svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ครม.ไฟเขียวค่าแรงขั้นต่ำพ่วง 3 มาตรการช่วย SME

31 มกราคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ที่ประชุม ครม.เมื่อวานนี้ มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 5-22 บาทต่อวัน หรือมีอัตราค่าจ้างตั้งแต่ 308-330 บาทตามแต่ละพื้นที่ เริ่มมีผล 1 เม.ย.นี้ พร้อมออก 3 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ

โฆษกประจำตัวรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวานนี้(30ม.ค.) เห็นชอบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นตั้งแต่ 5-22 บาท หรือมีอัตราค่าจ้างตั้งแต่ 308-330 บาทต่อวัน ตามแต่พื้นที่ในแต่ละจังหวัดที่ทุกจังหวัดให้ความเห็นชอบ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2561

นอกจากนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการคุ้มครองผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขี้นต่ำ 3 มาตรการ ได้แก่ 1.มาตรการลดหย่อนภาษี โดยให้ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท และมีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน นำรายจ่ายที่จ่ายเป็นค่าแรงให้ลูกจ้างมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 1.15 เท่า โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ไปจนถึงสิ้นปีนี้ คาดว่ารัฐจะเสียงบประมาณ 5,400 ล้านบาท

มาตรการที่ 2. เป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งจากการประเมินพบว่าการขึ้นค่าแรงจะส่งผลต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้อยละ 0.5-1 ด้วยวงเงินกว่า 5,000 ล้านบาท โดยให้มีการจัดตั้งคณะทำงานลงพื้นที่คัดเลือกผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการจัดสัมมนาและอบรมในการพัฒนาสถานประกอบการ คาดว่าจะมีเอสเอ็มอีเข้าร่วม 50,000 แห่ง มีผู้ประกอบการ 250,000 คน โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นเอสเอ็มอีที่อยู่ในระบบเท่านั้น

และมาตรการที่ 3 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 สำหรับผู้ประกอบการที่มีการนำเครื่องจักรมาปรับปรุงและมีการนำระบบดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการจัดการธุรกิจ โดยให้ยกเว้นเป็นเวลา 3 ปี และขยายขอบเขตการอบรมบุคลากรของผู้ประกอบการให้มากขึ้น

logoline