรงน้องม่อนภู อาจเป็นตัวอย่างหนึ่งในจำนวนผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคที่เกิดจากปัญหาหมอกควัน ในจังหวัดเชียงใหม่
ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ พบว่าในช่วง 10 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา กลุ่มโรคทางเดินหายใจทุกชนิด มีผู้ป่วยกว่า 40,383 ราย รองลงมา คือ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด จำนวนผู้ป่วย 29,651 ราย กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ 2,783 ราย และกลุ่มโรคตาอักเสบ 2,373 ราย
แต่จำนวนผู้ป่วยเหล่านี้ กรมควบคุมโรค ยังไม่สามารถยังไม่สามารถสรุปหาความสัมพันธ์ได้ว่าเกิดจากปัญหาหมอกควันหรือไม่
เพื่อหาคำอธิบาย ทีมข่าวของเราจึงเดินทางไปที่ศูนย์สุขภาพปอด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่นี่เราได้พบกับ ศาสตราจารย์นายแพทย์ชายชาญ โพธิรัตน์ เขายืนยันผลวิจัยทางการแพทย์ ว่าฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลให้มีอัตราผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในห้องฉุกเฉิน และ นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น
และจากการเก็บข้อมูลตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงขณะนี้ มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 30% และคาดว่าในช่วงระยะ 3-5 เดือนของสถานการณ์ฝุ่นพิษ จะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวเพิ่มขึ้นถึง 100% จาก โรคภาวะเฉียบพลันของโรคเส้นเลือดในสมองแตก เส้นเลือดในสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว ปอดอักเสบ ถุงลมโป่งพอง หอบหืดกำเริบนี่คือภาพโพรงจมูก ของเคสผู้ป่วยที่สูดดมฝุ่น PM2.5 เป็นเวลานาน ปรากฎเป็นจุดสีดำ และมีเลือดไหลออกมา เพราะฝุ่น PM 2.5 มีความเป็นกรดสูง สามารถกัดกร่อนเนื้อเยื้อผิวได้อย่างที่เห็น

แพทย์ มช.เผยภาพ "โพรงจมูก" คนไข้ที่สูด PM2.5 เป็นเวลานาน

นอกจากศาสตราจารย์นายแพทย์ชายชาญ จะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดแล้ว เขายังเป็นเจ้าของงานวิจัย สาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ด้วย
โดยได้วิเคราะห์หาความเชื่อมโยงและความสัมพันธ กับค่า PM 2.5 ในช่วงปี 2016 - 2018 พบว่าค่า PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ชาวเชียงใหม่จะมีอากาศเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1.6% ใน 1 สัปดาห์ในวันที่เราลงไปทำข่าว ค่าฝุ่นละอองเชียงใหม่อยู่ในระดับ 160 200 ไมรโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร ซึ่งอยู่ในระดับสีแดง คือส่งผลกระทบต่อสุขภาพ มันเป็นวิกฤตสุขภาพท่ามกลางความเงียบ ไม่มีแม้แต่การแจ้งเตือนจากภาครัฐ เห็นแต่เพียงการฉีดน้ำซึ่งแทบไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ก็ทำได้เพียงปรากฎตัวกับสื่อมวลชนในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อตอบคำถามว่าไม่ได้หายไปไหน
ไม่มีใครรู้ว่าปัญหาหมอกควันจะจบลงเมื่อไหร่ พอๆกับที่ไม่มีใครรู้ว่าการเผาในที่โล่ง และไฟป่าจะดับลง
อำเภอเชียงดาวเป็นพื้นที่ ที่หมอกควันวิกฤตที่ที่สุด สาเหตุเกิดจากการเผาเพื่อเตรียมปลูกข้าวโพดในรอบต่อไปของเกษตรกร
อำเภอนี้ปลูกข้าวโพดมากที่สุดรองจากอำเภอแม่แจ่ม และปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งจังหวัดเชียงใหม่นั้นปลูกข้าวโพดอยู่โดยทั่วไปบนพื้นที่นับล้านไร่ เวลาเผาก็มักจะเผาให้ช่วงเวลาไล่เรี่ยกัน
ชาวบ้านให้ข้อมูลว่าเริ่มหันมาปลูกพืชเชิงเดี่ยวเมื่อปี 2540 ในช่วง 10 ปีหลัง เริ่มมีปัญหาหมอกควันที่รุนแรงมากขึ้น
พ่อของเด็กชายวัย 4 ขวบที่เป็นโรคปอดอักเสบ บอกว่าการแก้ปัญหาปัญหาหมอกควันเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายรู้ถึงต้นตอของปัญหาดีอยู่แล้ว แต่ข้อท้าทายก็คือโครงสร้างของอุตสาหกรรมการเกษตรที่ต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ม่อนภูใส่หน้ากากอนามัยมาจะครบเดือนแล้ว และมันอาจกำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็กคนนี้ไปอย่างถาวร
จากเศษซากของผืนป่าที่ถูกไฟไหม้เป็นบริเวณกว้าง ไม่มีใครรู้ว่าต้องใช้กำลังคนและงบประมาณเพื่อดับไฟไปอีกเท่าไหร่
มากไปกว่าการดับไฟ มีปัญหาที่ฝังราก และรอวันระเบิดอีกครั้ง
การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และประกาศวันห้ามเผา ยิ่งจะทำให้สถานการณ์ ซับซ้อนมาขึ้นไปอีก แม่ทัพภาคที่ 3 บอกกับกลุ่มนักข่าว ในไลน์ ว่าเป็นการเผาอย่างมีนัยยะ เพื่อใช้ในการโจมตีทางการเมือง
เมื่อไฟป่ากลายเป็นไฟของความขัดแย้ง ประชาชนคนธรรมดาทั่วไป จะคือเหยือรายแรก ที่จะต้องสังเวยชีวิต ให้กับฝุ่นพิษที่ไม่ได้เป็นคนก่อ อีกเช่นเคย

logoline