svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ปิ๊งไอเดีย! ใช้นาข้าว รับน้ำหนองหารก่อนระบาย

04 สิงหาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำที่จังหวัดสกลนคร และมอบนโยบายการบริหารจัดการน้ำ ว่า ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด นำมาวิเคราะห์ประมวลผลให้สามารถจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งปริมาณน้ำเขื่อนน้ำอูน วันนี้ ( 4 ส.ค.61 ) ระดับน้ำ 185.090 เมตร- รทก. (ระดับน้ำทะเลปานกลาง) เท่ากับ 527 ล้าน ลบ.ม ( ลูกบาศก์เมตร ) คิดเป็น 101.49 % ทำให้ยังมีน้ำล้นทางระบายน้ำล้นฉุกเฉิน ประมาณ 6 เซนติเมตร หรือคิดเป็นปริมาณน้ำล้น 1.22 ล้าน ลบ.ม./วัน และได้สั่งการให้สำนักเครื่องจักรกล ดำเนินการติดตั้งกาลักน้ำเพิ่มเติมอีกจำนวน 15 ชุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำเป็น 600,000 ลบ.ม./วัน รวมทั้งสิ้นจะสามารถระบายน้ำได้ 4.15 ล้าน ลบ.ม./วัน ทำให้การควบคุมปริมาณน้ำในอ่างฯ อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้เร็วขึ้น


ปิ๊งไอเดีย! ใช้นาข้าว รับน้ำหนองหารก่อนระบาย



อธิบดีกรมชลฯ กล่าวต่อว่า สถานการณ์น้ำหนองหาร มีน้ำเก็บกักอยู่ 315 ล้านลูกบาศก์เมตร สูงกว่าเก็บกักประมาณ 42 เซนติเมตร การระบายน้ำจะระบายออกมากกว่าน้ำเข้า เช่นปริมาณน้ำไหลเข้ามา 21 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่สามารถระบายออกได้ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ 2-3 วันที่ผ่านมา สามารถลดจากจุดสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นได้ประมาณ 10 ซม. ยังเหลือ 42 ซม. ซึ่งหากสามารถทำได้อย่างนี้ ไม่มีฝนลงมาเพิ่ม 4-5 วัน จะกลับสู่ระดับเก็บกักได้ แต่สิ่งที่ยังน่าห่วงคือปริมาณน้ำที่ระบายลงไป จากประตูระบายน้ำสุรัสวดี ลงลำน้ำก่ำไปถึงประตูหนองบึง ประตูนาขาม ประตูนาคู่ ไปจนถึงประตูธรณิศนฤมิต อ.ธาตุพนม จ.นคร พนม ยังมีพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนประชาชน บริเวณ 2 ฝั่งของลำน้ำก่ำยังมีพื้นที่ได้รับผลกระทบอยู่


ปิ๊งไอเดีย! ใช้นาข้าว รับน้ำหนองหารก่อนระบาย


ตนเองมีแนวคิดว่า จะเอาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่บางระกำมาเป็นต้นแบบ ว่าจะสามารถเลื่อนเวลาการเพาะปลูกได้หรือไม่ คือเลื่อนเข้ามาปลูกเดือนเมษา ถึงเดือนกรกฎา ก็เก็บเกี่ยวแล้ว พอเก็บเกี่ยวแล้ว เมื่อเข้าช่วงฤดูน้ำหลาก ฝนตกต่อเนื่อง ก็จะสามารถพร่องน้ำส่วนนี้ออกไปพักไว้รอในพื้นที่ที่มีการเก็บเกี่ยวแล้ว ทั้งนี้เป็นเพียงคิดของตนเองเท่านั้น และได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ใหญ่บ้าน บ.บึงศาลา ต.นาตงวัฒนา อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ที่ต้องเป็นพื้นที่รับน้ำในช่วงแรกๆที่มีการระบายน้ำออกจากหนองหาร ไปถึงประตูระบายน้ำบ้านบึง ได้รับคำตอบว่า ทำได้แต่ต้องสร้างความรับรู้ สร้างความเข้าใจเพราะพฤติกรรมชาวบ้านที่นี่ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียว กข 6 ถ้าจะเปลี่ยนพันธุ์ข้าวต้องสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้เข้าใจ ซึ่งย้ำว่าเป็นพียงแนวคิดตนเองเท่านั้น


ปิ๊งไอเดีย! ใช้นาข้าว รับน้ำหนองหารก่อนระบาย



"การเปลี่ยนพันธุ์ข้าวและฤดูกาลกาลผลิตเหมือนบางระกำ เป็นอีกแนวทาง ที่ยั่งยืน หลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดขึ้นทุกปี เพราะพื้นที่ปลูกข้าวจากสองฝั่งลำน้ำก่ำไปถึงประตูระบายน้ำบ้านหนองบึง คร่าวๆประมาณเกือบหมื่นไร่แล้ว และหากกรมการข้าว เข้ามาสนับสนุนหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ให้กับชาวบ้านได้มีผลผลิตที่ใกล้เคียงในปัจจุบัน และส่วนใหญ่ชาวบ้านที่นี่จะปลูกข้าวเหนียวไว้อุปโภค เอาไว้กินไว้ใช้ในครัวเรือนเอง" อธิบดีกรมชลฯ กล่าว

logoline