svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ปู่คออี้" หวัง กะเหรี่ยง-อุทยานฯ สามัคคีปรองดอง

12 สิงหาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

(ชมคลิปเต็มด้านล่าง) จากกรณีการนำเสนอข่าวที่มาจากกรมอุทยานว่ากลุ่มชาติพันธุ์ ตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุทำให้น้ำล้นเขื่อนแก่งกระจานนั้น ทำให้หัวหน้าอุทยานฯแห่งชาติแก่งกระจานต้องออกมาชี้แจงว่าเป็นการบิดเบือนข้อมูล และทำให้เสียบรรยากาศการมีส่วนร่วมในการจัดการที่ดินระหว่างกะเหรี่ยงกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ล่าสุด ปู่คออี้ บอกกับเนชั่นทีวี ว่าอยากเห็นลูกหลานชาวกะเหรี่ยง กับเจ้าหน้าที่อุทยาน รักใคร่ปรองดอง ร่วมมือกันแก้ปัญหา ติดตามจากรายงาน คุณวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย

ภาพการช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์ของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สะท้อนเห็นว่าความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่อุทยานฯ กับกะเหรี่ยงในพื้นที่ที่มีมาอย่างยาวนาน เริ่มคลี่คลาย


แต่กรณีก่อนหน้านี้ที่มีข่าวจากหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ระบุว่าสาเหตุน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งต่อมาได้รับการชี้แจงว่าเป็นข่าวที่ถูกบิดเบือน แต่ก็ได้สร้างความขัดแย้งในพื้นที่ไม่น้อย


ทีมข่าวเนชั่นทีวีเดินทางไปที่หมู่บ้านบางกลอย ต.แม่เพรียง จ.เพชรบุรี ซึ่งหนึ่งในชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่ตั้งอยู่เหนือเขื่อนแก่งกระจาน ไปกว่า 20 กิโลเมตร สุรีย์ ทองเกิด เป็นชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย รับรู้การนำเสนอดังกล่าว บอกว่าเสียใจ และยืนยันว่าตนทำกินในที่ดินที่อุทยานจัดสรรให้ ไม่เคยบุกรุกเพิ่ม


ชายชราวัย 107 ปี คนนี้ คือปู่คออี้ ผู้นำทางจิตวิญญาณของคนทั้งหมู่บ้าน วันนี้ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และยังมีเรี่ยวแรงพูดคุยกับทีมข่าวที่เข้าไปหาในวันนี้ ปู่คออี้ บอกว่า อยากเห็นลูกหลานชาวกะเหรี่ยง กับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ปรองดอง สามัคคี ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา เพราะต่างก็เป็นคนไทยด้วยกัน


มานะ เพิ่มพูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บอกว่า ปัจจุบัน กลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีส่วนร่วม ในการจัดการที่ดินที่ทางราชการกำหนดนโยบายออกมา โดยได้ใช้แผนที่ดาวเทียมกำหนดแนวเขต และเฝ้าระวังพื้นที่บุกรุกอย่างเข้มข้น

จากแผนที่ดาวเทียม นี้ พื้นที่ระบายทึบสีฟ้า คือพื้นที่บุกรุกทั้งเก่าและใหม่จำนวน 27,000 ไร่ ที่สำรวจตาม มติครม ปี 2541 รับรองเป็นพื้นที่ผ่อนปรนให้ทำกินได้


ส่วนพื้นที่ระบายทึบสีเหลือง คือพื้นที่กำลังดำเนินการตรวจสอบ ว่าเป็นพื้นที่ชาวบ้านทำกินหรือกลุ่มนายทุนบุกรุกจำนวน 15,000 ไร่ หากเป็นชาวบ้านจะได้รับการผ่อนปรน ตามคำสั่งคสช ที่ 66/2557


พื้นที่ระบายทึบสีแดง คือพื้นที่ที่ร่องรอยการบุกรุกหลังคำสั่ง คสช ปี 2557 เจ้าหน้าที่ดำเนินการจับกลุ่มเพื่อคืนผืนป่าในทุกกรณี


ส่วนนี่คือสวนทุเรียน ซึ่งเป็นอาชีพใหม่ของของชาวกะเหรี่ยงโป่งลึก ที่สนับสนุนจากหลายภาคส่วน ที่ต้องการยกระดับคุณภาพของชาวกะเหรี่ยง อนาคตทุเรียนโป่งลึกบางกลอย กำลังจะมีจะชื่อเสียง และสร้างรายได้ให้กับชาวกะเหรี่ยงที่นี่

logoline