svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ทักษิณ" เจอหมายจับติดตัวคดีที่ 5 ปล่อยกู้เอ็กซิมแบงก์โดยทุจริต

04 กรกฎาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ เมื่อเวลา 09.30 น. องค์คณะคดีการปล่อยกู้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ (EXIM BANK) นัดพิจารณาครั้งแรกเพื่อสอบคำให้การจำเลย ภายหลัง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้ที่เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง

ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ ให้นำคดีหมายเลขดำ อม.3/2551 หมายเลขแดง อม.4/2551 ที่ยื่นฟ้อง นายทักษิณ ชินวัตร อายุ 69 ปี อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดุแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรืออละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมาอาญา มาตรา 157 ที่เห็นชอบให้เอ็กซิมแบงก์ อนุมัติปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำอัตรา 3% ต่อปี ให้กับรัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาท

"ทักษิณ" เจอหมายจับติดตัวคดีที่ 5 ปล่อยกู้เอ็กซิมแบงก์โดยทุจริต



ในโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของพม่า (เมียนมาร์) ซึ่งดอกเบี้ยนั้นต่ำกว่าราคาต้นทุนของเอ็กซิมแบงก์ และเพื่อหวังประโยชน์ในธุรกิจดาวเทียม ที่มีการสั่งซื้ออุปกรณ์จาก บริษัท ชินแซทเทอร์ไลท์ ที่เป็นบริษัทในเครือชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชินวัตร ขึ้นมาพิจารณาใหม่โดยไม่มีตัวจำเลย

"ทักษิณ" เจอหมายจับติดตัวคดีที่ 5 ปล่อยกู้เอ็กซิมแบงก์โดยทุจริต



หลังจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (วิ อม.) พ.ศ.2560 ออกมาบังคับใช้  ซึ่งในมาตรา 28 บัญญัติสาระสำคัญว่า ในกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้ตาม มาตรา 27 และศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วแต่จำเลยไม่มาศาล และมีการออกหมายจับจำเลยแล้วยังไม่สามารถจับจำเลยได้ภายใน 3 เดือนนับแต่ออกหมายจับ ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะตั้งทนายความมาดำเนินการแทนตนได้ และไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะมาต่อสู้คดีเมื่อใดก็ได้ ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา

"ทักษิณ" เจอหมายจับติดตัวคดีที่ 5 ปล่อยกู้เอ็กซิมแบงก์โดยทุจริต



โดยคดีนี้องค์คณะฯ มีคำสั่งประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 30 ก.ค.51 แล้วนัดพิจารณาครั้งแรกเพื่อจะสอบคำให้การ นายทักษิณ ในวันที่ 16 ก.ย.51 แต่ปรากฏว่าขณะนั้น นายทักษิณ ไม่มาศาลเนื่องจากหลบหนีไปต่างประเทศในคดีอื่นแล้ว องค์คณะฯ จึงออกมายจับให้ตามตัวมาดำเนินคดีนับตั้งแต่นั้น ขณะที่วันนี้ ป.ป.ช. โจทก์ มีผู้รับมอบอำนาจมาศาลพร้อมเข้าสู่กระบวนพิจารณา ส่วน นายทักษิณ จำเลย ไม่มาศาล และไม่มีผู้แทนใดรับมอบอำนาจมาศาลแทน

