svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดตลาดการศึกษาใหม่ เด็กไทยแห่เรียนจีน

15 พฤศจิกายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ความนิยมของ นักเรียนไทยเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศจีนมากขึ้นทุกปี จากหลายเหตุผลที่ต้องการเรียนรู้ภาษาที่ 3 เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการหางานหลังจากเรียนจบ และการเรียนเฉพาะด้านในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด การได้การแนะแนวที่ถูกทางจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไปติดตามได้จากรายงานคุณพรรณทิพา จิตราวุฒิพร

ด้วยเหตุผลของการทะลักล้นของนักท่องเที่ยวจีน ที่มีจำนวน ถึง 8,757,466 คน ในปี 2559 จากนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เข้ามาในประเทศไทย จำนวน 32,588,303 คน

ไม่เพียงจำนวนตัวเลขของนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ด้วยเหตุผลของตัวเลขเศรษฐกิจ ที่ถือว่าประเทศจีนเป็นตลาดอับดับต้น ๆ ของตลาดโลกเช่นเดียวกัน ภาษาจีนจึงอาจเป็นอีกหนึ่งความจำเป็น

นี่จึงส่งผลให้ นักเรียนไทย นิยมไปศึกษาต่อประเทศจีนมากขึ้น จากข้อมูลกระทรวงศึกษาธิการจีนเปิดเผยตัวเลขเมื่อปี 2559 ว่ามีนักเรียนชาวไทยเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศจีนกว่า 23,000 คน

หลายเหตุผลที่นักเรียนเลือกที่จะไปเรียนต่อที่นั่น ทั้งการเรียนรู้ภาษาที่ 3 เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการหางานหลังจากเรียนจบ และการเรียนเฉพาะด้านในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ

เหตุผลที่ไปเรียนต่อ

นักเรียนส่วนใหญ่ที่สนใจไปเรียนต่อต่างประเทศ มีทักษะด้านภาษาจีนเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ต้องการไปศึกษาต่อเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานธุรกิจระหว่างประเทศ เพราะเชื่อว่าเรียนจบมาจะมีงานรองรับ

รองประธานด้านการบริหาร ไอเก็ท (ไทยแลนด์) บอกว่า การที่นักเรียนไทย จะไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศจีน จะต้องมีการวางแผนการเรียน การแนะแนวทางให้กับนักเรียนที่สนใจ รวมถึงแนะนำทุนการศึกษามหาวิทยาลัยจีน พร้อมด้วยหลักสูตรปรับพื้นฐานการเรียนบางรายวิชา เพื่อช่วยให้นักศึกษาปรับตัวได้ง่ายเมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย จึงเป็นสิ่งจำเป็น

รองประธานด้านการบริหาร ไอเก็ท (ไทยแลนด์) ยอมรับว่า ปัญหาที่เด็กไทยมักประสบในการเลือกมหาวิทยาลัยคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลมหาวิทยาลัยคุณภาพประเทศจีน และขาดการวางแผนในการศึกษาต่อ

การได้รับคำแนะนำที่ดีจากองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมแลกเปลี่ยนบุคลากรไทย-จีน และองค์กรธุรกิจไทย-จีน หลายแห่ง จะส่งผลให้นักเรียนและผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าเมื่อเรียนจบมาจะมีงานรองรับ อย่างแน่นอน

logoline