svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

อัยการ จับตาดู การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 1-2 ปีนี้ หลังปฏิรูปประเทศ

04 มกราคม 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"รองโฆษกอัยการ" ระบุ ติดตาม 2 ปีนี้สู่การเปลี่ยนแปลง หลังมีแนวทางปฏิรูปอัยการ ร่วม ตร.สอบสวน อัยการออกตัวทุกอย่างนโยบายรัฐ ต้องพร้อมทำตาม


เมื่อวันที่ 4 ม.ค.61 "นายธรัมพ์ ชาลีจันทร์" รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้กล่าวถึงการบริหารกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งเป็น 1 ในนโยบายบริหารสำนักงานอัยการสูงสุดว่า ขณะนี้เรื่องที่เกี่ยวข้องคือการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เวลานี้คณะกรรมการปฏิรูปฯ ก็กำลังพูดถึงอำนาจการสอบสวนที่เป็นเรื่องหนึ่งซึ่งดำเนินการตามหลักการรัฐธรรมนูญฯ จึงเป็นอีกประเด็นที่สำนักงานอัยการสูงสุดศึกษาและติดตามอย่างใกล้ชิด โดยการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมก็ถือเป็นนโยบายรัฐ ก็มีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่าอัยการพร้อมรับภารกิจนี้หรือไม่ถ้าจะต้องร่วมสอบสวน ก็ตอบว่าเมื่อเป็นนโยบายรัฐเราก็พร้อมทำตาม ซึ่งช่วง 1-2 ปีต้องจับตาดู อาจมีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ส่วนการเตรียมความพร้อมนั้นปัจจุบันเรามีอัยการทั่วประเทศ 3,358 คน ทุกคนก็มีศักยภาพพร้อมดำเนินการได้หมด นอกจากนี้ยังมีสำนักงานการสอบสวนที่ตั้งมาแล้วกว่า 3 ปี

อัยการ จับตาดู การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 1-2 ปีนี้ หลังปฏิรูปประเทศ



ขณะที่ "นายประยุทธ เพชรคุณ" รองโฆษกอัยการ กล่าวเสริมเรื่องนี้ว่า ตัวกฎหมายใช้คำว่าถ่วงดุลการสอบสวน ซึ่งนายเข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุด ให้นโยบายว่าเป็นการร่วมกันทำงาน ในการเตรียมความพร้อมอัยการสูงสุดจึงพร้อมอยู่แล้ว แต่กรอบรูปแบบปฏิบัติจะเป็นอย่างไรต้องรอผู้ที่มีอำนาจเกี่ยวข้องดำเนิน แต่ไม่ว่าจะออกมิติไหนสำนักงานอัยการสูงสุดก็พร้อมทั้งร่วมสอบสวนทั้งหมดหรือบางส่วน หรือจะเข้าไปตรวจสอบถ่วงดุลทั้งหมดหรือบางส่วน ถ้าจะต้องเพิ่มอัตรากำลัง เพิ่มงบประมาณเราก็ต้องทำ ถ้าเป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจในบ้านเมืองก็พร้อม

อัยการ จับตาดู การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 1-2 ปีนี้ หลังปฏิรูปประเทศ


เมื่อถามว่า ในหมู่ของอัยการด้วยกันเองมองอย่างไรการร่วมสอบสวนเห็นด้วยหรือไม่ นายประยุทธ รองโฆษกอัยการฯ ถ้ามองในแง่นโยบายของผู้ใหญ่ กับตอบแทนอัยการทั้งประเทศก็ต้องบอกว่าพร้อม ทุกคนพร้อมจะทำงานซึ่งเราทำงานด้านคดีมาตลอดเรารู้ว่าการไปร่วมทำตรงนั้นจะมีประสิทธิภาพและประชาชนได้ประโยชน์ที่สำคัญดีกับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเดิมพนักงานสอบสวนทำก็ดีอยู่ยิ่งร่วมกันทำก็ยิ่งดีขึ้นไปช่วยกันทำงานก็จะดีต่อกระบวนการยุติธรรมและประชาชน เหมือนอย่างคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา ไม่ใช่ดีกับพนักงานสอบสวนหรือดีกับอัยการ ไม่ใช่แย่งอำนาจ ไม่ใช่คุมกัน เพราะไม่ใช่การเรียกร้องของสำนักงานอัยการสูงสุด

logoline