svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

คมนาคมเร่งเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐาน 21 โครงการ มูลค่า 1.29 ล้านล้าน

04 มีนาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีเปิดงานจัดนิทรรศการและการเสวนาสร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี และส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านการคมนาคมขนส่งและความปลอดภัย ประจำปี 2562 ครั้งที่ 1 ภายใต้ชื่อ "ONE Transport for All 2019 : Mobility Connect Technology" พร้อมปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "คมนาคมทุกโหมด ตอบโจทย์ประเทศไทย" ในวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2562 เวลา 10.00 น. ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยมี นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีดรมทางหลวงชนบท รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานฯ มากกว่า 400 คน

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และการสร้างการรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของทุกกระทรวงและทุกหน่วยงาน และให้ถือเป็นตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหัวหน้าส่วนราชการทุกแห่ง โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของประเทศในทุกรูปแบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางของประชาชนและการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ประกอบกับคณะรัฐมนตรีเห็นชอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแปลงเป็นแผนงาน โครงการ แผนปฏิบัติการและกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ "ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง" ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคม ให้มีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ


กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง ของประเทศ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 2580) และยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 2565 เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการระบบการขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพการเป็นประตูการค้าหลักและเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศ อำนวยความปลอดภัย สะดวก รวดเร็วในการเดินทาง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีกรอบการดำเนินงานประกอบด้วย การบูรณาการระบบคมนาคมขนส่ง (Integrated Transport Systems) ให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบการขนส่ง การบริการภาคคมนาคมขนส่ง (Transport Services) ให้มีมาตรฐานสากล และสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและปฏิรูปองค์กร (Regulations and Institution) การพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้พัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง (Technology and Innovation)


การจัดนิทรรศการและการเสวนาสร้างการรับรู้ฯ ในครั้งนี้ เป็นการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน ภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ "คมนาคมทุกโหมด ตอบโจทย์ประเทศไทย" โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำเสนอโครงการที่กระทรวงคมนาคมเร่งรัดเพื่อให้สามารถเดินหน้าได้ภายในเดือนมีนาคม 2562 รวม 21 โครงการ ได้แก่ รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น หนองคาย ช่วงชุมทางถนนจิระ อุบลราชธานี ช่วงปากน้ำโพ เด่นชัย ช่วงเด่นชัย เชียงใหม่ ช่วงชุมพร สุราษฎร์ธานี ช่วงสุราษฎร์ธานี สงขลา ช่วงหาดใหญ่ ปาดังเบซาร์ และช่วงบ้านไผ่ นครพนม รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ นครราชสีมา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ) รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ หัวหิน รถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม บางขุนนนท์ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต ม.ธรรมศาสตร์ และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน ศาลายา และตลิ่งชัน ศิริราช ทางถนน ก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองพระราม 3 ดาวคะนอง วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ทางน้ำ ขยายท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ปรับปรุงท่าเรือกรุงเทพฯ (คลองเตย) และปรับปรุงท่าเรือระนอง ทางอากาศ จัดหาฝูงบินใหม่ จำนวน 38 ลำ โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน และชิ้นส่วนอากาศยาน (MRO) โครงการก่อสร้างอาคารแซทเทิลไลท์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และขยายท่าอากาศยานเชียงใหม่ รวมมูลค่าการลงทุนกว่า 1.29 ล้านล้านบาท รวมถึงการนำเสนอภาพรวมยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 2565) วงเงินลงทุนรวม 1,714,241 ล้านบาท ซึ่งโครงการส่วนใหญ่มีการดำเนินการที่เห็นเป็นรูปธรรมและบางโครงการใกล้แล้วเสร็จ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน โคราช ที่จะสามารถเปิดให้บริการได้ในปีนี้ ท่าอากาศยานเบตง จะเปิดให้บริการได้ปี 2563 ส่วนระยะที่ 2 จะเป็นโครงการที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2566 2570 วงเงินลงทุนรวม 636,863 ล้านบาท ระยะที่ 3 ดำเนินการในปี พ.ศ. 2571 2575 วงเงินลงทุนรวม 418,121 ล้านบาท และระยะที่ 4 ดำเนินการในปี พ.ศ. 2576 2580 วงเงินลงทุนรวม 318,436 ล้านบาท


ทั้งนี้ การจัดงานนิทรรศการและเสวนาการสร้างการรับรู้ฯ "ONE Transport for All 2019 : Mobility Connect Technology" จะจัดขึ้นอีก 3 ครั้ง ได้แก่ ภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดนครราชสีมา และภาคใต้ ณ จังหวัดกระบี่

logoline