svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

แอลกอฮอล์ล้างมือ ใน รพ. เริ่มเอาไม่อยู่! เชื้อดื้อยา!!!

02 สิงหาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แอลกอฮอล์ล้างมือที่เคยใช้คุมซูเปอร์บักแพร่ในโรงพยาบาล เริ่มฆ่าไม่ตายทันทีกับเชื้อดื้อยาบางชนิด ผลการศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลียพบว่า Enterococcus faecium เชื้อแบคทีเรียดื้อยาแวนโคไมซิน หรือ วีอาร์อี มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมตลอด 20 ปีที่ผ่านมา และเริ่มต้านทานน้ำยาล้างมือแบบแอลกอฮอล์และน้ำยาฆ่าเชื้อที่เคยใช้ควบคุมได้




ผลศึกษาที่นักวิจัยใช้คำว่า "คลื่นลูกใหม่ของซูเปอร์บัก" ตีพิมพ์ในวารการแพทย์ ไซแอนซ์ ทรานสเลชันแนล เมดิซีน ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม


เชื้อวีอาร์อี มักตรวจพบในลำไส้เป็นสาเหตุการติดเชื้อในท่อปัสสาวะ บาดแผลและในกระแสเลือด ที่ขึ้นชื่อว่ารักษายาก เนื่องจากดื้อยาปฏิชีวนะหลายขนาน


การถูและล้างมือด้วยไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ หรือเอทิลแอลกอฮอล์ เป็นหลักปฏิบัติทั่วโลก เพื่อลดการแพร่ซูเปอร์บักในโรงพยาบาล อย่างเชื้อ วีอาร์อี และเอ็มอาร์เอสเอ (Staphylococcus aureus แบคทีเรียต้านยาเมทิซิลลิน)

ทิม สไตเนียร์ นักจุลชีวะ สถาบันโดเฮอร์ตี ในออสเตรเลีย ผู้นำทีมวิจัย กล่าวว่า เฉพาะในออสเตรเลีย การรักษาความสะอาดมือโดยใช้แอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 10 เท่าในรอบ 20 ปี แต่ขณะที่อัตราติดเชื้อ MRSA และเชื้ออื่นๆทรงตัว อัตราติดเชื้อวีอาร์อี กลับไม่เป็นเช่นนั้น ทีมวิจัยจึงหาคำตอบว่า เชื้อวีอาร์อีต้านทานแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อหรือไม่ โดยสุ่มตัวอย่างเชื้อแบคทีเรีย 139 ตัวอย่างช่วงปี 2540-2558 จากโรงพยาบาล 2 แห่งในนครเมลเบิร์น และศึกษาว่าเชื้อรอดได้อย่างไรเมื่อเจอไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์


ผลศึกษาพบว่า ตัวอย่างเชื้อวีอาร์อี ที่เก็บมาศึกษาหลังปี 2552 มีฤทธิ์ทานทนต่อแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อมากกว่า เมื่อเทียบกับตัวอย่างแบคทีเรียก่อนปี 2547 จากนั้น นักวิจัยกระจายเชื้อแบคทีเรียบนพื้นกรงหนู และใช้ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด พบว่าตัวอย่างแบคทีเรียต้านแอลฮอล์ฆ่าเชื้อ มีแนวโน้มเข้าไปและเติบโตในทางลำไส้หนูได้

การทานทน หมายความว่า แบคทีเรียมีชีวิตอยู่นานขึ้นหลังถูกแอลกอฮอล์ และระยะเวลาที่ยืดออกไปนี้ มากพอทำให้ติดเชื้อได้

แต่ถึงอย่างนั้น นักวิจัยกล่าวว่า ไม่แนะนำให้เปลี่ยนรูปแบบการใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อแบบหน้ามือเป็นหลังมือ สิ่งนี้เป็นเสาหลักของการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลมานาน และยังคงประสิทธิภาพลดแพร่เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลในระดับสูงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ MSRA แต่ทางการสาธารณสุขควรพยายามใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์เข้มข้นขึ้น และแยกผู้ป่วยติดเชื้อวีอาร์อี

ที่มา : http://www.komchadluek.net/news/foreign/337337

logoline