svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

แรงงานประมงและอาหารทะเลยังถูกละเมิด

08 มีนาคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

งานวิจัยชิ้นแรกในไทยเรื่องข้อมูลพื้นฐานแรงงานประมงและอาหารทะเลในไทยพบ แรงงานต่างชาติยังถูกละเมิด เช่น ยังไม้ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ ความไม่เท่าเทียมค่าจ้างหญิงชาย และถูกยึดเอกสาร

โครงการสิทธิเรื่อสู่ฝั่ง ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ได้ให้องค์กรแรงงานระหว่างประเทศทำวิจัยเรื่องสภาพการทำงานในประเทศไทยของแรงงานประมงและอาหารทะเล โดยสัมภาษณ์แรงงานในภาคประมงและอาหารทะเล แรงงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และภาคประชาสังคม รวม 434 ซึ่ง 95% เป็นแรงงานข้ามชาติชาวพม่าและกัมพูชา ใน 11 จังหวัด ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน 2560 ยังพบการละเมิดแรงงาน

- 34 % ของของแรงงานประมงและอาหารทะเลไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ
- ยังมีความไม่เท่าเทียมเรื่องค่าจ้างระหว่างหญิงชาย 52% ของแรงงานหญิงได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ
- 24% ในภาคประมงถูกนายจ้างยึดค่าจ้าง บางคนถูกยึดเป็นเวลา 12 เดือนหรือมากกว่านั้น
- 34% ของแรงงานถูกนายจ้างยึดเอกสาร

ขณะเดียวกันก็พบว่าสิทธิแรงงานในบางประเด็นมีการปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้น
- การทำร้ายร่างกายน้อยลอง
- การจ้างแรงงานอายุน้อยกว่า 18 มีน้อยกว่า 1%- แรงงานข้ามชาติกว่า 43% มีสัญญาว่าจ้างที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มขึ้นกว่า 4 ปีที่ผ่านมา
- แรงงานประมงบางคนได้รับค่าจ้างแต่ละเดือนสูงขึ้น

นายแกรห์ม บัคลีย์ ผอ.สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศประจำประเทศไทย กัมพูชา และสปป.ลาว ระบุว่า แม้งานวิจัยชิ้นนี้จะสำรวจในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็ก แต่ก็จะเป็นข้อมูลที่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล ซึ่งจะสามารถเป็นตัวชี้วัดที่เปรียบเทียบในอนาคตต่อไปได้ว่า มีการพัฒนาจากปัจจุบันไปแค่ไหน

จากรายงานฉบับนี้องค์การแรงงานระหว่างประเทศเสนอให้รัฐบาลไทย องค์การนายจ้าง สหภาคแรงงาน ภาคประชาสังคม และผู้ซื้ออาหารทั่วโลกร่วมผลักดันให้การบังคับใช้กฎหมายของไทยมีประสิทธิภาพ
ต้องมีการเคารพสิทธิแรงงาน ซึ่งสิ่งที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศเป็นกังวล คือ การปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานระดับนานาชาติ ซึ่งนี่ไม่ได้มีความสำคัญต่อแรงงานที่ต้องได้รับการเคารพสิทธิสิทธิเท่านั้น แต่ยังต้องการให้แรงงานรับรู้และตระหนักถึงสิทธิของพวกเขา ด้านผู้ประกอบการและภาคเอกชนก็มีส่วนสำคัญที่จะให้เกิดการแข่งขันในระดับเดียวกัน นอกจากนี้ผู้บริโภคก็ควรตระหนักถึงที่มาและปัจจัยแวดล้อมของสินค้า ซึ่งผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อได้ นี่คือหน้าที่ของเรา นอกจากนี้เรายังยังต้องการตัวชี้วัดทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพว่าเกิดอะไรขึ้นในอุตสาหกรรมนี้

ด้านนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ก็ระบุเช่นเดียวกันว่า ปัญหาแรงงานข้ามชาติเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไข

logoline