svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

(คลิปข่าว) ก่อนจะเป็นเพลง "ประเทศกูมี"

27 ตุลาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

(ชมคลิปเต็มด้านล่าง) ก่อนจะมาเป็นเพลง 'ประเทศกูมี' ที่ฮอตฮิตในโลกออนไลน์ จนมีผู้เข้าชมในยูทูปแล้วกว่า 5 ล้านคน เราจะพาย้อนไปดูจุดเริ่มต้นของเพลงนี้ รวมถึงเเนวคิดในการทำเพลงออกมา ติดตามได้จากรายงาน

จุดเริ่มต้นของ MV เพลง 'ประเทศกูมี' มาจากวงแร็พใต้ดิน Liberate p กับแนวคิดที่ว่า "เพลงแร็พ" สามารถทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของสังคม และเปรียบได้กับ "เพลงเพื่อชีวิต" ของยุคสมัยนี้Liberate p วงแร็พที่วิพากย์วิจารณ์ เสียดสีการเมืองและสังคม เพื่อต้องการสะท้อนปัญหาว่าในสังคมมีปัญหาเหล่านี้อยู่จุดเริ่มต้นของ Liberate p ที่สนใจการเมืองและสังคม เริ่มตั้งแต่รัฐประหาร 49 การเข้าสู่เส้นทางประกวด Rap is Now ในซีซํน 1-2 การแข่งขัน Rap Battle ที่มีคนสนใจดูเป็นหลักล้านในโลกออนไลน์วงเริ่มเป็นที่รู้จักและสนใจตั้งแต่เพลง OC(T)YGEN ปล่อยตั้งแต่ปลายปี 58 ที่พูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ปัจจุบันเพลงถูกลบออกจากยูทูปไปแล้ว หาฟังได้จาก Cover เนื้อหาค่อนข้างแรงหมิ่นเหม่ก่อนจะมี "ประเทศกูมี" เวอร์ชั่นปัจจุบัน วงเคยปล่อยเพลง "สิ่งที่ประเทศกูไม่มี" มาก่อนเนื้อหาเสียดสีรัฐบาล คสช. มาก่อนเมื่อ 2 ปีที่แล้ววงเคยนำเพลง "ประเทศกูมี" เวอร์ชั่นแรก และ "สิ่งที่ประเทศกูไม่มี" มาร้องสดในงาน Rap is Now ซีซัน 3 เมื่อ 2 ปีก่อน

(คลิปข่าว) ก่อนจะเป็นเพลง \"ประเทศกูมี\"

ปัจจุบันได้มีการรวมตัวกับเพื่อนๆ ในวงการแร็พใต้ดินทำโปรเจคพิเศษ Rap Against Dictatorship - แร๊พต่อต้านเผด็จการ เพื่อแสดงออกถึงการมีอยู่ของคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจของ คสช และต้องการบอกเล่าถึงสิ่งที่เป็นปัญหาในประเทศนี้โดยเฉพาะเรื่องการเมือง, การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐโดยปล่อยเพลง "ประเทศกูมี" เวอร์ชั่นล่าสุด ที่มีการปรับเปลี่ยนเนื้อร้อง แต่งเนือร้องใหม่คนละท่อนกับเพื่อนๆ ศิลปิน เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2561 ก่อนจะปล่อย MV ที่มีฉากหลังเป็นเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2561 จนเกิดเป็นกระแสจากประมาณ 2 แสนวิว จนไปสู่ 4 ล้านวิวในปัจจุบัน เกือบ 5 ล้านวิวแล้วโดยศิลปินที่ร่วมแร็พจะใช้ AKA (อ่านว่า เอเคเอ) หรือฉายาชื่อในการแร็พ (เฉพาะเพลงนี้) เป็นบุคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุกาณ์ความรุนแรง 6 ตุลาคม 2519 ทั้งหมด อย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น Lady Thanom - จอมพลถนอม Gentle Prapas - จอมพลประภาส HomeBoy Scout - กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน Kitti Lamar Wuttoe - พระกิตติวุฑโฒ Kra-Ting Clan - กลุ่มกระทิงแดง เป็นต้น

(คลิปข่าว) ก่อนจะเป็นเพลง \"ประเทศกูมี\"

Rap Against Dictatorship เพื่อนในกลุ่มแร็พเปอร์ที่พอจะมีชื่อเสียงที่คนพอจะรู้จัก จะมีแร็พเปอร์ชื่อ "นิลโลหิต" (nil lhohitz) มีตำแหน่ง รองแชมป์ Rap is Now ซีซัน 2 เข้ารอบชิงชนะเลิศประกวดแร็ปเปอร์รายการ Show me the money ทางช่อง True4Uนอกจากนี้ยังมีเพลงแร็พใต้ดินอีกหลายเพลง ที่วิพากย์วิจารณ์เสียดสีสังคมและการเมืองอย่างเผ็ดร้อน อย่างเพลง P9d (อ่านว่า พีไนน์ดี) - Bkkrs (intro) / P9d - 'Section 44' วิจารณ์ คสช ม.44 และสังคม / BOMB AT TRACK - เจ้าหน้าที่ เสียดสีวงการสีกากี เป็นต้นในต่างประเทศก็มีเพลงแร็พที่เสียดสีสังคมอย่างน่าสนใจจนเป็นที่กล่าวขานไปทั่วอย่าง This is America ของศิลปิน Childish Gambino มีการพูดถึงการเหยียดผิว สังคมที่นิยมความรุนแรงในอเมริกา เหตุการณ์สังหารหมู่ในโบถส์โดยคนขาวแร็พเปอร์ชื่อดังอย่าง Eminem ก็เคยแร็พด่าทรัมป์อย่างตรงไปตรงมา จนมีคนเข้ามาดูคลิปหลายสิบล้านคนจะเห็นว่าเพลงแร็พไม่ได้พูดถึงแต่เซ็กซ์ ยาเสพติด แก๊งอันธพาล ความรุนแรง เพียงอย่างเดียว แต่มันสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารกับคนในวงกว้างเกี่ยวกับสังคมและการเมือง อย่างตรงไปตรงมาและทรงพลังอีกด้วย เหมือนครั้งหนึ่งที่เพลงเพื่อชีวิต ถูกใช้บอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปในสังคม และใช้ในการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคมในยุคสมัยหนึ่งมาแล้ว

(คลิปข่าว) ก่อนจะเป็นเพลง \"ประเทศกูมี\"

logoline