svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ดร.กิตติธัช แนะ หยุดความเข้าใจผิด! 250 ส.ว.ไม่ได้ช่วยให้ตั้งรัฐบาลได้

13 มีนาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันเลือกตั้ง 24 มีนาคมนี้แล้ว ล่าสุด ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้านปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith โดยระบุว่า

[หยุดความเข้าใจผิดเรื่อง 250 ส.ว.]
ว่าช่วยตั้ง #รัฐบาลเสียงข้างน้อย ได้
เพราะมันเป็นไปไม่ได้ในเชิงปฏิบัติ
(และกฎหมายก็ไม่ได้ถูกออกแบบมา
เพื่อให้ทำเช่นนั้นได้ตั้งแต่แรกแล้ว)
----------------------
250 ส.ว.ไม่ได้ช่วยให้ตั้งรัฐบาลได้
----------------------

ดร.กิตติธัช แนะ หยุดความเข้าใจผิด! 250 ส.ว.ไม่ได้ช่วยให้ตั้งรัฐบาลได้


- ในทางปฏิบัตินั้น ต่อให้ ส.ว. ช่วยเลือกนายกฯ จาก "เสียงข้างน้อย" มาเป็นนายกฯ ได้ รัฐบาลนั้นก็อยู่ไม่ได้ เพราะเมื่อเปิดสภาและมี #การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส. ทั้งหมดจำนวน 500 คน)
- ถ้านายกฯ ไม่ได้เสียงข้างมากจาก ส.ส. จำนวน 250 เสียงขึ้นไป เท่ากับว่านายกฯ หรือคณะรัฐมนตรีจะถูกถอดออกจากตำแหน่ง และส่งผลให้รัฐบาลชุดนั้นสิ้นสุดลงทันที
- ดังนั้นต่อให้ [นายกฯ เสียงข้างน้อย] จะได้รับคะแนนเสียงโหวตจาก ส.ว. ให้เป็นนายกฯ ได้ แต่ก็ไม่อาจบริหารราชการแผ่นดินได้
- เพราะนอกจากจะไม่ผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาฯ แล้ว รัฐบาลจะไม่สามารถออกกฎหมายใดๆ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานได้เช่นกันเลย หากพวกเขาไม่มีเสียงข้างมากจาก ส.ส.
ส.ว.จึงไม่อาจช่วยให้ตั้งรัฐบาลได้
----------------------
แล้วให้ ส.ว.มีสิทธิโหวตเลือกนายกฯ ทำไม?
----------------------
ถ้าสรุปใจความสำคัญแบบสั้นๆ ก็คือ
- เพื่อให้เป็น #เครื่องมือปลดล็อคความขัดแย้ง ที่อาจเกิดขึ้นได้ในสภาฯ และไม่อาจหาข้อตกลงได้ จนเสียงส่วนใหญ่ในสภาฯ ต้องเสนอชื่อนายกฯ คนนอก ซึ่งเป็นคนกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันได้
แต่ถ้าตอบแบบครบถ้วนใจความ ก็คือ
- ต้องย้อนกลับไปดูวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงความพยายามตีความมาตรา 7 ใน รธน.ปี 2540 เพื่อนำไปสู้การเสนอนายกฯ คนนอก หรือ นายกฯพระราชทาน
----------------------
การตีความมาตรา 7 ใน รธน. ปี 2540
----------------------
- มาตรา 7 ใน รธน. 2540 ระบุถ้าหากเกิดปัญหาที่ไม่มีระบุไว้ใน รธน.ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(เพื่อให้อุดช่องโหว่ของกฎหมาย ที่อาจเกิดขึ้นได้ในวันใดวันหนึ่ง ซึ่งมันมีเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่ากฎหมายของประเทศใดก็ตาม)
- โดยที่มาตรานี้ กินใจความกว้างมาก แต่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนหน้านี้มาตรานี้ถูกนำมาใช้ตีความในเชิงหาทางออกประเทศให้ก้าวข้ามความขัดแย้งระหว่างขั้วการเมือง ด้วยการขอ
#นายกฯพระราชทาน (นายกฯ คนกลาง)
เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงระหว่างประชาชนจนบาดเจ็บล้มตาย หรือเป็นเหตุให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปไม่ได้
