svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เตือนพฤติกรรมเลียนแบบฆ่าตัวตายแนวโน้มสูงขึ้น

09 มีนาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ช่วงหลายวันที่ผ่านมามีข่าวพฤติกรรมการฆ่าตัวตายที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก ขณะที่ทางกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยสถิติการฆ่าตัวตายปี 2561สูงถึง 4,137 ราย และยังระบุถึงแนวโน้มการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี สาเหตุเกิดจากอะไร ไปติดตามจากรายงาน ชุตินันท์ เพชรากานต์

ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า มีข่าวนักศึกษาก่อเหตุฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดตึก จำนวนถึง 6 รายรวมไปถึงการฆ่าตัวตายแบบรมควันในรถอีกจำนวนหลายราย สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงปัญหาสังคมที่หลายคนตั้งคำถามตามมาว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายในแบบเดียวกันเหมือนพฤติกรรมเลียนแบบโฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข อธิบายถึงสาเหตุการฆ่าตัวตายว่าเกิดจากมีเหตุการณ์บางออย่างที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความเครียด เช่น ปัญหา ด้านการเรียน ความรัก ครอบครัว และยังมีปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังอย่าง ภาวะทางสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้าที่พบว่า คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จะมีโอกาสฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20-25%
กรมสุขภาพจิต เผยสถิติการฆ่าตัวตายปี2561 พบว่า มีจำนวนถึง 4,137 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มการฆ่าตัวตายที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี ซึ่งเป็นเหมือนกันทั่วโลก แต่ช่วงสถิติการฆ่าตัวตายจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษจะอยู่ในช่วงเดือน มีนาคม- พฤษภาคมของทุกปี สาเหตุมาจาก อากาศที่ร้อน ช่วงเทศกาลสอบของเด็กนักเรียน ขณะที่สถิติผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในปี2561 พบผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงถึง1.5ล้านคน
โฆษกกรมสุขภาพจิต บอกถึงวิธีการสังเกตและป้องกันตัวเองว่า ประชาชนทุกคนต้องสำรวจอารมณ์ของตัวเองว่าเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือไม่ เช่น มีความเบื่อหน่าย ซึมเศร้า ท้อแท้ อยากตาย รวมไปถึงสำรวจพฤติกรรมคนรอบข้างเช่นเดียวกัน ซึ่งการแก้ปัญหาควรปรึกษาคนรอบข้าง และไปพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี
การเกิดพฤติกรรมเลียนแบบของการฆ่าตัวตายนั้น เกิดจากสื่อที่นำเสนอวิธีการฆ่าตัวตายที่ละเอียดเกินไป ทำให้ประชาชนบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่แล้วเกิดการทำตาม ดังนั้นสื่อควรนำเสนอวิธีป้องกัน การรักษา ที่ถูกต้องมากกว่าเพื่อช่วยกันป้องกันการฆ่าตัวตายที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

logoline