svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

มุมมองใหม่....."ภาวะอ้วน"

17 กันยายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มีนักเขียนท่านหนึ่งได้เปิดเผยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภาวะอ้วนโดยพาดพิงถึงข้อมูลในอดีตที่ผ่านมาว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก โดยตั้งสมมุติฐานว่า ภาวะอ้วนเกิดจาก "การกินมากและออกกำลังกายน้อย" และได้รณรงค์ให้ลดน้ำหนักด้วยการ "กินน้อยและออกกำลังกายมากขึ้น" เป็นเรื่องที่ผิด ซึ่งแนวคิดของเขาเป็นที่ฮือฮาและถูกวิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควร "

คำถามสำคัญในหนังสือ Why We Get Fat-and What to Do About It เขียนโดย Gary Taubes ได้ตั้งคำถามเอาไว้ว่า "หากนักวิจัยเรื่องความอ้วนเก่งจริง ทำไมคนส่วนมากยังคงตัวใหญ่ขนาดนี้"

"เราถูกพร่ำบอกมานานกว่า 40 ปีแล้วว่า ถ้าไม่อยากอ้วนจงหลีกเลี่ยงอาหารไขมัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ จำนวนคนอ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 33 แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าคือ ไขมันไม่ใช่ศัตรู แต่ตัวร้ายตัวจริงคือ  คาร์โบไฮเดรต  ซึ่งย่อยง่ายกว่า อาหารหลายชนิดที่วางจำหน่ายในชื่ออาหารลดความอ้วน เช่น โยเกิร์ตไร้ไขมัน มันฝรั่งอบเปล่าๆ (ไม่ใช่เนย ซอสและเนยแข็ง) อาหารเหล่านี้คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักของเราเพิ่มขึ้น แต่อาหารที่ใครๆบอกให้เราพยายามเลี่ยง เช่น สเต็ก เบอร์เกอร์ เนยแข็ง กลับเป็นอาหารที่ช่วยในการลดน้ำหนักและมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ"

นอกจากนี้ในงานเขียนของเขายังกล่าวอีกว่า "การกินมาก-ออกกำลังกายน้อย" ใช้ไม่ได้ผล คนอ้วนส่วนใหญ่ลดอาหารมาตลอด แต่ก็ยังอ้วน การกินน้อยลงทำให้ร่างกายปรับตัวใช้พลังงานน้อยลง

การศึกษาที่ผ่านมากว่า 40 ปีระบุว่า การลดพลังงานจากอาหารเป็นวิธีที่ไม่เห็นผลชัดเจน นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งใช้ ทฤษฎีความตะกละและความเกียจคร้าน อธิบายสาเหตุของความอ้วนกลับยอมรับว่าไม่มีสูตรอาหารใดที่ใช้ได้ผลจริง คนจำนวนมากจึงต้องหันไปพึ่งยาลดความอ้วน ซึ่งมีคุณค่าทางตลาดนับหมื่นล้านบาท!!! 



คนอ้วนส่วนใหญ่เคยใช้วิธีกินอาหารน้อยลงมาตลอดชีวิต มีเพียงส่วนน้อยที่ท้อใจจนทนไม่ไหวและเลิกคุมอาหาร เพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่ไร้ประโยชน์ หากมองอีกมุมหนึ่ง บรรดาคนอ้วนทั้งหลายก็คือคนที่ใช้วิธีกินน้อยลงแล้วพบว่ามันไม่ได้ผล การที่หมอพยายามพร่ำบอกให้กินน้อยลงจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย


การลดพลังงานจากอาหาร จะทำให้คุณรู้สึกหิวเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ข้อเสียอีกประการที่เกิดตามมาคือ ร่างกายจะปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานที่สอดคล้องกับอาหารที่ได้รับน้อยลง นักวิจัยเรื่องความอ้วนจึงออกมายอมรับว่าการควบคุมพลังงานจากอาหารเป็นวิธีที่ไม่ได้ผล


มุมมองใหม่....."ภาวะอ้วน"

การคำนวณแคลฯเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้จริง!!  



Taubes กล่าวต่อว่า ชายและหญิงโดยทั่วไปรับพลังงานเข้าสู่ร่างกายเฉลี่ยวันละ 2700 แคลอรี หรือเท่ากับหนึ่งล้านแคลอรีต่อปี และสิบล้านแคลอรีต่อสิบปี ตลอดช่วงเวลาสิบปี เราจึงกินอาหารประมาณสิบตัน จะมีวิธีอย่างไรในการปรับสมดุลพลังงานทั้งขาเข้าและขาออก เพื่อให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่เกินสิบกิโลกรัมตลอดช่วงเวลาสิบปี เพราะหากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นสิบกิโลกรัมทุกสิบปี จากคนเคยผอมในช่วงวัย 20 กว่าปี จะกลายเป็นคนอ้วนเมื่ออายุ 40 กว่าปี ซึ่งเราหลายคนอยู่ในสภาพเช่นนี้ หากพิจารณาเป็นรายวัน คำตอบที่ได้คือ 20 แคลอรี ถ้าได้พลังงานส่วนเกินวันละ 20 แคลอรีสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นสิบกิโลกรัมทุกสิบปี