................................
- โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอแนวคิดนี้ ในการกล่าวปราศรัยที่สนามหลวง เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2549 ใจความว่า...
"ขอพูดกับคุณทักษิณว่า ขอให้นำคณะรัฐมนตรีกราบบังคมทูลขอพึ่งพระบารมี ขอนายกฯ และรัฐบาลชุดใหม่ โดยไม่เกี่ยวกับข้อเสนอของผู้ชุมนุมและไม่เกี่ยวกับกรณี กฟผ. โดยจะให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญทุกประการ เพื่อให้เข้าตามเงื่อนไขมาตรา 7 เพื่อพิจารณาให้มีนายกฯ และรัฐบาลชุดใหม่มาจากการพระราชทาน เพื่อทำหน้าที่ฟื้นเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขให้รัฐธรรมนูญเดินต่อไปได้"
https://www.isranews.org/isranews-scoop/25640-article7.html
- แต่ครั้งนั้น ในหลวง ร.9 ท่านทรงปฏิเสธที่จะพระราชทานนายกฯ คนนอกโดยอ้างมาตรานี้
https://www.youtube.com/watch?v=j7sv-xEXQDA
(ในช่วงนั้นคนเสื้อแดงเรียกเชิงเสียดสี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ปชป. ว่า "มาร์ค ม.7")
----------------------
มาตรา 272 เครื่องมือปลดล็อคความขัดแย้ง
----------------------
- เมื่อมาถึง รธน.ปี 2560 มาตราดังกล่าวถูกโยกมาอยู่ในมาตรา 5 แต่เพื่อไม่ให้เกิดการตีความในวงกว้างและถูกนำมาใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
- รธน.ปี 2560 จึงออกแบบบทเฉพาะกาลไว้ในมาตรา 272 ว่า ถ้าเกิดมีความไม่ลงรอยในสภาผู้แทนราษฎร และแคนดิเดตนายกฯ ที่พรรคการเมืองเสนอมานั้น ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ และไม่อาจหาข้อยุติได้
กฎหมายเปิดทางแก้ตามขั้นตอนดังนี้...
1. สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา คือ ส.ส.และ ส.ว.รวมกันให้ได้ 376 เสียง สามารถ [ยื่นมติ] ให้มีการโหวตตัดสินว่าจะเสนอชื่อนายกฯ คนนอกที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อแคดิเดตของพรรคการเมืองต่างๆ หรือไม่
2. ขั้นตอนต่อมาคือ มติดังกล่าวต้องได้รับคะแนนเสียงมากกว่า 2 ใน 3 ของรัฐสภา (รวม ส.ส.และ ส.ว.) หรือ 501 เสียง ซึ่งแปลว่าต่อให้ได้ 250 เสียงจาก ส.ว. ก็จำเป็นต้องมี 251 เสียงจาก ส.ส.เช่นกัน ถึงจะผ่านมตินี้และมีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ คนนอกได้
3. ขั้นตอนสุดท้ายเมื่อเสนอชื่อนายกฯ คนนอกมาแล้ว ก็ต้องให้ทั้งสองสภาฯ โหวตเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง ถึงจะได้ข้อสรุปว่าใครจะเป็นนายกฯ----------------------
นายกฯ ต้องมีเสียงข้างมากจาก ส.ส. เท่านั้น
----------------------
- สุดท้ายแล้ว ถ้านายกฯ ไม่ว่าจะ "คนใน" หรือ "คนนอก" รวมถึงคณะรัฐมนตรีที่จะจัดตั้งนั้น ไม่มี [เสียงข้างมาก] จาก ส.ส. 251 เสียงขึ้นไปคอยสนับสนุน ก็ย่อมโดนโหวตอภิปรายไม่ไว้วางใจตั้งแต่เปิดสภาฯ และไม่อาจผ่านกฎหมายใดๆ ได้สักฉบับ
- ดังนั้นการตั้งนายกฯ โดยมีแต่เสียงข้างน้อย (ใช้คะแนนส.ว.ช่วยเลือกมานั้น) จึงทำไม่ได้ในเชิงปฏิบัติ ด้วยประการทั้งปวง!!!
----------------------

