svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ไทย-อินโดฯ-ออสเตรเลีย" ร่วมตัดเส้นทางเงินหนุนก่อการร้ายสากล

07 พฤศจิกายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไทย-อินโดนีเซีย-ออสเตรเลีย ประชุมสุดยอดด้านการต่อต้านการเงินที่ใช้สนับสนุนทางการเงินแก่ขบวนการการก่อการร้ายระดับภูมิภาค เร่งหาทางคุมเส้นทางโอนเงินผ่านเงินดิจิทัล

การประชุมสุดยอดด้านการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายระดับภูมิภาค ครั้งที่ 4 (The 4th Annual Counter-Terrorism Financing Summit) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แห่งเครือรัฐออสเตรเลีย ปีเตอร์ เครก ดัดตัน และ รัฐมนตรีประสานงานด้านการเมือง กฎหมาย และความมั่นคง แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พลเอก วิรันโต เข้าร่วม โดยรักษาการเลขาธิการปปง.พล.ต.ต.ปรีชา เจริญสหายานนท์ กล่าวถึงความจำเป็นในการจัดงาน เพื่อส่งเสริมความร่วมระหว่างอาเซียนกับเอเชียแปซิฟิคและพันธมิตรทั่วโลก เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้ายผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลหน่วยงานข่าวกรองทางการเงิน และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ประการสุดท้ายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนในการตรวจสอบและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้าย


ขณะที่ รมว.มหาดไทยออสเตรเลีย ปีเตอร์ ดัตตัน กล่าวว่า ปี 2014 ออสเตรเลียถูกโจมตีจากผู้ก่อการร้าย 6 ครั้ง และจากการวางแผนเป็นระบบจนสามารถ ตั้งข้อหา 90 คน เปรียบเทียบกับ 2001 มีการจับกุมผู้ก่อการร้าย 55 คนในปี 2006 ตั้งข้อหาได้ 5 คน จะเห็นว่าองค์กรก่อการร้ายใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ออสเตรเลียจึงมีกฎหมายให้เข้ารหัสเพื่อเข้าถึงผู้ก่อการร้าย ทั้งไทย ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย จะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อรับมืออาชญากรรมก่อการร้าย ทั้งการลงนามความร่วมมือรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายแลกเปลี่ยนการปฏิบัติงานร่มกัน ด้านข่าวกรอง จากการแบ่งปันข้อมูลต่อต้านการก่อการร้าย เราได้ร่างโครงข่ายก่อการร้าย จนเข้าใจเรื่องเงินสนบสนุนก่อการร้าย แต่ก็ยังจำเป็นต้องประสานงานกัน ปัจจุบันออสเตรเลีย มีเจ้าหน้าที่นในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ในจีน เรามีหลักสูตรวิเคราะห์ สืบสวน ต่อต้านการให้เงินสนับสนุนการก่อการร้ายโดยรัฐบาลออสเตรเลียจะสนับสนุนต่อเนื่อง 2 ปี เมื่อจบหลักสูตรเชื่อมั่นว่าจะได้คนที่มีองค์ความรู้ใหม่ๆ นำมาใช้ต่อต้านการก่อการร้ายจนประสบความสำเร็จ


ด้านรัฐมนตรีประสานงานการเมือง กฎหมายและความมั่นคง อินโดนีเซีย พล.อ.วิรันโต บอกว่า การค้ามุษย์และการทุจริตเป็นส่วนหนึ่งของการนำเงินมาสนับสนุนก่อการร้าย ดังนั้น อินโดนีเซียจึงนำเสนอแผนโครงการปีหน้า เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลสนับสนุนก่อการร้าย การฟอกเงินโดยเงินดิจิทัล สำหรับแผนงานต่างๆ เป็นการนำเอาแบบอย่างความสำเร็จจากทั่วโลกสร้างความร่วมมือพหุภาคี นำเสนอกลไก ป้องกันภัยคุกคามจากไอซิส และภัยคุกคามใหม่ๆ หวังว่าการประชุมที่กรุงเทพฯ จะนำเสนอแผนงานข่าวกรองด้านการเงิน การลักลอบนำคนข้ามพรมแดนและการฟอกเงิน


รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม กล่าวว่า ประเทศไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับเมื่อ 31 ธันวาคม 2559 และพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 มีผลใช้บังคับเมื่อ 13 พฤษภาคม 2561 เพื่อควบคุมมิให้เงินดิจิทัลถูกนำไปใช้ในทางไม่ชอบ และแม้มาตรการปราบปรามการก่อการร้ายจะได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่เราจะอยู่ในสถานะที่เป็นเพียงผู้วิ่งไล่ตามอาชญากร ดังนั้น ถึงเวลาที่เราจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถูกยับยั้ง มาเป็นผู้ยับยั้ง ไม่ให้อาชญากรและผู้ก่อการร้ายกระทำความผิดได้สำเร็จ และเพื่อให้สามารถตรวจจับและก้าวไปดักหน้าอาชญากรให้ได้ ซึ่งปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จได้คือ การพัฒนานวัตกรรมใหม่ การนำเทคโนโลยี หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ และการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่ดี มาช่วยให้การป้องกันและปราบปรามได้ผลยิ่งขึ้น

เราต้องพร้อมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องมีการลงมือทำอย่างจริงจัง หากไม่ลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นแล้ว ก็คงเป็นการยากที่จะปรับเปลี่ยนสถานะจากผู้ถูกยับยั้งมาเป็นผู้ยับยั้ง

logoline