svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

เฟซบุ๊กแบนผู้บัญชาการกองทัพเมียนมาร์เหตุสร้างความเกลียดชัง

27 สิงหาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เฟซบุ๊ก สั่งห้ามผู้บัญชาการทหารเมียนมาร์ใช้เว็บไซต์ และดำเนินการถอดเพจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมาร์ในวันนี้ หลังสหประชาชาติเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับผู้บัญชาการกองทัพ ข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จากกรณีการปราบปรามชาวมุสลิมโรฮิงญา

ในรายงานที่เผยแพร่โดยสหประชาชาติในวันนี้ เจ้าหน้าที่สืบสวนกล่าวหากองทัพเมียนมาร์ข้อหากระทำการโดยเจตนาที่นำไปสู่อาชญากรรมร้ายแรงภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการสังหารหมู่ การรุมข่มขืน และการทำลายหมู่บ้าน


แถลงการณ์ของเฟซบุ๊ก ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ https://newsroom.fb.com ระบุว่า กำลังดำเนินการถอดบัญชีเฟซบุ๊ก 18 บัญชี อินสตาแกรม 1 บัญชี และเพจอีก 52 เพจ ที่มีผู้ติดตามเกือบ 12 ล้านคน โดยยังคงรักษาข้อมูล ที่รวมถึงเนื้อหาในบัญชีและเพจที่ดำเนินการถอดไว้ แต่กลุ่มที่เฟซบุ๊กพุ่งเป้าโดยเฉพาะ ประกอบด้วยบุคคลและหน่วยงานในเมียนมาร์ทั้งหมด 20 ราย ที่ถูกเฟซบุ๊กห้ามใช้ ซึ่งรวมถึงนายพล มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพเมียนมาร์ และเครือข่ายโทรทัศน์เมียวดีของกองทัพเมียนมาร์

เฟซบุ๊กแบนผู้บัญชาการกองทัพเมียนมาร์เหตุสร้างความเกลียดชัง




ทั้งนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ ที่เข้าร่วมการสืบสวนหาความจริงในเมียนมาร์ พบหลักฐานว่า กลุ่มบุคคลและหน่วยงานที่ถูกเฟซบุ๊กสั่งห้ามใช้ กระทำการอันละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในประเทศ และเฟซบุ๊กต้องการป้องกันไม่ให้กลุ่มบุคคลและหน่วยงานเหล่านี้ ใช้เฟซบุ๊กเพื่อกระพือความตึงเครียดทางศาสนาและชาติพันธุ์ 


ทั้งหมดนี้ ทำให้เฟซบุ๊กตัดสินใจถอดบัญชีบุคคล 7 บัญชี และเพจ 7 เพจ ออกจากเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม 1 บัญชี ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มบุคคลและองค์กรเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เฟซบุ๊กระบุด้วยว่า ไม่พบว่าบุคลและองค์กรที่ถูกสั่งห้ามใช้ มีบัญชีอยู่ในเฟซบุ๊กหรืออินสตาแกรม


เฟซบุ๊กแบนผู้บัญชาการกองทัพเมียนมาร์เหตุสร้างความเกลียดชัง



ที่ผ่านมา บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้ส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับบทบาทของเฟซบุ๊ก ในการกระพือความรุนแรงทางชาติพันธุ์ในเมียนมาร์ อย่างน้อย นับตั้งแต่ปี 2557 โดยชี้ว่า เฟซบุ๊กถูกใช้เป็นเครื่องมือกระจายข่าวลวง และข้อมูลอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับประชากรโรฮิงญา โดยบรรดานักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน บอกว่า สถานการณ์ในเมียนมาร์มีความท้าทายอย่างยิ่ง และอาจเป็นเรื่องยากมากที่จะแยกแยะระหว่างผู้ใช้เฟซบุ๊กทั่วไปที่แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร กับผู้ที่พยายามกระพรือความเกลียดชังทางเชื้อชาติ 

logoline