ดร.กิตติธัช แนะ หยุดความเข้าใจผิด! 250 ส.ว.ไม่ได้ช่วยให้ตั้งรัฐบาลได้


บทเสริม: เจตนารมณ์ของ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ----------------------
- ที่มาของการให้ ส.ว.มีสิทธิเลือกนายกฯ ได้ในช่วง 5 ปีแรกนั้น มาจาก #คำถามพ่วง ในการทำประชามติรับ รธน.ปี 2560 ว่า...
- เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านและการปฏิรูประเทศมีความราบรื่น ไม่มีความขัดแย้งหรือติดขัดในเชิงการเมืองนั้น ประชาชนจะให้ ส.ว. มีสิทธิโหวตเลือกนายกฯ (ไม่ว่าในรายชื่อหรือคนนอกก็ตาม) ได้หรือไม่ ?
ซึ่งผลประชามติรับ รธน.ปี 2560 อยู่ที่
- 15.56 ล้านเสียง เห็นชอบ (61%)
- 9.78 ล้านเสียง ไม่เห็นชอบ (39%)
ส่วนผลคำถามพ่วงเรื่อง ส.ว.ร่วมโหวตนายกฯ
- 13.96 ล้านเสียง เห็นชอบ (58%)
- 10.07 ล้านเสียง ไม่เห็นชอบ (42%)
..........................
สาเหตุที่ต้องเสนอคำถามพ่วงเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อให้เกิดความราบลื่นในช่วงการปฏิรูปประเทศ เผื่อกรณีว่านักการเมืองฝ่ายต่างๆ ตีกันจนเละเทะ จนประเทศไปต่อไม่ได้
- ครั้นกว่าจะมารอเปิดสภาฯ และรอให้มีเสียงครึ่งหนึ่งจากสองสภาฯ เพื่อตั้งมติหานายกฯ คนนอก แล้วรอโหวตให้ได้ 500 เสียงจากสองสภารวมกัน ก็อาจจะทำให้การทำงานไม่ราบลื่น
- ผู้ร่าง รธน. จึงเปิดช่องให้มีการเสนอชื่อนายกฯ คนนอกที่ได้รับการโหวตจากทั้ง ส.ส.และ ส.ว. ได้ในช่วง 5 ปีแรกนี้ และหลังจาก 5 ปีนี้ก็ใช้มาตรา 272 ตามปกติ
----------------------
สรุป
----------------------
*** สุดท้ายนี้...ยังไงนายกฯ ก็ต้องได้เสียง ส.ส.มากกว่าครึ่งหนึ่ง ถึงจะตั้งรัฐบาลและบริหารประเทศได้ครับ
ดังนั้นเลิกคิดได้เลยว่า จะมีนายกฯ เสียงข้างน้อยที่อาศัย ส.ว. 250 เสียง ช่วยให้ตั้งรัฐบาลและบริหารประเทศได้ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ในเชิงปฏิบัติด้วยประการทั้งปวง!!!
และผู้ร่างกฎหมาย ก็ไม่ได้จะให้ใช้คะแนนเสียง ส.ว. มาช่วยให้เกิดนายกฯ เสียงข้างน้อยเพื่อจัดตั้งรัฐบาลได้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
*** รัฐบาลจะตั้งได้และกฎหมายต่างๆ จะผ่านสภาฯ ได้ต้องได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส. 251 เสียงขึ้นไป) เท่านั้น!!!
*** ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายการเมืองพรรคต่างๆ ก็รู้ในหลักการข้อนี้ดี แต่เพราะพวกเขาอาศัย ความไม่เข้าใจระบบประชาธิปไตยและระบบรัฐสภาฯ ของคนไทยจำนวนมาก
จึงนำประเด็นนี้มาโจมตีอยู่ตลอดเวลา
(ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องน่าตลกปนเศร้า เพราะเราอยากเลือกตั้งกันจนตัวสั่น แต่เรายังไม่รู้เลยว่าระบบรัฐสภาและรัฐบาลทำงานอย่างไร)

ดร.กิตติธัช แนะ หยุดความเข้าใจผิด! 250 ส.ว.ไม่ได้ช่วยให้ตั้งรัฐบาลได้

.

ดร.กิตติธัช แนะ หยุดความเข้าใจผิด! 250 ส.ว.ไม่ได้ช่วยให้ตั้งรัฐบาลได้

.

logoline