svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวฯ สรุปสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำมีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม 4 แห่ง

17 สิงหาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต สรุปสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญ วันศุกร์ที่ 17สิงหาคม 2561 รายงานสถานการณ์น้ำล่าสุด เมื่อเวลา 06.00 น.ที่ผ่านมา สรุปสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษมีดังนี้

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษอ่างฯขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มี 4 แห่ง ดังนี้
1. เขื่อนแก่งกระจานจ.เพชรบุรีสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ(06.00 น.) ปริมาณน้ำ 741ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 739) คิดเป็น 104% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ27.29 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 20.77)ปริมาณน้ำระบายออกวันละ 19.82 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 16.02)น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 68 ซม. สูงกว่าเมื่อวาน 3 ซม.แนวโน้มปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเพิ่มขึ้นและจากการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ จะมีฝนตกมากขึ้นส่งผลให้น้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นมากในช่วงสัปดาห์นี้ ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดสภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี(06.00 น.) บริเวณ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรีต่ำกว่าระดับตลิ่ง 0.73 ม.(เท่าเมื่อวาน) ปริมาณน้ำไหลผ่าน184.65ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 184.65)ทำให้พื้นที่ริมสองฝั่งลำน้ำในบริเวณอ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง และอ.บ้านแหลม ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นการบริหารจัดการน้ำต้องเร่งพร่องน้ำโดยการเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี ให้เต็มศักยภาพลำน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัดและพื้นที่เพื่อแจ้งเตือนการแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ออกประกาศฉบับที่ 6/2561 (16 ส.ค.61)ให้เร่งดำเนินการพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นโดยให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุดและประสานจังหวัดเพื่อแจ้งเตือนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
2. เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ(06.00 น.)ปริมาณน้ำ 532ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 533) คิดเป็น 102% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ4.45 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 4.07)มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ5.32ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 5.32)สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งบริเวณบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม บ้านพอกใหญ่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนครการบริหารจัดการน้ำ ต้องเร่งพร่องน้ำ ให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้ติดตามสถานการณ์น้ำในจ.สกลนคร บึงกาฬ นครพนม ซึ่งลำน้ำอูนและลำน้ำสงคราม ไหลผ่าน
3. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ(00.00 น.) มีปริมาณน้ำ 7,817ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 7,802) คิดเป็น 88% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ100.02 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 132.05)มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ41.40ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 41.42) สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ไม่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำการบริหารจัดการน้ำ เร่งพร่องน้ำโดยเพิ่มการระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนที่เพิ่มขึ้น โดยให้เท่ากับความสามารถรับน้ำของแม่น้ำแควน้อย และแม่น้ำแม่กลอง ทั้งนี้ต้องประสานแจ้งจังหวัด และพื้นที่ ให้ทราบการแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควน้อยให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ4. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายกสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น.)ปริมาณน้ำ 193 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 189) คิดเป็น 86% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 6.70 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 9.84) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 3.87ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 3.11)น้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้นสูง 30 ซม.การบริหารจัดการน้ำต้องเร่งพร่องน้ำ ให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำจากอิทธิพลของฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ ติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ และปรับแผนการระบายให้มีผลกระทบด้านท้ายน้ำน้อยที่สุดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่/กลางที่มีปริมาณน้ำในอ่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวน 2 แห่ง คือ1. เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานีสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (00.00 น.)ปริมาณน้ำ 4,880 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 4,885) คิดเป็น 87%ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 17.58 (เมื่อวาน 15.41) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 20.47ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 19.97)การบริหารจัดการน้ำเร่งพร่องน้ำให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ ติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับเพิ่ม/ลดการระบายให้มีผลกระทบด้านท้ายน้ำน้อยที่สุด2. อ่างเก็บน้ำคิรีธาร จ.จันทบุรี

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำ 75 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 99% ปริมาณน้ำที่ระบาย 0.66 ล้าน ลบ.ม.ระดับน้ำอยู่ที่ 204.9 ม.รทก.การบริหารจัดการน้ำระบายน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าวันละ 0.49 ล้าน ลบ.ม. และผ่านกาลักน้ำวันละ 0.17 ล้าน ลบ.ม.การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ ติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำอย่างใกล้ชิดเพื่อการปรับเพิ่ม/ลดการระบาย

logoline