svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

พบ​ "ฉลามวาฬ"​ เกยตื้นบริเวณอ่าวพังกาใหญ่​ คาดผลจากสารพิษไมโครพลาสติก

06 กุมภาพันธ์ 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบซากฉลามวาฬ ตายเกยตื้นบริเวณอ่าวพังกาใหญ่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จังหวัดสตูล เข้าตรวจสอบ ไม่พบร่องรอยบาดแผล

วานนี้ 5 ก.พ.62 - มีรายงานการพบซากฉลามวาฬเข้ามาเกยตื้นบริเวณอ่าวพังกาใหญ่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จังหวัดสตูล เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเข้าตรวจสอบ ไม่พบร่องรอยบาดแผล วัดความยาวได้ 8.80 เมตร รอบลำตัวยาว 4 เมตร เป็นฉลามวาฬเพศผู้ ทางเจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ เพื่อพิสูจน์ DNA ต่อไป สำหรับซากได้ฝังกลบในพื้นที่ เพื่อรอนำกระดูกมาศึกษาทางวิชาการ

พบ​ "ฉลามวาฬ"​ เกยตื้นบริเวณอ่าวพังกาใหญ่​ คาดผลจากสารพิษไมโครพลาสติก


ฉลามวาฬเป็นสัตว์ทะเลหายากที่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย และเป็นตัวดึงดูดสำหรับการท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญ จึงนับเป็นความสูญเสียที่น่าเสียดาย งานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ พบว่าสัตว์ทะเลหายากขนาดใหญ่ที่หากินแพลงตอนและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กโดยการกรองอาหารจากน้ำทะเล เช่นวาฬและฉลามวาฬ กำลังถูกคุกคามด้วยไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำทะเล

ฉลามวาฬ (Rhincodon typus) เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จัดเป็นปลากระดูกอ่อนในวงศ์ Elasmobranch โตเต็มที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 เมตร แม้จะเป็นสมาชิกปลาฉลามและมีฟันซี่เล็กๆ เท่าหัวไม้ขีดกว่า 3,000 ซี่ แต่ฉลามวาฬหากินด้วยการกรองแพลงก์ตอน และสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ เป็นอาหาร ด้วยการอ้าปากกรองน้ำทะเลราวๆ 5,000 ลิตรต่อชั่วโมงผ่านซี่กรอง (gill raker)

พบ​ "ฉลามวาฬ"​ เกยตื้นบริเวณอ่าวพังกาใหญ่​ คาดผลจากสารพิษไมโครพลาสติก



ในปัจจุบันที่มีขยะพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในทะเลเป็นจำนวนมาก สัตว์ที่หากินด้วยการกรองน้ำทะเลเป็นจำนวนมากอย่างฉลามวาฬจึงมีโอกาสหลงกินพลาสติกเข้าไปด้วย เคยมีการพบซากฉลามวาฬที่คลองด่าน สมุทรปราการ ซึ่งจาการผ่าซากพบว่า สาเหตุการตายส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการกลืนหลอดพลาสติกเข้าไป

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารพิษที่สะสมอยู่ในไมโครพลาสติกส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางชีวภาพ และส่งผลเสียต่อชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกลุ่มสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้ช้า และมีอัตราการตกลูกต่ำอยู่แล้วอย่างฉลามวาฬ

พบ​ "ฉลามวาฬ"​ เกยตื้นบริเวณอ่าวพังกาใหญ่​ คาดผลจากสารพิษไมโครพลาสติก


หากอยากให้ฉลามวาฬอยู่คู่ทะเลไทย นอกจากมาตรการอนุรักษ์ในระยะยาวที่แก้ปัญหาการประมง และการท่องเที่ยวทางทะเลที่ขาดความรับผิดชอบแล้ว เราทุกคนช่วยอนุรักษ์ฉลามวาฬได้ด้วยการลดการสร้างขยะพลาสติก และเรียกร้องให้มีการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเขตท่องเที่ยวชายฝั่งทุกแห่ง

ขอขอบคุณภาพถ่ายโดย นายอนิรุทธ์ หมาดหมีน กรมอุทยานฯข้อมูลโดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

logoline