โดยกระบวนการตรวจสอบนั้นอาศัยรัฐสภา และทุกครั้งที่มีการอภิปราย รวมทั้งตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี ประเด็นอภิปรายก็จะวกวนเรื่องโครงการรับจำนำข่าว เพียงแต่ว่าในสมัยมีสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์คงไม่สนใจที่จะมาตอบกระทู้ด้วยตนเอง อาจจะทำให้เกิดความหลงลืมได้ว่า เรื่องเหล่านี้มีจุดเริ่มต้นมาจากสภา
น.พ.วรงค์ระบุอีกว่า เมื่อผ่านสภามา ทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ส่งเรื่องต่อมาที่ ป.ป.ช. และทางนั้นก็มีมติชี้มูลความผิด ทั้งคดีขายข้าวรัฐต่อรัฐ ของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคดีรับจำนำข้าวของนางสาวยิ่งลักษณ์ โดยเรื่องก็ถูกส่งต่อมาที่อัยการสูงสุด ตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญปี 2550 แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง อสส. และ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นกระบวนการปกติ และท้ายที่สุดเรื่องก็ถูกร้องมาที่ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีของนายบุญทรงในข้อหาทุจริต ส่วนคดีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ในข้อหาปล่อยปละละเลยให้เกิดความเสียหาย และปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริต
"ดังนั้น การที่พรรคเพื่อไทยพยายามบิดเบือนว่า คสช.กลั่นแกล้งนางสาวยิ่งลักษณ์ จึงไม่เป็นความจริง กระบวนการตรวจสอบนั้นเกิดขึ้นตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ในยุคคสช.นี้ องค์กรต่างๆตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดหน้าที่ไว้ ได้ทำหน้าที่ของตนเอง ไม่ถูกแทรกแซงเหมือนรัฐบาลทุนสามานย์ ที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง ที่กล้าแทรกแซงแม้แต่เอาถุงขนมไปทั้งไว้ที่ศาล ส่งคนไปเจรจากับศาลรัฐธรรมนูญจนถูกติดคุก ที่ซ้ำร้ายคือรัฐบาลคสช.ยังให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องจำนำข้าวน้อยไปด้วยซ้ำ การดิ้นของพรรคเพื่อไทย จึงเป็นการดิ้นหนีคดีทุจริตและปล่อยปละให้ทุจริต เพียงแต่ไม่ยอมรับความจริงของตนเองเท่านั้นเอง"
- กทม. พบติดเชื้อโควิด 3,233 ราย โยงคลัสเตอร์สถานบันเทิง 999 ราย "บางแค-บางเขน-บางขุนเทียน" มากสุด
- เด้งแล้ว !! ผกก.สน.ทองหล่อพ่วงสวป. เซ่นคลัสเตอร์ทองหล่อ
- รองอัยการสูงสุดติดโควิด หลังร่วมงานวันเกิดเพื่อน วปอ.