svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ป๋าเปรม" ตำนานคนบนแผ่นดิน

24 สิงหาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อีก 2 วันก็จะถึงวัน ครบรอบวันเกิด 97 ปี ของพล.อ.เปรม ติณสูลานน์ ประธานองค์มนตรี คนที่ผ่านร้อน ผ่านหนาว และผ่านวิกฤติเกือจะทุกช่วงของประเทศไทย จนทำให้ "ป๋าเปรม" แห่งบ้านสีเสา กลายเป็นคนในตำนานบนแผ่นดิน ติดตามแง่มุม ที่คนในโลกออกไลน์ไม่เคยรู้มาก่อน

ประตูบ้านสี่เสาเทเวศน์ เปิดต้อนรับคณะนายกรัฐมนตรี - คสช และ เหล่าทัพ เข้าร่วมอวยพรวันเกิดล่วงหน้า ก่อนครบ 97 ปี ของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ในวัน 26 ส.ค.นี้่
97 ปี สำหรับบุคคลทางการเมือง และนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศ นับได้ว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของประเทศ ถ้าไม่นับฉายาที่เคยได้รับก่อนหน้านี้ว่า "นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา" จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย และกบฏ 9 กันยา
ด้วยบทบาทนายกรัฐมนตรีถึง 3 สมัย ระหว่างปี 2523 - 2531 และเป็นนายกฯ ตามคำเชิญของรัฐสภาที่ครองอำนาจยาวนานที่สุด ซึ่งในห้วงเวลาที่อยูในอำนาจ มีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย ที่คนไทย ยุคสังคมออนไลน์อาจไม่เคยทราบมาก่อน
โดยเฉพาะช่วง หลังจากที่บ้านเมืองผ่านช่วงวิกฤติ มาจนวันที่ 3 มีนาคม 2523 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยความที่เคยทำงานสู้ภัยคอมมิวนิสต์มาก่อน "ป๋าเปรม" จึงออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/23 ยุติสงครามกลางเมืองลงไปได้ นักศึกษาที่เข้าป่า ก็ได้กลับบ้าน นับแต่อดีตมาจนปัจจุบัน บทบาทของป๋าเปรมในการเมืองไทย ไม่สามารถแยกจากกันได้ จนหลายคนเรียกถึงขนาดว่าเป็น "เสาหลักการเมืองไทย"
ไล่ตั้งแต่ ช่วงที่รัฐบาลเปรม 1 สิ้นสุดลงจากการยุบสภา 19 มีนาคม 2526 เพราะสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ที่หลายคนเรียกว่า "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" เพราะนายกฯ ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ขณะที่นักวิชาการพูดตรงกันว่า เป็นการร่างบนพื้นฐานที่ต้องการสืบทอดอำนาจของทหาร
ก่อนจะมีการเลือกตั้ง 18 เมษายน 2526 "ป๋าเปรม" ยังขึ้นเป็นนายกฯ สมัยที่ 2 แต่เกิดความวุ่นวายจนต้องยุบสภาอีก เมื่อ 1 พฤษภาคม 2529 จากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา ในการออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก จากนั้น "ป๋าเปรม" คนเดิม ยังได้นั่งเก้าอี้นายกฯ สมัยที่ 3 แต่ก็ต้องสิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภาในวันที่ 29 เมษายน 2531
กระทั่ง การเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม 2531 เกิดกระแสการคัดค้าน นายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการ แต่บรรดาหัวหน้าพรรคการเมืองที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลยังไปเชิญ "ป๋าเปรม" ให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ เป็นสมัยที่ 4 แต่เจ้าตัวปฏิเสธ
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกฯ เมื่อ 3 สิงหาคม 2531 ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ตามมาด้วยการประกาศยกย่องเป็น "รัฐบุรุษ" เมื่อ 29 สิงหาคม 2531 ให้เป็นประธานองคมนตรี เมื่อ 4 สิงหาคม 2541
ทุกช่วงในการเกิดวิฤติ "ป่าเปรม มักจะถูกพูดถึง อย่าง พฤษภา 2535 ป๋าเปรม ยังได้รับพระบรมราชานุญาตให้นำ พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกฯ และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม แกนนำมวลชน เข้าเฝ้าฯ เพื่อเจรจาปรับความเข้าใจ จนสามารถยุติความวุ่นวายได้
หลังรัฐประหาร 2549 หลายคนก็พูดตรงกันว่า "ป๋าเปรม" อยู่เบื้องหลัง และยังมีบทบาทสำคัญเชิญ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นคนใกล้ชิด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
จนถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน พบว่าเมืองไทยยังคงมีรัฐบาลที่มาจากทหาร คือ คสช. ก็ยังมีเสียงจาก "ป๋าเปรม" ออกมาการันตีอยู่บ่อยครั้งว่า "รัฐบาลเสียสละ มั่นใจทำประเทศไทยสงบ" ท่ามกลางกระแสข่าววัดรอยเท้าจากคนรุ่นหลัง แต่ที่ผ่านมาในวันสำคัญ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี / พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ก็มักเข้าไปกราบและไต่ถามสารทุกข์สุกดิบถึงบ้านสี่เสาฯ ไม่ได้ขาด จนทำให้ "ป๋าเปรม" แห่งบ้านสี่เสา กลายเป็นตำนานคนบนแผ่นดิน

logoline