ประเด็นสำคัญก็คือ ไม่มีใครสามารถคำนวณพลังงานที่ได้รับและใช้ไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำ พลังงาน 20 แคลอรี พบได้กับการกินแฮมเบอร์เกอร์เพียงหนึ่งคำ หรือดื่มน้ำอัดลมสองจิบ หรือกินแอปเปิลสองสามคำ ไม่ว่าจะคำนวณแคลอรีเก่งเพียงใดก็ตาม คงไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้ถึงเพียงนี้ ดังนั้นหากวิธีควบคุมพลังงานให้สมดุลช่วยป้องกันโรคอ้วนได้จริง คำถามก็คือ "ทำไมเราจึงพบคนอ้วนอยู่ล่ะ"


*****ความจำเป็นคือ ต้องกินอาหารที่ช่วยคุมอินซูลินให้ต่ำลง****


หลายท่านมักจะคิดว่าเซลล์ไขมันเป็นเหมือนเงินฝากระยะยาว ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสะสมของร่างกายที่อยู่ในรูปกรดไขมัน และไม่ถูกนำมาใช้จนกว่าร่างกายจะขาดอาหาร แต่ความเป็นจริงคือ เนื้อเยื่อไขมันเหมือนกับกระเป๋าเงินและอาหารที่เรากินเปรียบเหมือนกับตู้เอทีเอ็ม เรารู้วิธีใช้ตู้เอทีเอ็ม คือ การใส่เงินสดไว้ในกระเป๋าเงินแล้วค่อยๆใช้ไป เมื่อเงินเหลือน้อยเกิน เราจึงไปกดเงินเพิ่มจากตู้เอทีเอ็ม แต่อินซูลินทำหน้าที่ปิดล็อคเงินไว้ในกระเป๋า ทำให้เราต้องกดตู้เอทีเอ็ม (กินอาหาร) บ่อยๆขึ้น เซลล์ไขมันจึงอวบอ้วนขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรดไขมันที่สะสมอยู่ไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงหิวและกินบ่อย


มุมมองใหม่....."ภาวะอ้วน"



เคล็ดลับคืออาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ


มีข้อมูลวิจัยยืนยันว่าสูตรอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำใช้ได้ผลดีกว่าสูตรอาหารไขมันต่ำหรือพลังงานต่ำ นั่นคือ มีการเปรียบเทียบระหว่างอาหารไขมันต่ำให้พลังงานวันละ 1200-1800 แคลอรีต่อวัน กับอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำซึ่งกินได้มากตามต้องการ ซึ่งกลายเป็นสูตรอาหารลดน้ำหนักที่ได้ผลโดยไม่จำกัดพลังงาน ดังนั้น การสรุปว่า การกินคาร์โบเดรตไม่ได้ทำให้คนอ้วน และการงดคาร์โบไฮเดรตอาจไม่ช่วยให้เราผอม แต่มันทำให้ผอมที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ น่าจะใกล้ความจริงที่สุด



มุมมองใหม่....."ภาวะอ้วน"

ไขมันสูงมีประโยชน์ต่อหัวใจมากกว่า



ข้อมูลเดิมๆที่ว่า อาหารไขมันสูงทำให้เกิดโรคหัวใจเป็นสิ่งที่ฝังรากลึกมานาน ในช่วงสิบปีมานี้ มีงานวิจัยหลายสิบฉบับในยุคปัจจุบันที่บรรดาแพทย์และสมาคมโรคหัวใจของอเมริกา สรุปว่า อาหารไขมันต่ำเป็นโทษต่อหัวใจมากกว่า ดังนั้น ที่ผู้เชี่ยวชาญพยายามส่งเสริมให้พวกเรากินอาหารไขมันต่ำ จึงกลับกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้โรคอ้วนและเบาหวานแพร่หลายขึ้น



มุมมองใหม่....."ภาวะอ้วน"

อย่าโทษตัวเองนัก...หากน้ำหนักเกิน



มีงานวิจัยด้านความอ้วนในช่วง 40-50 ปีที่ผ่านมา มุ่งเน้นหาสาเหตุของความอ้วน โดยมีแนวคิดเชิงตำหนิว่า คนอ้วนมีวินัยในการใช้ชีวิตน้อยกว่าคนผอม คิดกว่าคนอ้วนคือคนที่ไม่ใส่ใจกับสุขภาพของตนและไม่ปฏิบัติตามกฎที่ว่า กินพอประมาณและออกกำลังกาย โดยความเป็นจริงแล้ว เป็นผลมาจากภาวะฮอร์โมนผิดปกติ คนทุกรายไม่ได้เกิดจากกินคาร์โบไฮเดรตมากไป ปัจจัยสำคัญอยู่ที่เซลล์ของเขาไว้ต่ออินซูลินมากกว่า



คงพอบอกได้แล้วว่า การควบคุมความอ้วนหรือน้ำหนักโดยการลดไขมันนั้นไม่มีประโยชน์ แต่กลับเป็นโทษต่อสุขภาพมากกว่า ในทางกลับกัน การลดคาร์ไฮเดรต หรือรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ จะช่วยได้มากกว่า อีกทั้งภาวะอ้วนนั้น เป็นความผิดปกติที่มีความสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังและพันธุกรรม ที่ทำให้ร่างกายมีความไวต่ออินซูลินมากกว่าปกติ การลดคาร์โบไฮเดรตในคนกลุ่มนี้จึงไม่มีประโยชน์ เพราะจะทำให้หิวและยิ่งรับประทานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ต้องรับประทานคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมการทำงานของอินซูลินให้อยู่ในระดับที่ร่างกายควบคุมได้ จึงน่าจะเป็นการลดน้ำหนักได้มากกว่า




บทความต้นฉบับโดย กรมสุขภาพจิต

logoline