svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ซากปลาตายเกลื่อนบนปะการัง

31 มกราคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เพจจิตอาสา "Go-Eco Phuket" ร้องรัฐบาลเร่งแก้ปัญหา หลังพบซากปลาโรนันและปลากระเบนไฟฟ้า นอนตายเกลื่อนบนปะการัง เกาะราชาน้อย คาดติดอวนเรือประมงก่อนทิ้งลงทะเล

เมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา (31 ม.ค.62) เพจเฟสบุ๊ค ชื่อ "จิตอาสา Go-Eco Phuket" ได้โพสต์ภาพนิ่งและวีดิโอคลิปความยาวประมาณ 0.49 วินาที พร้อมข้อความระบุว่า "#พบศพฉลามนอนตายเกลื่อนที่ราชาน้อยภูเก็ต เที่ยงของวันนี้ (31/1/62) เครือข่ายจิตอาสา Go Eco Phuket ได้รายงานเข้ามาว่า ในขณะที่พานักท่องเที่ยวลงไปดำน้ำที่อ่าวไม้เจ็ด ที่ความลึกประมาณ 11 เมตร ได้พบปลาโรนันหัวใสและปลากระเบนไฟฟ้าจุดเข้ม นอนตายกันอยู่เกลื่อนกลาดบนปะการัง ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน

ซากปลาตายเกลื่อนบนปะการัง


จึงได้นำขึ้นมาบนเรือเพื่อถ่ายรูปไว้เป็นข้อมูล โดยพบว่าปลาพวกนี้ยังเป็นลูกปลา สันนิษฐานว่าน่าจะไปติดอวนของชาวประมง พอเห็นว่าเป็นลูกปลาใช้อะไรไม่ได้ เพราะไม่นิยมเอามากิน จึงโยนทิ้งลงในบริเวณดังกล่าว เนื่องจากใกล้จุดที่พบศพปลาดังกล่าว นักดำน้ำยังได้พบกับอวนที่ถูกตัดทิ้งด้วย ถือว่าการพบศพลูกปลาทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นการสูญเสียทรัพยากรสัตว์น้ำที่หายากของประเทศไทยเราเลย
อีกอย่างปลาทั้ง 2 ชนิดนี้ เราไม่เคยเจอที่ภูเก็ตมานานนับปีแล้ว ถ้าอยากจะเจอก็ต้องไปดำดูที่สิมิลัน หรือไม่ก็ เกาะโลซินปัตตานี #ฝากรัฐบาลนี้และรัฐบาลหน้า ซึ่งไม่รู้จะฝากได้รึป่าว!? ถ้าหากการท่องเที่ยวก็จะขาย การประมงก็จะทำ คงต้องมีอะไรฉิบหายกันไปข้างหนึ่งแน่!! เอาซักอย่างเอาซักทางนะครับ เราจะเป็นการท่องเที่ยวระดับโลก!? หรือจะทำประมงส่งออกระดับโลก!? ที่มัลดีฟเขาเลือกการท่องเที่ยวระดับโลก จึงไม่มีการทำประมง ปลาของเขาจึงอุดมสมบูรณ์ ไม่ได้อุดมสมบูรณ์ธรรมดานะ ของเขาอุดมสมบูรณ์แบบยั่งยืนด้วย!!

ซากปลาตายเกลื่อนบนปะการัง

สำหรับปลาโรนันหัวใส หรือปลาโรนันจิ้งจก จากข้อมูลของเวปไซด์ วิกีพีเดีย ระบุว่า เป็นสกุลของปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาโรนัน ที่อยู่ในสกุลRhinobatos (ไรโนบาตอส) จัดเป็นปลาโรนันขนาดเล็ก ในประเทศไทยพบมากแถบทะเลอันดามัน เรือประมงจะสามารถจับได้ครั้งละ45ตัว ในการออกเรือแต่ละครั้ง เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีขายกันตามตลาดปลาทะเลทั่วไป

ซากปลาตายเกลื่อนบนปะการัง


ส่วนปลากระเบนไฟฟ้าในภาษาไทยมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปลาเสียว" โดยชนิดที่พบได้ในน่านน้ำไทย เช่น ปลากระเบนไฟฟ้าหลังเรียบ (Temera hardwickii),ปลากระเบนไฟฟ้าสีน้ำตาล (Narcine brunnea)ซึ่งปลากระเบนไฟฟ้ามีลำตัวแบนค่อนข้างกลม มีอวัยวะผลิตกระแสไฟฟ้า ประกอบด้วยเซลล์รูปหกเหลี่ยม เรียงซ้อนกันเป็นกลุ่มตั้งอยู่ทางด้านข้างของตา ถัดไปถึงครีบอก ภายในมีสารเป็นเมือกคล้ายวุ้น ทำหน้าที่เป็นตัวผลิตกระแสไฟฟ้าจะวิ่งจากด้านล่างขึ้นไปด้านบนภายใต้การควบคุมของสมอง การปล่อยกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นหรือถูกรบกวน ตามปกติใช้เพื่อล่าเหยื่อหรือทำร้ายศัตรู หากคนไปเหยียบปลากระเบนไฟฟ้าที่หมกตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ กระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมามักมีกำลังไฟประมาณ 40-100 โวลต์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการชา และอาจจมน้ำได้

ซากปลาตายเกลื่อนบนปะการัง

.

ซากปลาตายเกลื่อนบนปะการัง

logoline