svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ใช้ซาก "ไอ้โทน" กระทิงป่าเป็นอาจารย์ใหญ่

07 สิงหาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชุมพร - วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี่ชุมพร เสียดาย "ไอ้โทน" กระทิงป่าตาย เผยวิทยาลัยกำลังจะพัฒนาสายพันธุ์กระทิงและวัวบ้าน เป็นวัวสายพันธุ์ ชุมพร 1 เตรียมนำร่างมาศึกษา

(7 ส.ค.61) ที่วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี่ชุมพร ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร นายนิพนธ์ ภู่พลับ ผอ.วิทยาลัยฯ เปิดเผยว่า คณะนักศึกษา อาจารย์ กำลังปรับสวนดอกไม้ ในจุดที่เป็นที่เก็บร่างของ "ไอ้โทน" กระทิงป่า ที่หลงฝูงแล้วมาอยู่ในพื้นที่ของวิทยาลัย และตายลงเมื่อสามวันที่ผ่านมา สร้างความเสียใจแก่ ผู้ที่คุ้นเคย ทั้งชาวบ้าน นักศึกษา อาจารย์ ของ วิทยาลัยเกษตรกรรมฯ ชุมพรอย่างมาก หลังจาก ทำพิธีสวดส่งวิญญาณ ในวันนี้จึงได้ตบแต่งสถานที่ฝัง ให้มีความสวยงามและต่อไป จะได้ใช้ซากของไอ้โทนเป็นที่ศึกษาของนักศึกษาคณะสัตวศาสตร์ หรือเป็นอาจารย์ใหญ่ ให้ได้ร่ำเรียนศึกษา สิ่งที่เรียกว่าอุบัติกรรมของธรรมชาติที่มาเกิดขึ้นใน จ.ชุมพร


ซึ่งปกติเป็นไปไม่ได้ที่กระทิงจะผสมกับวัวบ้าน เพราะโครโมโซมแตกต่างกัน ในขณะนี้มันเกิดขึ้นแล้ว และลูกของไอ้โทนยังสามารถขยายพันธุ์ได้อีกด้วยอาทิที่ฟาร์มของกำนัน ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก พึ่งจะได้ลูกวัวจากลูกของไอ้โทนกับวัวบ้านนับว่า เป็นเรื่องแหกกฎวิชาการที่เคยเล่าเรียนกัน มา รวม ถึง แหกกฎธรรมชาติอีกด้วย


"ลูกของไอ้โทนที่ผสมกับวัวบ้าน และวัวสายพันธุ์บรามัน ที่วิทยาลัยผสมไว้มีจำนวน 3 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีความแตกต่างจากสายพันธุ์วัวพื้นเมืองและวัวพันธ์เดิม อย่างชัดเจน มีข้อดี คือ ความแข็งแรง ร่างกายใหญ่โต ปริมาณเนื้อมาก มีกล้ามเนื้อมากเหมือนกระทิง มีความสูงมากเท่ากับกระทิง มีหน้าผากที่ใหญ่ เขาที่แหลมยาวเหมือนกระทิง มีความทนต่อโรค ตั้งแต่เกิดออกมา และไม่กลัวตายมีใจสู้มาก จึงมีชาว จ.นครศรีธรรมราช จ.ตรัง มานำไปเป็นวัวชน ซึ่งไม่ผิดหวัง ส่วนข้อเสีย คือนิสัยที่ดุร้ายในบางเวลา คือยังมีความเป็นสัตว์ป่า ที่สำคัญ คือไม่ยอมให้มีการเจาะจมูกอย่างเด็ดขาด จะนำมาผูกแล้ว เจาะจมูกเหมือนวัวบ้านทั่วไปไม่ได้ มันจะสู้สุดฤทธิ์ แต่ คาดว่า ถ้าค่อยๆฝึกต่อไป น่าจะ เปลี่ยนพฤติกรรมได้" นายนิพนธ์ กล่าว


นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า โดยทางวิทยาลัยกำลังจะพัฒนาสายพันธุ์กระทิงและวัวบ้านให้เป็นวัวสายพันธุ์ชุมพร 1 แต่เสียดายที่ไอ้โทนมาตายเสียก่อน เพราะถ้าพัฒนาสำเร็จ จะได้เนื้อกระทิงผสมวัว เมื่อนำมาทำอาการ เช่น สเต็ก จะได้รสชาติที่ไม่เหมือนที่ไหนในโลก ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ วิทยาลัยจะทำเรื่องขอส่วนหัว ที่กรมอุทยานจะต้องนำกลับไปยังกรมฯ ตามกฎหมาย เมื่อได้มีการบันทึกขั้นตอนตามกฎหมาย ก็ จะทำเรื่องขอนำกลับมาไว้ที่วิทยาลัยเพื่อเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ ให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษาด้วย

logoline