svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ผลวิจัยพบ "ปลาดอร์ลี่" มีสารปนเปื้อนสูงเกินค่ามาตรฐาน แม้ทำให้สุกก็อาจยังไม่สลาย

19 มีนาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปลาดอร์ลี่ เป็นปลาที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยมากที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยบริโภคปลาดอลลี่ 30 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แต่งานวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่ามีสารปนเปื้อนสูงเกินค่ามาตรฐานและจะต้มหรือทำให้สุขก็อาจยังไม่สลายสารปนเปื้อนออกไปได้

19 มี.ค.62 - ศ.ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า งานวิจัยผลกระทบและมาตรการรองรับสารอันตรายตกค้าง กรณีศึกษาปลาดอร์ลี่ ชิ้นนี้เกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่มีความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากการรับประทานเนื้อปลาดอร์ลี่ ซึ่งเป็นปลาที่คนไทยนิยมรับประทานมากที่สุด เพราะหาซื้อง่ายและมีราคาถูก โดยประเทศไทยนำเข้าปลาดอลลี่ 11,000 กิโลกรัมต่อปี เฉลี่ยแล้วคนไทยบริโภคปลาดอลลี่ 30 กิโลกรัมต่อปีต่อคน ปลาดอลลี่ก็คือปลาสวาย ที่ส่วนใหญ่มากจากประเทศเวียดนาม โดยเป็นปลาเลี้ยงในกระชัง มีการให้ยาปฏิชีวนะป้องกันไม่ให้ปลาเจ็บป่วย จึงอาจตกค้างมาสู่ผู้บริโภค


"แม้ว่าจะต้ม หรือทอดก็อาจ ยังไม่มั่นใจได้ว่า สารปนเปื้อนที่อยู่ในเนื้อปลา จะสลายไปด้วย" ดร.จงรัก ระบุ
ดร.วรุณศักดิ์ เลี่ยมแหลม อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า ได้สุ่มตรวจสารปนเปื้อนของปลาดอร์ลี่ตามท่าเรือ สนามบิน โมเดิร์นเทรด รวมถึงแหล่งจำหน่ายต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มเออีซี (AEC) โดยจากการสุ่มตรวจ 100 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ ที่ใช้ในกระบวนการเพาะเลี้ยงเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด 25 ตัวอย่าง ซึ่งยาปฎิชีวนะต้องไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หากผู้บริโภครับประทานเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาในร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของไทยที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้ ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิตจากการดื้อยากว่า 38,000 คนต่อปี เจ็บป่วยกว่า 700,000 คนต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี โดยล่าสุดงานวิจัยนี้ได้รับรางวัลวิจัยระดับดี จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปี 2562 ด้วย
ข้อเสนอของงานวิจัยชิ้นนี้ก็คือควรมีการตรวจสอบ สารปนเปื้อนจากต้นทาง ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในกระชังเลี้ยงปลา อย่างเข้มงวด โดยใช้กฎหมายที่อยู่บังคับใช้ให้เกิดผล

logoline