svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ถอดรหัสพันธุกรรม "เชื้อวัณโรค"ด้วยเทคนิคใหม่แห่งแรกของไทย

05 กันยายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว พัฒนาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของเชื้อวัณโรค จนสามารถตรวจหาลำดับเบสทั้งจีโนม ของเชื้อวัณโรคด้วยเทคนิควิเคราะห์ลำดับเบสรุ่นใหม่ได้สำเร็จ ช่วยให้การตรวจการกลายพันธุ์ของเชื้อวัณโรครวดเร็วขึ้น ลดปัญหาวัณโรคดื้อยาในประเทศ

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก แนะนำให้การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เป็น 1 ใน 3 เสาหลัก เพื่อยุติวัณโรคตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ นำเทคโนโลยีการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อวัณโรคมาช่วยยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย ก่อนหน้านี้การถอดรหัสจีโนมของเชื้อวัณโรคจำกัดอยู่เฉพาะงานศึกษาวิจัย และนักวิจัยต้องส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ในต่างประเทศ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ถอดรหัสพันธุกรรม "เชื้อวัณโรค"ด้วยเทคนิคใหม่แห่งแรกของไทย





ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว พัฒนาบุคลากรและระบบห้องปฏิบัติการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของเชื้อวัณโรค จนสามารถเปิดบริการตรวจหาลำดับเบสทั้งจีโนมของเชื้อวัณโรคด้วยเทคนิควิเคราะห์ลำดับเบสรุ่นใหม่ (Next Generation Sequencing) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ถอดรหัสพันธุกรรม "เชื้อวัณโรค"ด้วยเทคนิคใหม่แห่งแรกของไทย



ทำให้การตรวจหาการกลายพันธุ์ (mutation) ของเชื้อวัณโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว และทราบสายพันธุ์ของเชื้อวัณโรค ช่วยวางแผนการสอบสวนการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค และทราบภาวะดื้อต่อยาต้านวัณโรคที่ครอบคลุมทั้งยาต้านวัณโรคแนวที่ 1 (first-line) และแนวที่ 2 (second-line) เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาสูตรยาที่เหมาะสมในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ถอดรหัสพันธุกรรม "เชื้อวัณโรค"ด้วยเทคนิคใหม่แห่งแรกของไทย




อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังร่วมกับกรมควบคุมโรค ในการถอดรหัสจีโนมของเชื้อวัณโรคภายใต้โครงการ National Surveillance of Drug resistance in Tuberculosis ครั้งที่ 5 จำนวน 1,200 ตัวอย่าง เพื่อช่วยให้เข้าใจสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรค และวางแผนงานควบคุมวัณโรคสำหรับลดปัญหาวัณโรคดื้อยาของประเทศไทย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ถอดรหัสพันธุกรรม "เชื้อวัณโรค"ด้วยเทคนิคใหม่แห่งแรกของไทย




"ทั้งนี้การตรวจวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมีความไว ความจำเพาะสูง ช่วยลดขั้นตอนทางห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาสำหรับทดสอบความไวต่อยาต้านวัณโรค ซึ่งต้องใช้เวลาในการทดสอบ 1 2 เดือน ในขณะที่การถอดรหัสจีโนมใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์เพียง 1 สัปดาห์ โดยในปีหน้าจะให้บริการถอดรหัสจีโนมของเชื้อวัณโรคแก่นักวิจัยในประเทศไทย และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย" นายแพทย์สุขุม กล่าวทิ้งท้าย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ถอดรหัสพันธุกรรม "เชื้อวัณโรค"ด้วยเทคนิคใหม่แห่งแรกของไทย



logoline