svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

อย่าปล่อยให้ 'กสทช.' ลอยนวล! คอลัมน์ 'กวาดบ้านกวาดเมือง' โดย ลมใต้ปีก

01 เมษายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ความคิดเรื่องการพักหนี้ที่จะช่วยเหลือคนจนหรือคนที่ประสบปัญหา อย่างเช่นการพักหนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี 2544 ตอนยุค"ทักษิณ ชินวัตร"ใช้พักหนี้เกษตรกรครั้งแรก 3 ปี ซึ่งเป็นการช่วยเหลือคนรากหญ้าโดยแท้ และได้รับการตอบสนองด้วยคะแนนเสียงเลือกตั้งในขณะนั้นจนเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

     

      กรณีกสทช.ได้นำเสนอมาตรการเรื่องการพักหนี้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลกับผู้ประกอบการโครงข่ายค่ายมือถือ 2 ราย จะต้องแยกกันให้ชัด เป็นที่รู้กันดีว่า กรณ๊ทีวีดิจิทัลที่กสทช.กำเนินนโยบายตั้งแต่ปี 2557 เป็นนโยบายที่ผิดพลาดและทำให้ผู้ประกอบการประสบปัญหา มีทีวีดิจิทัลจำนวนนับ 10 ช่องขาดทุนจากการประกอบการบางรายหลัก 100 ล้านต่อปี บางรายหลัก 1,000 ล้านต่อปี ในขณะที่ผู้ประกอบการโครงข่ายมือถือเป็นผู้ประกอการที่ได้กำไรจากการประกอบการ เพระฉะนั้นความเดือดร้อนมันเกิดแก่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลไม่ใช่ผู้ประกอบการโครงข่ายมือถือ

      แต่เหตุไฉนกสทช.จึงไป "สอดไส้" เอาผู้ประกอบการโครงข่ายถือ ซึ่งไม่ได้เดือดร้อนจากเหตุปัจจัยในการประกอบธุรกิจเข้าไปแก้ไขพ่วงกับทีวีดิจิทัลที่เดือดร้อนมาในระยะแรมปี


      เป็นที่น่าสังเกตว่าการที่ "นายฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ไปเสนอให้รัฐบาลออก ม.44 เพื่อพักหนี้ให้กับทีวีดิจิทัลพร้อมกับสอดไส้ ยืดเวลาชำระหนี้มือถือ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ไปด้วย จึงเป็นเรื่องที่จะต้องตรวจสอบเป็นอย่างยิ่งว่า กสทช.กำลังไปอุ้มค่ายมือถือโดยอาศัยความเดือดร้อนของทีวีดิจิทัลเป็นตัวประกัน


      เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วที่ "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ตีกลับเรื่องนี้ออกมาไม่ยอมกระบวนการการสอดไส้ที่เกิดขึ้น ซึ่งเข้าใจว่าพลอกประยุทธ์รู้ดีว่ามันมีการล็อบบี้จากผู้ประกอบการมือถือบางค่ายที่อาศัยพ่วงเหตุของทีวีดิจิทัลเพื่อตัวเองได้รับผลประโยชน์

     ถ้า "พลเอกประยุทธ์" ยอมเซ็นต์ไป จะทำให้มัการยืดเวลาการชำระหนี้ของค่ายมือถือ 130,000 ล้านบาท โดยที่เสียอัตราดอกเบี้ยในราคาถูก เพียงถ้าคำนวนแล้วพวกค่ายมือถือมีส่วนต่างของดอกเบี้ย จำนวนมาก ซึ่งหมายความว่าได้กำไรเฉพาะดอกเบี้ยนับ 1,000 ล้านแล้ว เพราะฉะนั้นรัฐบาลและคสช.ต้องรอบคอบในการออกกฏหมายนี้


      แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทั้งหมด มีความเดือดร้อนจากนโยบายที่ผิดพลาดของกสทช.การขยายเครือข่ายที่ไม่เป็นไปตามสัญญาและผลประกอบการที่ตกต่ำ รวมทั้งการเข้ามาของเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย ที่ทำธุรกิจทีวีดิจิทัลโดนพายุเทคโนโลยีซัดกระหน่ำ จนทำให้ปั่นปวนไปทั้งหมด ก็เป็นเรื่องที่ควรจะเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มที่เดือดร้อน แต่ไม่ใช่ไปอุ้มพวกคนรวยล้มบนฟูก

      เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องออก ม.44 ช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเพื่อให้เขาสามารถประกอบการต่อไปได้ เพราะถ้ากลุ่มทีวีดิจิทัลมีอันต้องพลั้งพลาดไปทั้งระบบจะมีคนตกงานในระรบอีกหลายคนในธุรกิจทีวีดิจิทัลนี้ ก็จะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลงไปอีกเพราะ เพราะฉะนั้นการที่รัฐบาลจะช่วยเหลือหรือพยุงเรื่องทีวีดิจิทัลก็จะได้อานิสงค์ในการที่จะทำให้คนในระบบนี้มีงานทำ ซึ่งผิดกับพวกค่ายมือที่เขาไม่ได้มีความเดือดร้อนเลย แล้วทำไมจะต้องไปออกมาตรการช่วยเหลือ?

     เพราะฉะนั้นถ้าหากพลเอกประยุทธ์แยกเรื่องของทีวีดิจิทัลออกจากเรื่องค่ายมือถือได้ พลเอกประยุทธ์และคสช.ควรจะออก ม.44 จำนวน 2 ฉบับ หนึ่งคือเรื่องของการแก้ไขปัญหาทีวีดิจิทัลตามที่มีการเสนอโดยสมาคมทีวีดิจิทัลและได้รับเสียงสนับสนุนจากคนทั่วไป กับอีกฉบับหนึ่งออก ม.44 ในการกวาดบ้านกสทช. เพราะถือว่าเรื่องนี้เป็นการสอดไส้เสมือนขายเหล้าพ่วงเบียร์ เพราะฉะนั้นองค์กรกสทช.ก็มีอะไรซ่อนอยู่ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการอยู่ตลอดเวลา

     และอีกอย่างหนึ่ง คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เองก็ไม่ได้มีความเต็มใจที่จะทำงานกสทช.อยู่แล้ว เพราะว่าเห็นได้จากการไปสมัครเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่มีอันต้องพ้นไปเนื่องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ไม่ยอมรับและไม่โหวตให้ทั้งคณะหลังจากตรวจสอบประวัติแล้วจึงทำให้ต้องเริ่มกระบวนการสรรหาใหม่


      เพราะฉะนั้นเป็นโอกาสที่ดีในวันนี้เมื่อเรื่องแดงออกมาแล้วจงใช้อำนาจที่มีอยู่กวาดบ้านกสทช.ให้ใสสะอาดและโปร่งใสเสียที

logoline