svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ขยะอันตราย ภัยใกล้ตัว แนะกำจัดให้ถูกวิธี

30 พฤศจิกายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ขยะที่เกิดในชีวิตประจำของเรานอกจากขยะสด ขยะแห้งแล้ว ยังมีขยะที่เรียกว่าเป็นของเสียอันตราย คือจำพวกซากเครื่องใช้ไฟฟ้า กระป๋องเคมีภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้หากทิ้งรวมกับขยะอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแน่นอน แล้วเราควรทิ้งขยะพวกนี้อย่างไร



ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า แบตเตอร์รี่มือถือ ถ่านไฟฉาย หลอดไฟคือตัวอย่างของเสียอันตรายจากชุมชน ซึ่งมีสารโลหะหนักอย่างตะกั่ว แคดเมี่ยม และปรอทผสมอยู่ สามารถปนเปื้อนมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การคัดแยกของเสียอันตรายเหล่านี้ ออกจากขยะทั่วไป จึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อนำไปจำกัดในสถานที่ที่เหมาะสมและไม่ส่งผลกระทบต่อเนื่อง 

จุดทิ้งของเสียอันตราย หรือ Drop off ที่กำลังจะถูกติดตั้งในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ตามที่เอกชนได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงกับกรมควบคุมมลพิษไว้เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยกันแยกของเสียอันตรายออกมาจัดการได้ง่ายขึ้น แต่หากหลายคน ไม่สะดวกขนของเสียออกมาทิ้งที่ Drop off ต้องทำอย่างไร 

กรุงเทพมหานครในฐานะผู้การจัดการขยะ บอกจากอย่างน้อยให้ ประชาชนต้องแยกของเสียอันตราย ออกจากขยะตั้งแต่ต้นทาง ไม่ทิ้งรวมกับขยะชนิดอื่นๆ โดยเจ้าหน้าที่รถเก็บขยะของกรุงเทพมหานครจะเก็บแยกได้สะดวกมากขึ้น 

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่าคนไทยทิ้งของเสียอันตราย 7 กิโลกรัมต่อคน ต่อปี ปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนในปี 2559 มีมากถึง 606,319 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากปีก่อน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 65 อีกร้อยละ 35 เป็นแบตเตอร์รี่ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์และภาชนะบรรจุสารเคมี ซึ่งของเสียงเหล่านี้ หากทิ้งรวมกับขยะทั่วไป และได้รับการจัดการอย่างไม่ถูกวิธี อาจเกิดการรั่วไหลสู่งสิ่งแวดล้อม จะปนเปื้อนสู่ระบบนิเวศ และห่วงโซ่อาหาร ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อ ชีวิตมนุษย์ สัตว์และพืช  

ของเสียอันตรายที่เป็นซากอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ บางส่วนสามารถนำมารีไซเคิลแยกโลหะมีค่าอย่างเช่นทองคำได้ แต่ประเทศไทยยังมีผู้ประกอบการเพียงไม่กี่รายที่สามารถรีไซเคิลและแยกโลหะมีค่าออกจากซากผลิตภัณฑ์ ได้อย่างปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

logoline