svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ส่องสัมพันธ์ "บิ๊กป้อม" กับ ประธาน ป.ป.ช.

12 ธันวาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ด้วยความสัมพันธ์ที่แนบแน่น ระหว่างพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ กับประธานปปช.พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิต ในการตรวจสอบนาฬิการหรู และแหวนเพชร จนกลายเป็นแรงกดดันและอาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นขององค์กรอิสระ ติดตามได้จากรายงานชิ้นนี้

จนถึงวันนี้สังคมยังไร้คำตอบจาก บิ๊กป้อม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง และ รัฐมนตรีกลาโหม ถึงที่มา ที่ไปของแหวนเพชร และ นาฬิกาหรู แม้ว่าจะทำหนังสือชี้แจงต่อ ป.ป.ช. เป็นลายลักษณ์ษร จะมีก็เพียงแค่คำบอกเล่า ที่ไร้คำยืนยันว่า เป็นแหวนเพชรมรดกตกทอดจากคุณแม่ และนาฬิกาของเพื่อนนักธุรกิจให้หยิบยืมมาใส่เท่านั้น

เมื่อมีข้อสงสัยจากสังคม จึงเป็นหน้าที่ของ ปปช. ในการตรวจสอบ และไขข้อกระจ่าง เพราะเผือกร้อนนี้ จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของ ป.ป.ช. อยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องกลายเป็นหมู่บ้านกระสุนตกตามไปด้วย

โดยเฉพาะสถานะความสัมพันธ์ ระหว่าง "บิ๊กป้อม" พี่ใหญ่บูรพาพยัฆ กับ พล.ต.อ. วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. ที่มองว่าสนิทแนบแน่นกันมายาวนาน ตั้งแต่ช่วงหลังรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 พล.ต.อ.วัชรพล ได้รับการวางตัวให้มาปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แทน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ที่ถูกคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่สำนักนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. และได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการรองนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประวิตร ก่อนจะลาออกจาก สนช. และ รองเลขาธิการรองนายกฯ เพื่อลงสมัครเป็นกรรมการ ป.ป.ช. จนก้าวขึ้นเข้าสู่ตำแหน่งประธาน ป.ป.ช.ในที่สุด

ความสัมพันธ์นี้ชัดเจนมากขึ้นเมื่อ พล.อ.ประวิตร ส่งสัญญาณไปยังกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และ สนช. ไม่ให้มีการเซตซีโร่ ป.ป.ช.ชุดนี้ ต่างจากองค์กรอิสระอื่นๆ และกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารจารณ์ กรณณี ป.ป.ช.มีมติอุทธรณ์ผลคำพิพากษาคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ปี 2551 ว่าไม่มีความผิด เพียงคนเดียวคือ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

แต่จำเลย 3 คนที่เหลือ โดยเฉพาะ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. น้องชายของ บิ๊กป้อม ป.ป.ช.ไม่ได้อุทธรณ์ จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเกี่ยวข้องกับสถานะความเป็นน้องชายของพี่ใหญ่หรือไม่

การชี้ขาดแหวเพชร และนาฬิกาหรู ของ ป.ป.ช.ครั้งนี้ จึงมีผลต่อความเชื่อมั่นในสายตาประชาชนเป็นอย่างมาก รวมไปถึงภาพลักษณ์ข้อครหาเดิมที่มององค์กรอิสระในอดีตว่าถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

ยิ่งเมื่อเจาะลึกลงไปถึงการทำงานของ ป.ป.ช. 9 คน ยังแบ่งเป็นกรรมการ ป.ป.ช.ที่ยังอยู่ในตำแหน่ง 4 คน ประกอบด้วย นายปรีชา เลิศกมลมาศ , พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง , นายณรงค์ รัฐอมฤต และ นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กับกรรมการ ป.ป.ช.ที่เพิ่งได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีก 5 คน คือ พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์ , นายวิทยา อาคมพิทักษ์ , พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ , นางสุวณา สุวรรณจูฑะ และนายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร

แรงกดดันนี้ไม่ได้พุ่งเป้าไปเฉพาะ ป.ป.ช. เท่านั้น แต่แต่ยังส่งผลกระทบต่อรัฐบาล นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ประกาศเดินหน้าปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นถึงขั้นหยิบยกให้เป็นวาระแห่งชาติ และไม่คบคนโกง.

logoline