องค์คณะฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่า นายทักษิณ จำเลย ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี พฤติการณ์มีเหตุควรเชื่อได้ว่าจำเลยหลบหนี จึงให้ออกหมายจับ โดยให้ ป.ป.ช. โจทก์ ดำเนินการติดตามผลการจับกุมและรายงานผลให้ศาลทราบก่อนถึงวันนัดไม่น้อยกว่า 7 วันซึ่งกรณีไม่สามารถจับจำเลยได้ภายใน  3 เดือนนับแต่ออกหมายจับ ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะตั้งทนายความมาดำเนินการแทนตนได้ ตาม วิ อม. มาตรา 28 วรรคสองอย่างไรก็ดี เมื่อนัดพิจารณาครั้งแรก นายทักษิณ จำเลย ไม่มาศาล ถือว่าจำเลย ตาม วิ อม. มาตรา 33 (ในวันพิจารณาครั้งแรก ในกรณีที่จําเลยมิได้มาศาล ในวันพิจารณาครั้งแรกไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ถือว่าจําเลยให้การปฏิเสธ)โดย องค์คณะฯ กำหนดนัดให้ตรวจพยานหลักฐานต่อไป ในวันที่ 31 ต.ค.นี้ เวลา 09.30 น. โดยให้คู่ความยื่นบัญชีพยานหลักฐาน และแนวทางการไต่สวนพยาน ก่อนวันนัดตรวจพยานหลักฐานไม่น้อยกว่า 14 วัน ส่วนของจำเลยก็ให้ส่งหมายแจ้งวันนัดให้ทราบตามที่อยู่ หากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมายต่อไปผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ อดีตนายกฯ ทักษิณ นั้นปัจจุบัน เมื่อนับรวมคดีวันนี้แล้ว ถูกออกหมายจับในคดีอาญาแล้วถึง 5 หมาย ประกอบด้วย หมายจับติดตามตัวมารับโทษ 1 คดี คือที่ศาลฎีกาฯ มีคำตัดสินถึงที่สุดเมื่อเดือน ต.ค.51 ให้จำคุก 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิด ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยป.ป.ช. มาตรา 100 (1) วรรคสาม ในคดีที่อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องจากกรณีที่คุณหญิงพจมาน อดีตภริยา เข้าประมูลซื้อขายที่ดิน ย่าน รัชดาภิเษก 4 แปลง มูลค่า 772 ล้านบาทเศษจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ก็ถูกออกหมายจับให้นำตัวมารับโทษดังกล่าวภายในอายุความกาลงโทษ 10 ปีส่วนอีก 4 หมาย เป็นหมายจับให้ติดตามตัวมาเข้าสู่กระบวนพิจารณา ในคดีที่มีการนำมาพิจารณาใหม่โดยไม่มีตัวจำเลย ตาม วิ อม.ใหม่ และคดียื่นฟ้องใหม่ ประกอบด้วย1.คดีหมายเลขดำ อม.9/2551 กล่าวหาเห็นชอบออกกฎหมายแปลงค่าสัมปทานโทรคมนาคมและมือถือเป็นภาษีสรรสามิตเอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท 2.คดีหมายเลขดำ อม.3/2555 กล่าวหาร่วมผู้บริหารธนาคาร-เอกชนทุจริตการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทยฯ ให้กับกลุ่มบริษัทกฤษดามหานคร กว่า 9.9 พันล้านบาท ที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้องตั้งแต่ปี 2551 และ 25553.คดีหมายเลขดำ อม.40/2561 กล่าวหาเห็นชอบให้กระทรวงการคลังเข้าเป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ของบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ โดยมิชอบ ที่ ป.ป.ช. ยื่นฟ้องเมื่อเดือน พ.ค.2561 ที่ผ่านมา4.คดีหมายเลขดำ อม.3/2551 กล่าวหาปล่อยกู้เอ็กซิมแบงก์ (EXIM BANK) ให้กับรัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาท เอื้อประโยชน์ธุรกิจกลุ่มชินคอร์ปฯ ที่ ป.ป.ช.ยื่นฟ้อง ตั้งแต่ปี 2551 โดยยังมีคดีกล่าวหาร่วมกลุ่มรัฐมนตรีในรัฐบาลออกนโยบายออกสลากเลขท้าย 3 และ 2 ตัว (หวยบนดิน) โดยมิชอบ คดีหมายเลขดำ อม.1/2551 ที่ ป.ป.ช. ยื่นฟ้องตั้งแต่ 2551 อีกสำนวนด้วย ที่รอให้ศาลฎีกาฯ พิจารณาใหม่ ซึ่งศาลฎีกาฯ นัดพิจารณาครั้งแรกในวันที่ 25 ก.ค.นี้ เวลา 13.30 น.

logoline