svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชี้ข้าราชการไทยอาจเข้าข่าย "ละเว้นปฏิบัติหน้าที่" ไม่ฟันธงผลกระทบ จี้ DSI ดำเนินคดีเหมืองทอง

21 พฤศจิกายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม้เหมืองทอง บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) จะหยุดการประกอบกิจการไปตั้งแต่มีคำสั่ง คสช. ตาม ม.44 เป็นเวลา 11 เดือนแล้ว แต่ยังมีน้ำสีดำส่งกลิ่นเหม็นผุดกลางทุ่งนาใกล้เหมืองแร่ทองคำ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ชาวบ้านเชื่อว่า รั่วมาจากเหมือง


นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ของกรณีน้ำผุดกลางทุ่งนา คณะกรรมการตรวจสอบข้อขัดแย้งผลกระทบจากเหมืองทองคำฯ ได้เก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจว่ามีสารเคมีที่ตรงกับการประกอบกิจการของเหมืองทองหรือไม่

ไม่มีใครชี้ชัด เพียงแต่ระบุว่า สารเคมีที่พบ มีลักษณะที่ไกล้เคียงกับสารเคมีที่เหมืองใช้ประกอบการ (แหล่งข่าว)เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 กลุ่มภาคประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ นำโดยนางอารมย์ คำจริง และนางวันเพ็ญ พรมรังสรรค์ เดินทางมาที่กรมสอบสวนคดี เพื่อติดตามประเด็นร้องเรียนเหมืองทองก่อนหน้า และขอให้เพิ่มประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นคดีพิเศษ

"เคยยื่นคำร้องขอให้ดีเอสไอรับคดีเหมืองทองคำของบริษัทอัคราฯ เป็นคดีพิเศษ กรณีการขุดถนนโดยไม่ได้รับประทานบัตรและการออกโฉนดมิชอบด้วยกฎหมาย จึงมาติดตามความคืบหน้า หากคดีมีความล่าช้าจะผูกโยงความเสียหายกับต่างประเทศ ขณะที่ปัจจุบันชาวบ้านรอบเหมืองทองคำเจ็บป่วยและเสียชีวิต รวมทั้งมีน้ำสีดำไหลเข้ามาในชุมชน" นางวันเพ็ญกล่าว
กลุ่มภาคประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ เคยยื่นเรื่องร้องเรียนเหมืองทอง ต่อกรมสวนสอบคดีพิเศษ เมื่อปี 2558 มีประเด็นดังนี้

ชี้ข้าราชการไทยอาจเข้าข่าย "ละเว้นปฏิบัติหน้าที่" ไม่ฟันธงผลกระทบ จี้ DSI ดำเนินคดีเหมืองทอง


การทำเหมืองในพื้นที่สาธารณะที่ไม่ได้ขอประทานบัตร การย้ายบ่อเก็บกากแร่ที่ 2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การประกอบโรงประกอบโลหกรรมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงผังโครงการทำเหมืองแร่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเป็นนอมินีต่างชาติในการถือครองที่ดินและทำเหมืองแร่ การหลีกเลี่ยงภาษี การฟอกเงินในการทำธุรกิจ และการฉ้อโกงฉ้อฉลต่อตลาดหลักทรัพย์

ต่อมาปี 2559 กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับเรื่องเหล่านี้ไว้เป็นคดีพิเศษ และขณะนี้อยู่ระหว่างทำนวนส่งอัยการฟ้อง คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน มีนาคม ปี 2561

ผู้อำนวยการกองบริหารคดีพิเศษ วรณัน ศรีล้ำ เปิดเผยข้อเท็จจริงบางอย่าง ระหว่างทำการสอบสวนเรื่องนี้ ว่าความผิดหลักคือการทำเหมืองทองคำผิดกฎหมายและใช้ที่สาธารณประโยชน์ ส่วนคดีสิ่งแวดล้อมหากมีหลักฐานเชื่อมโยงไปถึง ดีเอสไอก็มีอำนาจสอบขยายผลอยู่แล้ว แต่คดีดังกล่าวมีผลกระทบระดับประเทศ ดังนั้น การพิจารณาจึงต้องรอบคอบ โดยพนักงานสอบสวนจะเร่งรัดการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2561

หลักฐานในข้อกล่าวหาต่อเหมืองทองคำ ที่อยู่ในมือกรมสอบสวนคดีพิเศษ อาจเป็นข้อต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ หลังบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด (สัญชาติออสเตรเลีย) ฟ้องรัฐบาลไทย (คสช.) ผิดข้อตกลงการค้าไทยออสเตรเลีย เพราะใช้ ม.44 ปิดเหมืองทอง

"เราตั้งคำถามว่าหน่วยราชการทำอะไรแล้วหรือยัง เช่น มีแต่คนบอกว่ามันมีสารหนู แมงกานีส อยู่ในดินธรรมชาติ แต่จิ๊กซอร์ชิ้นเดียวที่รัฐบาลไทยไม่บยอมชี้ว่าใครเป็นคนไประเบิดขุดมันขึ้นมา คือสิ่งที่ไม่มีใครชี้แล้วผู้กระทำผิดยังลอยนวลอยู่ เป็นหนึ่งที่เรื่องที่ภาคประชาชนร้องให้สอบสวน เจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งถ้าถึงวันนั้นบริษัทเหมืองทองคำอาจจะรอด แต่เจ้าหน้าที่ในประเทศไทยอาจจะผิดกฎหมายเสียเอง" นางวันเพ็ญกล่าว

อย่างไรก็ตามไม่ใช่เพียงกรมสอบสวนคดีพิเศษเท่านั้นที่เป็นหน่วยสืบหาข้อเท็จจริงกรณีเหมืองทอง ยังมีคณะกรรมการปราชปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจสอบข้อขัดแย้งเหมืองทอง 4 กระทรวง เป็นต้น แต่ทุกอย่างดำเนินไปอย่างล่าช้า ในขณะที่ภาคประชาชนเห็นว่า แม้เหมืองทองจะส่งผลกระทบสูง แต่บริษัทก็สามารถชี้แจงจนยากต่อการพิสูจน์ ซึ่งอาจสร้างชอบธรรมจนนำไปสู่การชนะคดีในชั้นอนุญาโตลุลาการ

ชี้ข้าราชการไทยอาจเข้าข่าย "ละเว้นปฏิบัติหน้าที่" ไม่ฟันธงผลกระทบ จี้ DSI ดำเนินคดีเหมืองทอง

logoline