svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กินเค็ม-ดื่มเหล้า เสี่ยง"หัวใจล้มเหลว"

11 พฤศจิกายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โจ บอยสเก๊าท์ นักร้องดังเสียชีวิตคาเวที แพทย์วินิจฉัยเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ-ดื่มแอลกอฮอลมากเกินควร

จากกรณี "โจ บอยสเก๊าท์" นักร้องดังเสียชีวิตขณะทำการแสดงสดบนเวทีภายในบาร์ย่านทาวน์อินทาวน์เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยมีลักษณะอาการคือ อยู่ดีๆ ก็ล้มลงไป ตาเหลือก กัดกราม น้ำลายฟูมปาก หายใจเบา ตัวเย็นลง จึงได้นำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน

จากข้อมูลในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ระบุเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับโรคภาวะหัวใจล้มเหลวว่า เกิดจากสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ โดยอาจเกิดจากมีความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายหรือรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ

โดยชนิดของสภาวะหัวใจล้อเหลวจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 
1. ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการคงที่แต่กลับแย่ลงในเวลาไม่นาน 
2. ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง พบได้ในผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันมาก่อนหรือไม่ก็ได้ แต่ในขณะที่ทำการวินิจฉัยผู้ป่วยมีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวหรือมีการทำงานที่ผิดปกติไปของหัวใจคงอยู่เป็นเวลานาน ซึ่งโรคนี้จะแสดงอาการเมื่อมีปัจจัย มากระตุ้น เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ขาดการควบคุมและดูแลในเรื่องเกลือ น้ำ และยา ได้รับยาที่มีฤทธิ์เป็นพิษต่อหัวใจ ภาวะติดเชื้อ การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินควร การทำงานของไตผิดปกติ รวมถึงการรับประทานอาหารเค็มเกินไป

สำหรับอาการของโรคนี้จะมีลักษณะอาการที่ อาการหายใจเหนื่อย อ่อนเพลีย มีอาการบวมจากภาวะคั่งน้ำและเกลือ

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคนี้คือ ควรงดสูบบุหรี่และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1-2 แก้วต่อวัน หรืองดอย่างเด็ดขาด เพราะแอลกอฮอล์มีผลกดการทำงานของหัวใจและทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม หมั่นออกกำลังกายที่พอเหมาะอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้อาการต่างๆ ของภาวะคั่งน้ำและเกลือ ได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น บวม เหนื่อย นอนราบไม่ได้หรือต้องลุกขึ้นมานั่งหอบตอนกลางคืน หากมีอาการต้องแจ้งแพทย์และพยาบาลที่ให้การดูแลรักษา และ จำกัดการรับประทานเกลือโซเดียม (2-3 กรัมต่อวัน) ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม อาหารกระป๋อง และของหมักดอง

logoline