svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

(คลิปข่าว) เด็กทั่วโลกประท้วงโลกร้อน ชูป้าย "เราไม่อยากตาย"

16 มีนาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บรรดาเด็กนักเรียนและเยาวชนทั่วโลกออกมาชุมนุมและเดินขบวนในประเทศของตัวเองเมื่อวาน เพื่อประท้วงเรียกร้องให้บรรดาผู้นำประเทศต่างๆ ลงมือดำเนินการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลก

การประท้วงทั่วโลกนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากนักเคลื่อนไหวรุ่นเยาว์ชาวสวีเดนอายุ 16 ปี ที่ชื่อ เกรต้า ธันเบิร์ก ที่มาปักหลักประท้วงที่หน้ารัฐสภาในเมืองหลวงของประเทศเมื่อปีที่แล้ว เพื่อเรียกร้องให้ผู้นำโลกจัดการแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อน จนเธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโนเบลสันติภาพทางผู้จัดการหวังที่จะให้เรื่องนี้เป็นกระแสใหญ่ โดยผลักดันให้นักเรียนนักศึกษาทั่วโลก ตั้งแต่ทวีปเอเชีย ยุโรป แอฟริกา จนถึงอเมริกาใต้ จัดการชุมนุมมากถึง 1000 งานในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยนักเรียนนักศึกษาจำนวนมากพากันขาดเรียน เพื่อมาร่วมในงานนี้ และถือได้ว่างานนี้เป็นการชุมนุมว่าด้วยเรื่องโลกร้อนครั้งใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีเข้าร่วมงานหลายแสนคน

บรรดานักเรียนและเยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไป ต่างก็พากันชูป้ายที่บอกว่า" ไม่มีแผน บี" คุณทำลายอนาคตของเรา และ "ถ้าพวกผู้ใหญ่ไม่ลงมือทำ เราจะทำเอง"

อย่างที่กรุงซานดิเอโก ของชิลี มีผู้มาร่วมชุมนุมเดินขบวนหลายพันคน มีการเต้นรำและตีกลองเพื่อบอกว่าถึงความต้องการการเปลี่ยนแปลงเพื่อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม พวกเขาบอกว่าประชาชนควรต้องรู้ว่าพวกเขาทำอะไรต่อโลก และเราสามารถทำให้มันดีขึ้นได้ในอนาคต อย่างตอนนี้ พลังงานที่ใช้ในประเทศ เกิอบ 20% มาจากพลังงานหมุนเวียน เพิ่มจากปี 2556 ที่มีแค่ 6%

(คลิปข่าว) เด็กทั่วโลกประท้วงโลกร้อน ชูป้าย "เราไม่อยากตาย"


ด้านผู้ว่าการรัฐวอชิงตัน ในสหรัฐ นายเจย์ อินสลี ที่สมัครเป็นตัวแทนพรรคเดโมแคร็ตเพื่อไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ก็ไปร่วมในการชุมนุมของนักศึกษามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่เข้าร่วมในการระดมกำลังทั่วโลกเพื่อประท้วงความล้มเหลวของรัฐบาลในการแก้ปัญหาโลกร้อน โดยอินสลี ลงสมัครโดยแทบจะชูประเด็นในเรื่องปญหาโลกร้อนเพียงเรื่องเดียว

ที่กรุงวอชิงตันดีซี ก็มีการชุมนุมกันที่หน้าอาคารแคปปิตอล ซึ่งเป็นที่ตั้งของสภาคองเกรสสหรัฐ โดยที่นี่มีป้ายที่เขียนว่า "เราไม่อยากตาย" โดย ส.ส.อิลฮาน โอมาร์ จากพรคเดโมแคร็ต บอกว่า ที่มาร่วมงานก็เพราะไม่ต้องการให้รัฐบาลสหรัฐปัจจุบันไปให้ความสนใจกับผลประโยชน์ของบริษัทห้างร้านมากกว่าเรื่องสุุขภาพของทุกชุมชน และประเทศจำเป็นต้องมีการลงทุนในพลังงานสะอาดสำหรับอนาคต เพื่อปูทางไปสู่เรื่องพลังงานหมุนเวียน 100% และประชาชนจะไม่ยอมให้ซีอีโอ บริษัทพลังงานฟอสซิล มาบงการว่าเราควรปฏิบัติกับโลกอย่างไร

ที่กรุงมาดริด ของสเปน ก็มีการชุมนุมกันที่หน้าศาลากลางเมือง รวมถึงมีการโพสต์แฮชแท็ค #FridaysForFuture เพื่อเรียกร้องให้บรรดาเจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งลงมือดำเนินการ ผู้เข้าร่วมชุมนุมบอกว่า ที่มาก็เพราะว่าไม่สามารถเลื่อนการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนออกไปได้

(คลิปข่าว) เด็กทั่วโลกประท้วงโลกร้อน ชูป้าย "เราไม่อยากตาย"


ที่กรุงลอนดอนก็มีผู้เข้าร่วมงานหลายพันคน เพื่อประท้วงนโยบายของรัฐบาลในเรื่อปัญหาโลกร้อนเช่นเดียวกับที่กรุุงปารีส ซึ่งที่นี่หลายคนโจมตีประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาคง ของฝรั่งเศสที่ชูตัวเองเป็นผู้รับประกันข้อตกลงโลกร้อนกรุงปารีส แต่ถูกนักเคลื่อนไหวโจมตีว่าเป็นมิตรกับฝ่ายธุรกิจมากเกินไป และไม่มีความทะเยอทะยานมากพอในความพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของฝรั่งเศส ขณะที่บรรดานักศึกษาที่ยังคงเข้าเรียนอยู่ ต่างก็เปิดหน้าต่างออกมาให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ที่ออกมาชุมนุมด้วย พวกเด็ก ๆ ที่ออกมาชุมนุมบอกว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนจากบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองและครู

ส่วนที่กรุงบัสเซลส์ของเบลเยี่ยม มีผู้เข้าร่วมงานมากถึง 3 หมื่นคนที่กรุงนิวเดลลี หนึ่งในเมืองที่มีมลภาวะมากที่สุดในโลก มีเด็กมาร่วมในการประท้วง 200 คน พวกเขาบอก ประชาชนจะต้องเลือกว่าต้องการจะนั่งเฉย ๆ ไม่สนใจอะไร หรือว่าทำอะไรบางอย่างให้กับโลก พวกเขาอายุ 16-17 ปี และอีกไม่นานก็จะ 18 ปี ซึ่งจะมีสิทธิเลือกตั้ง เมื่อนั้น พวกเขาจะแสดงให้เห็นว่า ถ้านักการเมืองไม่ให้น้ำและอากาศที่สะอาดกับพวกเขา ก็จะไม่ได้รับคะแนนเสียงจากพวกเขา

ส่วนผู้ประท้วงที่ออสเตรเลียบอกว่า ถ้าไม่มีการทำอะไร แนวปะการังระดับโลกของออสเตรเลียอย่าง Great Barrier Reef ก็อาจจะถูกทำลาย

logoline