svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เขื่อนแก่งกระจาน ติดตั้งกาลักน้ำพร่องน้ำ

02 สิงหาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานการณ์น้ำในเขื่อนหลังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุ "เซินติญ" และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง


ส่งผลให้มีฝนตกหนักทั่วทุกภูมิภาคของไทย อ่างเก็บน้ำที่กฟผ.ดูแล หลายแห่งมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ และเขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบริหารจัดการการระบายน้ำได้

เขื่อนแก่งกระจาน ติดตั้งกาลักน้ำพร่องน้ำ



ล่าสุดวานนี้ (1 ส.ค.) ปริมาณน้ำ 5 เขื่อนเริ่มวิกฤต อย่าง ภาคอีสาน เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ภาคตะวันตก เขื่อนศรีนครินทร์และวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี และภาคตะวันออก เขื่อนแก่งกระจาน และปราณบุรี จ.เพชรบุรี น้ำเกิน 80 % ของความจุแล้ว เปรียบเทียบช่วงเดือนเดียวกันเมื่อปี 2554 ซึ่งไทยเกิดน้ำท่วมใหญ่ ทั้งนี้ เขื่อนวชิราลงกรณ แจ้งระบายน้ำเพิ่ม เริ่ม 1-5 ส.ค.นี้ และเขื่อนแก่งกระจาน น้ำอยู่ในเกณฑ์มากต้องเร่งระบายเช่นกัน


เขื่อนแก่งกระจาน ติดตั้งกาลักน้ำพร่องน้ำ

สำหรับการระบายน้ำเขื่อนแก่งกระจาน วันที่ (31 ก.ค.) ที่ 647.49 ล้าน ลบม. 91.20% น้ำเข้า 12.48 ล้าน ลบม. ระบาย 8.64 ล้าน ลบม. หากน้ำไหลเข้าอีก 62.50 ล้าน ลบม. น้ำจะเต็ม อีก 1.37 เมตร จะล้นสปิลเวย์ เจ้าหน้าที่จึงเร่งติดตั้งกาลักน้ำ ตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. โดย 1 ท่อ ระบายได้ 0.33 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ติดตั้งจำนวน 10 ท่อระบายได้ 3.3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

เขื่อนแก่งกระจาน ติดตั้งกาลักน้ำพร่องน้ำ


ขณะที่ชาวบ้านเป็นห่วงว่า การที่เขื่อนแก่งกระจาน ไม่ปล่อยนำ้ เพราะเกรงจะไปท่วมรีสอร์ท ท้ายเขื่อนทั้งหมดหรือไม่ ถึงต้องใช้วิธีกาลักนำ้สูบนำ้ออก และถ้าปล่อยไว้อย่างนี้เกรงจะซ้ำรอยน้ำท่วมใหญ่ เมื่อปี 2546

logoline