svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ราคาน้ำมัน WTI ดิ่ง 7.1% และเบรนท์ร่วง 6.6% เมื่อวันอังคาร

14 พฤศจิกายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ราคาน้ำมัน WTI ดิ่ง 7.1% และเบรนท์ร่วง 6.6% เมื่อวันอังคาร หลังโอเปกลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันของโลก ขณะที่ทรัมป์กดดันซาอุดิอาระเบียเพิ่มการผลิตน้ำมันเพื่อประคอบราคาน้ำมันในระดับต่ำต่อไป

ทิศทางราคาน้ำมันในตลาดล่วงหน้าสหรัฐปิดเมื่อวันอังคาร ดิ่งตัวลง 4.24 ดอลลาร์ มาปิดที่ 55.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และยังเป็นการดิ่งลงถึง 30% จากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคมปีนี้ ส่วนเบรนท์ส่งมอบเดือนมกราคม ดิ่งลง 4.65 ดอลลาร์ ปิดที่ 65.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเป็นการดิ่งลง 25% จากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม

ขณะที่สื่อสหรัฐรายงานประธานาธิบดีทรัมป์ จะประชุมร่วมกับทีมงานด้านการค้าในวันนี้เพื่อหารือถึงการเก็บภาษคีรถนำเข้า หลังจากที่ได้มีการสอบสวนของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่เกี่ยวกับประเด็นด้านการคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ


1. สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นการบ่งชี้ทิศทางราคาน้ำมันในตลาดล่วงหน้าสหรัฐปิดเมื่อวันอังคาร ดิ่งตัวลง 7.1% หรือ 4.24 ดอลลาร์ มาปิดที่ 55.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2017 และเป็นการร่วงลงภายในวันเดียวรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 3 ปี นอกจากนี้ ยังเป็นการดิ่งลงถึง 30% จากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคมปีนี้

ในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ ส่งมอบเดือนมกราคม ดิ่งลง 4.65 ดอลลาร์ หรือ 6.6% ปิดที่ 65.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเป็นการดิ่งลง 25% จากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม



2. ในการทรุดตัวของราคาย้ำมันดิบโลก มาจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันในปี 2019 โดยโอเปกคาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันโลกในปีหน้าจะขยายตัวเพียง 1.29 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการปรับลดอุปสงค์น้ำมันเดือนที่ 4 ติดต่อกันส่วนประเทศนอกกลุ่มโอเปกจะเพิ่มขึ้น 2.23 ล้านบาร์เรลต่อวัน

นอกจากนี้ ซาอุดิอาระเบียในฐานะผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดได้ประกาศที่จะลดกำลังผลิตน้ำมันวันละ 1 ล้านบาร์เรลในการประชุมของกลุ่มโอเปกเดือนธันวาคม ท่ามกลางแรงกดดันจากการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไม่ต้องการให้ซาอุดิอาระเบียและกลุ่มโอเปกไม่ให้ลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ



3. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกของกองทึนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ชี้ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกในปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 3.7% ไม่ใช่ระดับคาดการณ์ไว้เดิมที่ 4.2% และขยายตัวปี 2019 อยู่ที่ 3.7% จากที่คาดการณ์ไว้ 3.8%

ทั้งนี้ IMF หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโลกมาจากสถานการณ์ความผันผวนในสหรัฐ ซึ่งดูเหมือนว่า จะเข้าสู่ภาวะถดถอย รวมทั้งได้ระบุถึงปัจจัยลบที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญอยู่ ทั้งแรงกดดันที่ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ลดต่ำลง ตลาดสินเชื่อที่ตึงตัวมากขึ้น และปัญหาข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งไม่รู้ว่าจะยีดเยื้อต่อไปอีกนานเท่าไร



4. สื่อสหรัฐรายงานประธานาธิบดีทรัมป์ จะประชุมร่วมกับทีมงานด้านการค้าในวันนี้เพื่อหารือถึงการเก็บภาษคีรถนำเข้า หลังจากที่ได้มีการสอบสวนของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่เกี่ยวกับประเด็นด้านการคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ

ซึ่งหากกระทรวงพาณิชย์ชี้ว่า รถและชิ้นส่วนนำเข้าทำให้ความมั่นคงของสหรัฐตกอยู่ในภาวะเสี่ยง ก็จะมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าตามมาตรา 232 ของกฎหมาย Trade Expansion Act เพื่อการจัดเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมกับประเทศคู่ค้าของสหรัฐโดยผู้นำสหรัฐได้ขู่ว่าจะเก็บภาษีรถนำเข้า 25% ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออกรถไปยังตลาดสหรัฐ ทั้งสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเม็กซิโก



5. ลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในคณะประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชี้ว่า การใช้เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอุตสาหกรรมธนาคารนั้นอาจให้ประโยชน์ แต่ก็จะสร้างความท้าทายกับผู้บริโภค นายธนาคาร และผู้กำกับดูแล โดยที่เทคโนโลยี AI อาจเข้ามาช่วยในเรื่องการคำนวณเครดิต ลดค่าใช้จ่ายและประเมินความเสี่ยงได้ถูกต้องยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเร่งขั้นตอนทำงานให้เร็วขึ้นสำหรับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้กับผู้บริโภคที่อยู่ชายขอบของระบบเครดิตในปัจจุบันมีสถานภาพที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี AI ไม่ได้เป็นกลาง เพราะแบบจำลองสะท้อนถึงเป้าหมายและทัศนคติของผู้พัฒนาเทคโนโลยีจึงอาจมี ความลำเอียงในสังคมที่สร้างเครื่องมือขึ้นมาเพื่อการปรับโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม การบริหารความเสี่ยง การทดสอบภาวะวิกฤติ และการวิเคราะห์ผลกระทบต่อตลาด

logoline