ที่บ้านนายเสรี สุกสา อายุ 45 ปี เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ต.ฝายหลวง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ คึกคักตลอดทั้งวัน เมื่อประชาชน ผู้ที่อยากเห็นและสัมผัสความแปลกใหม่ หลังเจ้าตัวไปเผยแพร่นวัตกรรมทางการเกษตร ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ การต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรทั้งการตลาดและมูลค่าสินค้า ผ่านเฟซบุ๊ก พร้อมโชว์ภาพ กำลังเตรียมตัด "ทุเรียนไร้หนาม" จำนวน 2 ลูกจากต้นในสวนบนภูเขาลับแล ทั้งนี้หลังจากตัดทุเรียนลับแลไร้หนาม 2 ลูก ได้ทดลองแกะและรับประทานไปแล้ว 1 ลูก เหลืออีก 1 ลูก ที่กำลังสุกถึงเวลารับประทานได้แล้ว
โดยได้จัดทุเรียนหลงลับแลและทุเรียนลับแลไร้หนามในตะกร้า หากไม่สังเกตก็ไม่มีใครเชื่อว่า 1 ลูกที่ไม่มีหนาม คือ ทุเรียน เพราะความไม่เคยชิน เมื่อเข้าใกล้จะได้กลิ่นหอมของทุเรียนที่กำลังสุก ขนาดน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม ซึ่งเจ้าของจะแกะเปลือกเพื่อรับประทานในครอบครัว
นายเสรี กล่าวว่า ครอบครัวมีสวนทุเรียนทุกสายพันธุ์ของลับแลกว่า 50 ไร่ ด้วยปัญหาของผู้ที่ชื่นชอบรับประทานทุเรียน คือ หนาม ส่งผลให้ปลอกและกว่าจะรับประทานยุ่งยาก จึงเกิดแนวความคิด สร้างวัตกรรมทางการเกษตร ซึ่งไม่ใช่การปรับเปลี่ยนสายพันธุ์แต่อย่างใด ตนได้ใส่ความแปลกใหม่ ในเชิงสร้างสรรค์ จนนำไปสู่ การเพิ่มมูลค่าให้ทุเรียน ด้วยการนำปัญหาหนามทุเรียน มาเป็นแนวทาง หรือโจทย์ในการคิดค้น ฤดูกาลปี 2561 ตั้งแต่ทุเรียนเริ่มติดผล เฝ้าดูแล ด้วยเคล็ดลับ ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ จากทุเรียน 1 ต้น 20 ลูก ได้ทุเรียนไร้หนามที่สมบูรณ์ และปลอดสาร 100 เปอร์เซ็นต์ เพียง 2 ลูกเท่านั้น ส่วนรสชาติยังคงเป็นทุเรียนภูเขาลับแล ที่ทุกคนชื่นชอบ ส่วนอีก 18 ลูกไม่สมบูรณ์ เปลือกที่ได้ไม่ยังไม่เป็นที่พึ่งพอใจ
- เลยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มอีก 1 เชื่อมโยงจ.ขอนแก่น
- ส่งนักรบชุดขาวช่วยภัยโควิด-19 โรงพยาบาลสนามสมุทรสาคร
- ทหารพรานทำปืนลั่นใส่ตำรวจเสียชีวิต
"140 วันที่เฝ้าใช้นวัตกรรมทางการเกษตร เพื่อให้ได้ทุเรียนลับแลไร้หนาม เมื่อผลแก่ จึงตัดมาแกะรู้สึกได้ว่า ง่ายมากๆ เพียงแค่ใช้คัดเตอร์ก็แกะได้แล้ว ไม่ต้องใส่ถุงมือหนาๆ ไม่ต้องกลัวมือจะเป็นแผลจากหนามที่แหลมคม ที่สำคัญคุณภาพของทุเรียนยังคงเดิม"นายเสรี กล่าว
นายเสรี กล่าวด้วยว่า ล่าสุดมีการตอบรับกับนวัตกรรมทางการเกษตร ทุเรียนลับแลไร้หนามเกินคาด ทั้งเพื่อนๆและพ่อค้าที่เคยรับซื้อทุเรียนจากสวน ได้แจ้งยอดสั่งจองทุเรียนไร้หนาม ในฤดูกาลหน้า ปี 2562 ตอนนี้เกือบ 1,000 ลูกต่อ ทั้งนี้จะใช้ระยะหลังจากนี้ ศึกษานำข้อผิดพลาดมาปรับปรุง เพื่อให้ได้ผลที่สมบูรณ์ที่สุด หากประสบความสำเร็จก็จะได้บอกต่อให้กับเกษตรชาวสวนลับแลให้ได้นำไปใช้ จะได้เป็นการเพิ่มมูลค่า ช่องทางการตลาดในอนาคตต่อไป