svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"เพชรบุรี-นครนายก" เสี่ยงน้ำท่วม "น่าน" เฝ้าระวังน้ำหลาก

17 สิงหาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต สรุปสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญประจำวันศุกร์ที่ 17สิงหาคม 2561 รายงานสถานการณ์น้ำล่าสุด เมื่อเวลา 06.00 น.ที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียดดังนี้

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำ/ลำน้ำ แม่น้ำสายสำคัญ

- ภาคเหนือ มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำน้อย

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำมากและยังมีน้ำล้นตลิ่งบางแห่ง

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีปริมาณฝนตกน้อยส่งผลให้แม่น้ำมูลตอนบนมีระดับน้ำน้อย

- ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคกลางและภาคใต้ มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก และยังมีน้ำล้นตลิ่งบางแห่ง


ปัจจุบันมีน้ำล้นตลิ่งบริเวณ แม่น้ำสงคราม จังหวัดสกลนครลำน้ำอูน และลำน้ำก่ำ จ.สกลนคร แม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี แม่น้ำตาปี จ.สุราษฏร์ธานี แม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก จ.ตราด



แม่น้ำระหว่างประเทศ:แม่น้ำโขง บริเวณที่ติดกับประเทศไทยมีระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง แต่ระดับน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำที่ไหลจากประเทศจีนเพิ่มขึ้น และจากการคาดการณ์ฝนในช่วงวันที่ 17-18ส.ค. 61 มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศลาว และบริเวณจังหวัดชายแดนของประเทศไทย ทั้งนี้อาจส่งผลต่อการไหลของแม่น้ำสงครามลงแม่น้ำโขง


การติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่

อ่างฯ ขนาดใหญ่+ กลาง :ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มี 50,505 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 71.2ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มี 3,000ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 58รับน้ำได้อีก 22,548 ล้าน ลบ. ม.

น้ำไหลเข้าอ่างฯ (14 ก.ค.-16 ส.ค. 61) มีน้ำไหลเข้าอ่างฯขนาดใหญ่ รวมทั้งประเทศ 13,287ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น ภาคเหนือ3,910ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1,863ล้าน ลบ.ม.ภาคกลาง330ล้าน ลบ.ม.ภาคตะวันตก4,930ล้าน ลบ.ม.ภาคตะวันออก321ล้าน ลบ.ม.และภาคใต้1,933ล้าน ลบ.ม.


อ่างฯที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่ 2 แห่ง เขื่อนน้ำอูน (102%เมื่อวาน 103%) เขื่อนแก่งกระจาน(104%เมื่อวาน 103%) ขนาดกลาง 11 แห่ง(ลดลง2 แห่ง) ซึ่งอยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 แห่ง (ลดลง1 แห่ง) และภาคตะวันออก3 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง)



อ่างเฝ้าระวัง (80-100%) ขนาดใหญ่ 4 แห่ง เขื่อนศรีนครินทร์ (88%เท่าเดิม)เขื่อนวชิราลงกรณ (88%เท่าเดิม) เขื่อนรัชชประภา (87% เท่าเดิม)เขื่อนขุนด่านปราการชล (86% เมื่อวาน 84%)ขนาดกลาง 60 แห่ง (เพิ่มขึ้น 4 แห่ง)แยกเป็น ภาคเหนือ 4 แห่ง (เท่าเดิม)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคตะวันออก 8 แห่ง (เพิ่มขึ้น3 แห่ง) ภาคกลาง 1 แห่ง (เท่าเดิม) และภาคใต้ 3 แห่ง (เท่าเดิม)


- พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วม:แม่น้ำเพชรบุรี บริเวณ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรีลำน้ำก่ำ ลำน้ำสงคราม และลำน้ำอูนแม่น้ำนครนายก ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีน้ำมากและอาจเกิดฝนตกในพื้นที่


- พื้นที่เฝ้าระวังน้ำหลาก : อ.ปัว และ อ.สันติสุข จ.น่าน (24 ชม. ที่ผ่านมามีฝนตกหนักถึงหนักมาก)


- พื้นที่เฝ้าระวังจากการเร่งระบายน้ำ: อ่างฯขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80%เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนวชิราลงกรณเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนรัชชประภา เขื่อนขุนด่านปราการชลและเขื่อนน้ำอูนรวมถึงอ่างขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีปริมาณน้ำ 100%โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขื่อนที่มีน้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้น (Spillway)ระดับน้ำจะขึ้นต่อเนื่องไปอีก 3-4 วัน ตามปริมาณฝนที่ตกซึ่งจะส่งผลกระทบกับระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี ด้านท้ายเขื่อนแก่งกระจาน5 อำเภอ (อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง และอ.บ้านแหลม) และแม่น้ำนครนายก ด้านท้ายเขื่อนขุนด่านปราการชล อ.เมือง จ.นครนายก ทั้งนี้ต้องประสานแจ้งจังหวัด และหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ให้ทราบ


- ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องจัดทำแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์


-จัดทำมาตรการเตรียมความพร้อมลดความเสี่ยงอุทกภัย :กรณีการระบายน้ำฉุกเฉินของอ่างเก็บน้ำและกรณีเขื่อนวิกฤติ สำรวจความแข็งแรงของเขื่อน และสร้างการรับรู้ภาคประชาชนต่อเนื่อง


- สทนช.ตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติจาก 9 หน่วยงานร่วมปฏิบัติงานตลอด 24 ชม.ณ อาคาร SWOC กรมชลประทาน สามเสน ตั้งแต่ 3 ส.ค. 61


- ประกาศศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ รวม 6 ฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ส.ค.61

- ฉบับที่ 6 สถานการณ์น้ำเนื่องจากผลกระทบจากพายุเบบินคาทำให้ประเทศไทยจะมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ โดยมีเขื่อนที่ต้องเฝ้าระวังได้แก่ เขื่อนน้ำอูน เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนแก่งกระจาน ซึ่งมีแนวโน้มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการระบายน้ำมากขึ้น

logoline